ไม่พบผลการค้นหา
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
“ก้าวข้ามความกลัว”... มาตรา 112 !
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
นักโทษ112เหยื่อการเมือง
มองการเมืองไทย ปี 2555...ปรองดองหรือนองเลือด ?
นับถอยหลัง 'เปิดรายงานฉบับสุดท้ายของ คอป.'
เปิดร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ของนิติราษฎร์
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
ม. 112 ภาพสะท้อนวิกฤติอัตลักษณ์ "ความเป็นไทย"
ควันหลง “อภัยโทษ - พลิกวิกฤติมหาอุทกภัย” สู่โอกาสทางประชาธิปไตย
กยอ.เดินหน้าสร้างความมั่นใจประเทศไทย
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
“สิทธิ เสรีภาพ จักต้องไม่ถูกละเมิด...” 359 นักเขียน ร้องแก้ไข ม.112
อุตสาหกรรมอาหารรับมือวิกฤติน้ำท่วม
ม.112 ฆ่า "อากง" ?
สื่อสองมุมมอง
ศปช. สะท้อนปัญหาการใช้ พรก.ฉุกเฉินเหตุการณ์ เมษา - พฤษภา 53
มองปัญหามาตรา 112 ผ่านคดี "อากง"
Dec 12, 2011 14:07

 

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 12 ธ.ค. 2554 

 

มองกรณี "อากง" ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายกรณีตัวอย่งที่สะท้อนปัญหาของการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 112  ผ่านมุมมองของ อาจารย์สุลักษณ์  ศิวรักษ์  นักเคลื่อนไหวทางสังคมอาวุโส ที่ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น Royalists  และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

อาจารย์สุลักษณ์  ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์  เรียกร้องให้สังคมไทยทบทวนให้รอบคอบว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีไว้เพื่อปกป้องสถาบันจริงหรือ  ในความเห็นของอาจารย์มองว่า กฎหมายมาตรานี้ให้โทษมากกว่าให้คุณ  เพราะมีปัญหาทั้งการตีความกฎหมาย  การร้องทุกข์

กล่าวโทษ  และอัตราโทษที่รุนแรงเกินไป   อาจารย์สุลักษณ์เสนอให้ คอป. หรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นผู้กลั่นกรอง ก่อนจะมีการแจ้งความดำเนินคดีในข้อหานี้   พร้อมกับเสนอให้เปิดเวทีสาธารณะ แลกเปลี่ยนแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 112 โดยต้องมีความกล้าหาญพอที่จะเสนอแก้ไขมาตรานี้     

 

อาจารย์สุลักษณ์ ยังเห็นว่า วิธีการการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุด คือ การยึดหลัก "ทางสายกลาง" และ "ความโปร่งใส"  ขณะที่ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยอมรับว่า คดีอากง เป็นหนึ่งในหลาย ๆ คดีที่ปัญหาในกระบวนการ

พิจารณาคดีตั้งแต่ชั้น  พนักงานสอบสวน  อัยการ และผู้พิพากษา   โดยต้องมองในมุมสิทธิมนุษยชนด้วย เพราะตั้งแต่เกิดความแตกแยกทางความคิดในสังคมไทย  มีการนำสถาบันมาขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสถาบัน  และมีการอ้างสถาบันเพื่อความ

ชอบธรรม   เมื่อนำ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  มาใช้ร่วมกับ พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  จึงกลายเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ   ขณะนี้  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มอบหมายให้ คณะอนุกรรม ศึกษาตรวจสอบการบังคับใช้ กฎหมาย มาตรา112 และพรบ. คอมพิวเตอร์  ในเชิงวิชาการ เพื่อนำไปสู่การเสนอนโยบาย หรือ เสนอแก้ไขกฎหมาย

 

Produced by Voice TV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog