คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม 2556
จากปัญหาของการเหยียดวัยที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มกราคม ทำให้สถาบันสังคมมองผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 ยุค โดยเริ่มจากสังคมเกษตรกรรม ที่มองว่าความชราเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่เราต้อง เคารพ กตัญญู ผู้สูงวัย,เคารพผู้เชี่ยวชาญ, มองว่าผู้สูงอายุเป็นผู้มีอำนาจ
ในยุคแรกนั้นไม่มีการกำหนดว่า ช่วงอายุคนจะต้องอยู่ในวัยไหน เพราะบางพื้นที่การแพทย์ไม่เจริญ คนอายุ 30 ปี ก็หมดอายุขัยแล้ว จนกระทั่งทางการแพทย์ เข้ามาเกี่ยวข้องและเริ่มนับอายุขัย เช่นช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน วัยชรา และเริ่มมองว่าคนแก่เป็นวัตถุ และใช้คำว่า "โรคชรา" ที่พ่วงมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงมายาคติ ที่ มองว่าคนแก่ ต้องเลอะเลือน
จนกระทั่งมีกลุ่มคนแก่ ที่เรียกตนเองว่า Modern old ได้แสดงศักยภาพว่าคนแก่ยังความเข้มแข็ง ,ไม่จำนนวาทะกรรมเห็นความย้อนแย้ง, และลุกขึ้นมาทำอะไรขึ้นมาหลายอย่าง โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นมีการตั้งชื่อชมรมผู้สูงอายุ "ผู้สูงวัยหัวใจไฮเทค"
อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่อง การเหยียดวัย ปัญหาผู้สูงวัย ยังคงมีอยู่ต่อไปในประเทศไทยอีก 20 ปีข้างหน้าเพระสังคมไทยเป็นสังคมว่าด้วย "มือถือสาก ปากถือศีล" ในที่สุดแล้วสังคมไทยยังยึดมั่นเรื่องการกตัญญู เคารพคนแก่ หลอกตัวเอง ว่าอยู่ในโลกที่สดสวย
รายละเอียดเนื้อหาในประเด็น"ไม่เจียมสังขารคือการเหยียดวัยในสังคมไทยหรือไม่?"ที่เข้มข้น ให้เข้าไปดูในเว็บไซด์คิดเล่นเห็นต่างทุกเสาร์- อาทิตย์ในเวลา 20.00 น.ใน VoiceTV หรือทางเว็บไซด์ได้