ไม่พบผลการค้นหา
อนุสรณ์สถานที่ถูกลืม
เพศสัมพันธ์กับวัยรุ่น
ทำไมต้องเผาตุ๊กตาบาร์บี้
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตอนจบ
พื้นที่ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ความจำเป็นของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดซ่อนเร้นสำหรับผู้หญิง
ขนาดของลึงค์ กับกรรมเก่า
กรรมของคนมีลึงค์
ปัญหาว่าด้วยเรื่อง..ผัวๆ..เมียๆ..ในสังคมสยาม ตอนที่ 1
ความเป็นไปได้ของการเคหะมวลชนในสังคมไทย ตอนจบ
"ศิลปิน" กับ "ศีลธรรม"
คนแก่…อุปสรรคหรือโอกาสของเศรษฐกิจ?
กินเนื้อหมาหรือเลี้ยงสุนัข ตอน 2
ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจจากการเลือกตั้ง...จริงหรือ?
การส่งท้ายกับคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา
'เบนโตะ' ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ของรัฐ
เรทหนังของจัน ดารา
ปัญหาว่าด้วยเรื่อง..ผัวๆ..เมียๆ..ในสังคมสยาม ตอนที่ 2
สงครามระหว่างวัย
ประวัติและผลงาน ก้าวย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาธิปัตย์
การรื้ออาคารกลุ่มศาลฎีกา..กับการทำลายความทรงจำในประวัติศาสตร์สมัยใหม่
Dec 28, 2012 08:33

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2555

 

จากบทสัมภาษณ์ของ "ชาตรี ประกิตนนทการ" อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้สัมภาษณ์  นสพ.มติชน เกี่ยวกับการแชร์ข้อความและภาพที่เกี่ยวกับการรื้อภายในกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในหัวข้อ " เหตุผลที่ควรระงับ การรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา(โดยทันที)"โดยให้เหตุผลว่ากลุ่มอาคารศาลฎีกา มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอาคาร ที่หมายถึงเอกราชทางการศาล อุดมการณ์คณะราษฎร และศิลปะสมัยใหม่ ส่วนตัวจึงเห็นว่าควรทบทวนเพื่อให้มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดังกล่าว รวมทั้งให้ศาลเปิดเผย"แบบ"ที่จะทำ ว่าจะมีการรื้ออาคารหลังไหน เก็บหลังไหนไว้ แล้ว "แบบ"หน้าตา ที่กำลังจะสร้างเป็นอย่างไรเพื่อให้สาธารณะรับรู้ว่า "กำลังจะทำอะไรอยู่

            

ใช่เพียงอาคารศาลฎีกา เท่านั้นที่ถูกรื้อแม้แต่ ศาลาเฉลิมไทยเอง ซึ่งเป็นมหรสพทันสมัยยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งแรกของเมืองไทยซึ่งมีเวทีเลื่อนระดับขึ้นลงได้ ถูกรื้อถอนไปด้วยเช่นกัน  แล้วนำมาสร้างเป็นลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เพื่อเผยให้เห็นโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหารอย่างเต็มที่ แต่การใช้สอยประโยชน์กลับไม่ได้เต็มที่

            

และใครจะรู้ว่าไทยเคยทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty)ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4  ที่ตระหนักถึงภัย จากลัทธิจักรวรรดินิยม ยอมตกลงทำสัญญาการค้าฯเพื่อรักษาเอกราช แต่ก็ต้องแลกกับการสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาล และเมื่อได้รับเอกราชที่สมบูรณ์ ศาลฎีกาได้มีการเฉลิมฉลอง และสร้างอาคารกลุ่มศาลฎีกาขึ้นมา  อันเป็นสัญลักษณ์ "เอกราชทางการศาล "และยังเป็นสัญลักษณ์อุดมการณ์ของ "คณะราษฎร"อีกด้วย

               

ในประวัติศาสตร์เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าคณะราษฎร หรือรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามในยุคสมัยนั้นได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศมา ชนชั้นนำไทยทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยหยิบใช้ในลักษณะลอกเลียนแบบทั้งหมด  ดังนั้น จึงมีการคาบเกี่ยวกับศิลปแบบฟาสซิสต์อยู่บ้าง โดยเฉพาะสัญลักษณ์ 6 ประการ  ที่ปรากฎในรูปแบบเสา  6 ต้นที่อาคารศาลฎีกา อันหมายถึงหลัก  6 ประการ คือ "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา"

           

อาคารศาลฎีกาหลังใหม่ที่จะสร้างขึ้นมี ความสูงเกือบ 32 เมตร  หากกฎหมายรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ระบุห้ามสร้างอาคารสูง  16 เมตร ดังนั้นเมื่อพูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ และการปฎิบัติ อย่างเสมอภาคโดยไม่มีข้อยกเว้น หากหน่วยงานที่ละเมิดกลายเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรม หากสร้างอาคารรูปแบบใหม่ สูงเกิน16 เมตร แล้วต่อไปใครจะผดุงความยุติธรรม

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog