ไม่พบผลการค้นหา
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
“รัฐธรรมนูญ-ม.112” ดีอยู่แล้ว...แก้ทำไม?
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
กมธ.พิทักษ์สถาบันต้านแก้ ม.112 ชี้คดีหมิ่นฯเพิ่มขึ้น เพราะนักการเมืองแสวงหาอำนาจ
เสียงจากคณะนิติราษฎร์...หน่วยกล้าตายทางวิชาการ
4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา”
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
กลุ่มนิติราษฎร์จัดเสวนามาตรา 112 ที่มธ.อาทิตย์นี้
มาตรา 112 ...ละเมิดประชาชน
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
7 ข้อเสนอนิติราษฎร์ แก้ไข ม.112
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
แก้ ม.112 ทำลายกระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติ?
ทำร้าย “วรเจตน์” ทำลาย “เสรีภาพ” ทางวิชาการ
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
Jan 14, 2012 01:03

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 13 มกราคม 2555

   

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ปัญหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  เป็นเหมือนทุ่นระเบิดทางการเมืองของไทย ปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เห็นชัดในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง เพราะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำลายล้างผู้ที่มีความคิดเห็นต่างทางการเมือง  เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มี โทษสูง เปิดโอกาสให้ใคร ๆก็กล่าวโทษได้ และการตีความกฎหมายมีปัญหาจนกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น

           

ปัญหามาตรา 112 ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ แก้ไขเนื้อหาให้สอดคล้องสภาพความเป็นจริง  แนวทางที่สอง คือ ยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ไปเลย และแนวทางที่สาม คือ ไม่แตะต้อง ปล่อยให้คงอยู่ในสภาพเดิม

           

รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ อ.สาวตรี สุขศรี จากกลุ่มนิติราษฏร์ อธิบายที่มาที่ไปของการเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญ 7 ประเด็น  คือ  การเปลี่ยนฐานความผิดจากความผิดที่กระทบความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นความผิดฐานหมิ่นพระเกียรติ

 

เพื่อป้องกันไม่ให้ใคร ๆก็แจ้งความกล่าวโทษได้ ,  การแยกฐานความผิด ว่าด้วย  หมิ่นประมาท  , ดูหมิ่น , แสดงความอาฆาดมาดร้ายออกจากกัน  การแยกการคุ้มครองตำแหน่ง  พระมหากษัตริย์  และ พระราชินี รัชทายาท  ผู้สำเร็จราชการฯ  , การลดอัตราโทษ   , การเพิ่มเหตุยกเว้นความผิด การเพิ่มเหตุยกเว้นโทษ และการกำหนดผู้กล่าวโทษ คือ สำนักราชเลขาธิการ

 

ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  ของนิติราษฏร์  ได้มาจากการศึกษากฎหมายประเภทเดียวกันของนานาอารยประเทศ  และการเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทของบุคคลธรรมดา  เพื่อให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากที่สุด

           

ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีการจัดกิจกรรมเปิดตัว "คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักกิจกรรม  นักคิด  นักเขียน นักวิชาการ หลายกลุ่ม เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์

 

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog