ไม่พบผลการค้นหา
เจาะงานวิจัยชีวิตไม่สำเร็จรูป อยู่อย่างไร้บ้านแต่ใจไม่ไร้บ้าน
จุฬาฯ แจงเนติวิทย์เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน ไม่เคารพเสรีภาพผู้อื่น
พิพากษายิ่งลักษณ์ 27 กันยายน
โอเพ่นดาต้าในแง่ศิลปวัฒนธรรม
เขียนลายมือ จำเป็นไหมในยุคดิจิทัล?
คลีนหรือคลั่ง
โฮมเลสเจ้าของภาพกราฟฟิตี้ในตำนาน
อ่านตาม....คำ ผกา
เมื่อไทยเบฟฯ ซื้อ KFC
ทำไมรับจ้าง 'ฆ่าคน' ?
เรือนจำน่าอยู่ ไม่แปลว่าคนอยากติดคุก
ปฏิรูปให้คุ้มกับสูญเสียประชาธิปไตย
โรคซึมเศร้ากับอุตสาหกรรมยา
เสรีภาพสื่อกัมพูชาน่าเป็นห่วง
ทำเงินหายแล้วได้คืน ควรให้รางวัลเท่าไร?
มีกิ๊กต้องฟ้อง
เมื่อผ้าอนามัยเป็นสิ่งเกินเอื้อม
บ้านขยะกรุงเทพฯ
In Her View - การเมืองเรื่องละคร  ไม่ใช่แค่ความเป็นไทยนะ "ออเจ้า" - FULL EP.
การเมืองที่หายไปในแต่ละก้าวของตูน
ช่วยคนจน เงินคือคำตอบหรือไม่?
Sep 27, 2017 13:22

การให้เงินจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ แต่เมื่อไหร่ที่เงินหมดก็ต้องมีปัญหาอีก"

อาจารย์บุญเลิศ วิเศษปรีชา นักวิชาการและอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของงานวิจัยคนไร้บ้านในไทย ให้สัมภาษณ์ GM Live ตั้งข้อสังเกต 3 ประการเกี่ยวกับ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย

ตั้งข้อสังเกตนโยบายนี้ 3 ข้อ

1. รูปแบบของโครงการง่ายต่อการบริหารจัดการ แต่อีกด้านก็สะท้อนความไม่เข้าใจบริบท "คนจน" การทำเพื่อช่วยแบบระบุกลุ่มเฉพาะจะทำให้ภาพเป้าหมายเบลอมากกว่าเดิม คนที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ อาจเข้าไม่ถึงกรอบสวัสดิการนี้ 

2. กระบวนการตรวจสอบรายได้ที่ดียังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแยกแยะกลุ่มเป้าหมายเพื่อช่วยคนที่ควรช่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยอมรับว่าความยากของการให้สวัสดิการคือการให้สำหรับกลุ่มในภาคไม่เป็นทางการจะตรวจสอบ

3. เมื่อพิจารณาเงื่อนไขการใช้ค่าเดินทางแยกออกมา สำหรับคนรายได้น้อยจริง ๆ มีจำนวนน้อยมากที่พักอาศัยใกล้จุดรถไฟฟ้า คนจนในกรุงเทพ ส่วนใหญ่บ้านอยู่ชานเมือง เพราะค่าที่อยู่อาศัยราคาถูก เมื่อเดินทางก็ต้องต่อรถสองแถว คำถามคือ แล้ว e-ticket ใช้ได้ตรงไหนบ้าง ชีวิตคนรายได้น้อยไม่ได้เดินทางจบได้ที่รถไฟฟ้าอย่างเดียว เช่นเดียวกับชีวิตของคนต่างจังหวัด การให้เงินค่าโดยสาร บขส. ค่ารถไฟ คนจนในชนบทที่รับจ้างทำงานใกล้บ้านแทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าแพคเกจของนโยบายไม่สอดคล้องกับความหลากหลายของชีวิตคนจน 

อ.บุญเลิศ กล่าวเสริมว่า จากประสบการณ์ที่สัมผัสคนที่ต้องการยกระดับชีวิต การช่วยเหลือด้วยเงินไม่ตอบโจทย์ระยะยาว บางคนอาจต้องการทุนสำหรับตั้งตัว หรือต้องการคุณภาพชีวิตในมิติอื่นที่หลากหลายมากกว่า นโยบายจำเป็นต้องผ่านการออกแบบให้ตอบสนองอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเบื้องต้นคือคนที่ไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงบัตรประชาชนได้ตามที่ยกตัวอย่างข้างต้น

"แม้ว่าในเบื้องต้น การให้เงินจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ แต่เมื่อไหร่ที่เงินหมดก็ต้องมีปัญหาอีก" อ.บุญเลิศ กล่าวทิ้งท้าย 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Source:

http://www.gmlive.com/can-money-welfare-aid-poor-in-Thailand
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog