ไม่พบผลการค้นหา
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.เดวิด เสตร็คฟัส อดีตนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกียวโต
โครเอเชียเข้าร่วมอียู ฮ่องกงประท้วงจีน
เปรียบเทียบระบบราชการไทยและญี่ปุ่น
ฮีโร่ในสายตาจีนและเกาหลี ผู้ก่อการร้ายในสายตาญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นล๊อบบี้อาเซียน สกัดกั้นอิทธิพลทางทหารของจีน
การปฏิรูปครั้งสำคัญของวาติกัน
ยิ่งลักษณ์ 'In and Out of Africa'
ประสบการณ์และบทเรียนค้าปลีกสมัยใหม่ของญี่ปุ่น
'ยิ่งลักษณ์' ติดอันดับ 30 หญิงทรงอานุภาพที่สุดของโลก
ยิ่งลักษณ์ทัวร์เอเชียใต้ จีนแกล้งลืมเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
ความต่างการอุดหนุนภาคเกษตรไทยและต่างประเทศ
ปัญหาในเกาหลีใต้ ที่ผู้นำหญิงคนแรกจะต้องเผชิญ
นิรโทษกรรมไทยดังลั่นทั่วโลก
วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
สุลต่านบรูไนเข้มกฏหมายชะรีอะฮ์ ใช้อิสลามกำหนดจริยธรรมสังคม
สหรัฐฯ แต่งตั้ง 'สตรีเหล็ก' ขึ้นดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง
อินโดนีเซียยอมลงนามสนธิสัญญาหมอกควันอาเซียน
สำนักพระราชวังญี่ปุ่นตำหนิ สส. ดึงจักรพรรดิสู่การเมือง
'โอบามา' ปฏิเสธ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนอาทิตย์นี้
สำรวจเกาะซัคคาลิน กระชับสัมพันธ์ญี่ปุ่น-รัสเซีย
สิ่งท้าทายของนโยบายต่างประเทศไทยในปี 2556 ตอนที่ 2
Feb 17, 2013 10:38

รายการ Go Global ประจำวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556

 
ซีรีย์ที่ 2 นโยบายของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ไทยมีพรมแดนติดต่อ ได้แก่ พม่า กัมพูชา ลาวและมาเลเซีย
 
 
ในส่วนความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับพม่านั้น มีการปรับท่าที่ไปมาตลอด จากศัตรูมาเป็นมิตรและเป็นศัตรูอีก ทั้งนี้เพราะในอดีต ไทยมีนโยบายรัฐกันชน เอาชนกลุ่มน้อยมาเป็นเกราะกำบังเพื่อลดแรงกระทบกระทั่งกับรัฐบาลพม่า นำไปสู่ความไม่ไว้วางใจต่อกัน แต่ในยุคปัจจุบัน เป็นยุคเศรษฐกิจนำการเมือง และไทยก็เข้าไปมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจพม่าอยู่มาก สอดคล้องกับการเปิดประเทศพม่าในขณะนี้
 
 
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาอยู่ในรูปทั้งรักและเกลียด บาดแผลทางประวัติศาสตร์และการเข้าแทรกแซงการเมืองกัมพูชาของไทยอย่างต่อเนื่องในช่วงสงครามเย็น นำมาซึ่งการสร้างความไม่ไว้วางใจต่อกันเช่นกัน กรณีเขาพระวิหารพิสูจน์ว่า ความขัดแย้งไทย-กัมพูชาฝังรากลึก และกัมพูชาก็พร้อมที่จะท้าทายผู้นำไปไทยและเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองภายในของไทยมากขึ้น
 
 
ในส่วนของความสัมพันธ์ไทย-ลาวนั้น ในช่วงสงครามเย็น ยังคงมีปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ รวมไปถึงการต่อสู้เพื่อช่วงชิงดินแดน และกรณีการไหลเข้ามาของผู้ลี้ภัยชาวม้ง แต่นโยบายในยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนไปมาก เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นหลัก มีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวในปี ค.ศ.1994 และไทยยังคงให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิทยาการแก่ลาวอย่างต่อเนื่อง
 
 
และสุดท้าย ความสัมพันธ์ที่ไทยมีกับมาเลเซีย มาถึงจุดตกต่ำในช่วงที่ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยต้องปะทุ รัฐบาลไทยในยุคนั้นกล่าวหาว่ามาเลเซียต้องการบ่อนทำลายความมั่นคงของไทยโดยการให้การสนับสนุนกลุ่มต้องการแบ่งแยกดินแดน ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามปรับความสัมพันธ์ การเดินทางไปเยือนมาเลเซียของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์นับเป็นจุดเริ่มอีกครั้งในการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog