ไม่พบผลการค้นหา
คนละก้าวกับตูน บอดี้แสลม
จำอะไรได้บ้างกับรัฐประหาร 19 กันยายน
ชีวิตหลังความเกลียดชัง กับการหาแพะรองรับทางอารมณ์
ยิ่งลักษณ์หนี จิตใจของประชาธิปไตยยังอยู่?
ทำไมสเปนคัดค้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ยุโรปเอือมนักท่องเที่ยว
นักเขียนออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับศิลปินเหยียดเพศ
ไล่จับคำผิด หวังดีหรือเรียกร้องความสนใจ
จำนำข้าวคืออะไรในเชิงนโยบาย
ปชป.พร้อมลุยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
เหล้าแพงบุหรี่แพง เลิกดีไหม?
ไทยครองอันดับ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว
จำคุกยิ่งลักษณ์ 5 ปี คดีจำนำข้าว
มีกิ๊กต้องฟ้อง
คนทำดี ไยวิจารณ์?
จะอยู่อย่างไร เมื่อ AI คิดภาษาใหม่ได้เอง
'พีระ สุธรรม' นักเขียนอีสานผู้ปฏิเสธการเขียนภาษาไทย
ข้อมูลไทย เปิดเผยและโปร่งใสระดับไหน?
บอกลาหลอดพลาสติกด้วยหลอดผักบุ้ง
รู้จักไหมคนไทยเชื้อสายอินเดีย
การเมืองที่หายไปในแต่ละก้าวของตูน
Oct 10, 2017 14:10

ผลที่ไม่ได้ตั้งใจจากการทำความดีในแคมเปญ  #ก้าวคนละก้าว ของตูน บอดี้สแลม คือ การลดทอนความซับซ้อนปัญหา ให้เหลือเพียงการมีน้ำใจช่วยเหลือกันและกันในสังคม 

ปรากฏการณ์ที่ผู้คนเฝ้าจับตามมอง “ตูน บอดี้แสลม” นักร้องชื่อดัง เตรียมออกวิ่งครั้งใหม่ ระดมทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาลที่ยังขาดแคลนและต้องการความช่วยเหลือ โดยเริ่มวิ่งจากสุดเขตแดนใต้ ไปจนถึง เหนือสุดแดนสยาม บนระยะทาง 2,191 กม. เบตง - แม่สายที่ทำให้ “ก้าว”ครั้งนี้เป็น “ก้าว” ที่ไกลที่สุดในชีวิตของ ตูน บอดี้สแลม

แรงสนับสนุนจากพวกเราคนไทยทุกคน ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้ หมอ พยาบาลผู้เสียสละทั่วประเทศ
นักวิชาการจากหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างหลากหลาย วิเคราะห์การทำความดีของโครงการก้าวคนละก้าวที่สะท้อนให้เห็นปัญหาอะไร

กระจายทรัพยากรสู่ รพ. ชุมชน และ รพ. ตำบล
บุญวรา สุมะโน นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) แสดงความคิดเห็นไว้ในเว็บไซต์ GM Live บทความที่มีชื่อว่า เงินบริจาค V การจัดการภาษี : กรณีดราม่า “พี่ตูน” วิ่ง เห็นอะไรในสังคมไทย?

เงินบริจาคนั้นมีความดีในตัวของมันอยู่เพราะสะท้อนความเอื้ออาทรของคนในสังคม ซึ่งประเทศไทยมีเงินบริจาคเยอะมาก
“ ข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ TDRI ประมวลออกมาพบว่า ในแต่ละปีคนไทยบริจาคเงินกันกว่า 7 หมื่นล้านบาท แถมยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี แต่ที่ผ่านมาเราได้เห็นผลลัพธ์อะไรบ้างจากเงินบริจาค? ซึ่งนำไปสู่คำถามสำคัญ คือ เงินบริจาคเหล่านี้ได้ถูกนำเอาไปใช้ในจุดที่ดีที่สุดหรือยัง? ”

ดังนั้น อยากให้คิดสักนิดนึงว่าจะเอาเงินบริจาคไปทำอะไร ที่พี่ตูนจะเอาเงินไปให้โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) 11 แห่งที่มีปัญหานั้นน่ะดีมาก หล่อมากตามท้องเรื่องอยู่แล้ว แต่ให้แล้วปัญหาจะจบมั้ย? โรงพยาบาลศูนย์เหล่านี้จะไม่ประสบปัญหาด้านการเงินอีกเลยมั้ย?
เพราะฉะนั้น จะดีกว่ามั้ยถ้าแบ่งเงินไปสร้างเสริมความเข้มแข็งให้โรงพยาบาลขนาดเล็กสามารถรักษาคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดการส่งต่อลง เงินอีกส่วนก็เอาไปลงที่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ให้คนมาเข้าโรงพยาบาลแต่แรก
ค่านิยมเรื่องสาธารณสุขคือสังคมสงเคราะห์

รศ. ยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตคณบดีรัฐศาสตร์ ก็ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในเว็บไซต์ VoiceTV บทความที่มีชื่อว่า ไขปม: จะจัดงบประมาณอย่างไรเพื่อไม่ให้ 'พี่ตูน บอดี้แสลม'ต้องเหนื่อย
ชี้ว่า...เป็นปัญหาเรื่องค่านิยมในสังคมไทยที่มองว่าเรื่องสาธารณสุขนั้นเป็นเรื่องความเมตตาและการทำบุญ มากกว่าเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน จะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่เปิดรับบริจาคกันอย่างต่อเนื่องตลอดปีแทนที่จะมีการจัดการอย่างเป็นระบบ รศ.ยุทธพรกล่าวว่าชื่นชมที่ "ตูน บอดี้แสลม" ที่ออกมารณรงค์เรื่องการบริจาคแต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว เพราะท้ายที่สุดหากสวัสดิการสาธารณสุขเป็นไปแบบสังคมสงเคราะห์ต่อให้ ตูน บอดี้แสลม วิ่งกี่ครั้งก็ไม่เพียงพอ

มรดกทางวัฒนธรรมที่ผิดๆ
สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า
“การวิ่งของพี่ตูนอาจไม่ได้มีปัญหาโดยตัวของมันเอง แต่มีปัญหาเพราะ พี่ตูนวิ่ง แบบทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมที่มันไม่เวิร์ค ไม่ชวนให้คนไทย "ฉุกคิด" ถึงปัญหาที่มีอยู่ลึกๆ ปัญหาเชิงโครงสร้าง การวิ่งแบบพี่ตูนก็คือ การช่วยรัฐปะผุปัญหาไปวันๆ เหมือนกับที่เราเคยวิจารณ์การทำงานแบบศศินนั่นแหละ” 

กรณีที่แย่ที่สุด คือทุกคนก็จะพากันคิดว่า รัฐไม่ทำอะไรก็ช่างหัวมัน เราทำกันเองก็ได้ (แต่ในขณะที่รัฐก็ regulate  เรา ผ่านอำนาจทางกม. ภาษี – ปกครอง เรา) 
บางคนอาจจะค้านว่า แล้วทำไมต้องเป็นหน้าที่ของพี่ตูน ? ที่จะต้องชี้ให้เห็นปัญหาล่ะ แค่วิ่งอย่างเดียวก็แย่แล้วนี่ ทำไมต้องบั่นทอนกำลังใจกันอีก ...แบบนี้ (เทียบเล่นๆ) ภาษากฎหมายอาญาเค้าเรียกว่า "หน้าที่ที่เกิดจากการกระทำครั้งก่อนๆ ของตน"

คือ ตอนแรกการกระทำของเราอาจไม่มีอะไรเสียหาย หรือทำไปด้วยเจตนาดี๊ดี แต่การกระทำนั้นสุดท้ายสร้างภยันตรายหรือผลร้ายอะไรบางอย่าง ก็ต้องเป็นหน้าที่คุณล่ะที่ต้อง "ป้องกันผลนั้น" (ไม่งั้นอาจผิดงดเว้นได้)

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ พี่ตูนแน่วแน่ มั่นคง ไม่สนใจอะไร ทั้งไม่คิดว่าตัวเองมีหน้าที่ ธุระไม่ใช่ แค่วิ่งด้วยเจตนาดีก็พอแล้วปะ..ก็แล้วแต่พี่ตูน แล้วกัน! (ใครจะไปทำอะไรแกได้) แต่ การที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์แกบ้าง ผลของการกระทำของแกบ้าง โดยคนวิจารณ์เองก็อาจจะคิดแก้ปัญหาการใช้งบของรัฐ แบบเป็นรูปธรรมไม่ได้เหมือนกัน ก็นับเป็นกลไกทางสังคมที่ไม่เลวไม่ใช่หรือ?

แล้วตอนนี้ยังมีประเด็นโปรโมทรองเท้าแถมท้านมาอีก ดูเหมือนการวิ่งทำความดีของตูน บอดี้แสลมจะส่งผลกระทบในหลากหลายมิติของสังคม

 


Source: 
http://gmlive.com/what-Toon-Bodyslam-project-reflect-Thai-tax-and-donation 
https://www.cafonline.org/docs/default-source/about-us-publications/cafworldgivingindex2017_2167a_web_210917.pdf?sfvrsn=ed1dac40_10 
https://news.voicetv.co.th/thailand/530386.html

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog