ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - LGBT ไต้หวันจดทะเบียนสมรสได้แล้วชาติแรกในเอเซีย - Short Clip
ฝรั่งเศสขอพอกันทีสตรีหมายเลข 1
ปฏิรูปให้คุ้มกับสูญเสียประชาธิปไตย
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
ชมวัดพุทธโพสต์โมเดิร์น กลางทุ่งลาเวนเดอร์ที่ซับโปโร FULL EP.
ยุโรปเอือมนักท่องเที่ยว
ยิ่งเรียนสูงยิ่งเลือก(ตก)งาน
โจชัว หว่อง : แม้พรุ่งนี้จะติดคุกก็ไม่เลิกสู้เพื่อปชต.
ไทยครองอันดับ 3 รายได้จากการท่องเที่ยว
รถติด เสียเงิน เสียเวลา เสียอนาคต
ขออย่าเชียร์กันให้เกินไป...ไม่ดีต่อตัวผู้นำเอง
สัมพันธ์ Trump กับ Felix Sater
รัฐไทยเตรียมซื้อซอฟต์แวร์แกะรอยผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ระบบโซตัสที่ใหญ่ที่สุดไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย
มีกิ๊กต้องฟ้อง
ปชป.พร้อมลุยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ประวิตรคือนักข่าวที่ไม่ 'ปรับทัศนคติ'
ประเทศไหนเป็นแชมป์นักดื่ม
Erik Prince อยากคุมกองทัพทหารรับจ้าง
เหล้าแพงบุหรี่แพง เลิกดีไหม?
ประชาธิปไตยทั่วโลกถดถอย
Jul 27, 2017 14:29

ผลสำรวจสถานการณ์ด้านประชาธิปไตยใน 160 ประเทศ พบว่า 72 ประเทศอยู่ในภาวะประชาธิปไตยถดถอย และไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ปกครองโดย 'ระบอบลูกผสม' เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในแอฟริกา

ประเทศที่มีคะแนนความเป็นประชาธิปไตยสูงสุด 10 อันดับแรกของโลกจาการสำรวจดัชนีประชาธิปไตย ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และออสเตรเลีย โดยพิจารณาให้คะแนนจากกระบวนการจัดการเลือกตั้ง การสนับสนุนแนวคิดเรื่องพหุนิยมทางการเมือง

ส่วนไทยติดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการปกครองในระบอบลูกผสม (Hybrid Regime) ซึ่งรวมถึงประเทศที่อยู่ในภูมิภาคซับซาฮาราของแอฟริกาด้วย โดยลักษณะที่ประเทศเหล่านี้มีร่วมกัน คือ การขาดแคลนพัฒนาการด้านพหุนิยมทางการเมือง และอาจมีปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเรือนหรือภาคประชาสังคม หรือการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลอาจขัดแย้งกับหลักการด้านประชาธิปไตย ขณะที่ประเทศซึ่งติดกลุ่มเผด็จการส่วนใหญ่จะอยู่ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

ทั้งนี้ อีไอยูจัดทำดัชนีประชาธิปไตยครั้งแรกเมื่อปี 2006 และมีการเผยผลสำรวจประจำปีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

อย่างไรก็ตาม คู่มือปฏิบัติด้านการประเมินคุณภาพประชาธิปไตย ที่จัดทำโดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อความช่วยเหลือด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง (IDEA) และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาไทยโดยสถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า ผู้ประเมินประชาธิปไตยควรเป็นพลเมืองและบุคคลอื่นๆ ที่อาศัยในประเทศที่ถูกประเมินเท่านั้น เพราะคนกลุ่มนี้จะรู้ได้จากประสบการณ์ว่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศของพวกเขาเป็นอย่างไร และจะสามารถกำหนดแนวทางที่จะเป็นหลักของประชาธิปไตยได้ แต่เกณฑ์การประเมินควรมาจากหลักประชาธิปไตยที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยจะต้องยึดตามขอบเขตที่กว้างที่สุดของประเด็นประชาธิปไตยด้วย ทั้งยังต้องคำนึงถึงอิสรภาพหรือเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจะต้องไม่มีการควบคุมหรือใช้อิทธิพลเหนือการตัดสินใจสาธารณะ

Source:

http://news.voicetv.co.th/world/510409.html 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog