ไม่พบผลการค้นหา
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา Special in Chiang Mai
น้ำตานายกฯ กับ การหายไปของเฟมินิสต์
พาเหรดนาซี และ ปัญหาแบบเรียนประวัติศาสตร์ของเด็กไทย
ความจำเป็นของผลิตภัณฑ์เพื่อจุดซ่อนเร้นสำหรับผู้หญิง
นิตยสารเกย์ ในเมืองไทย
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมีมาแต่โบราณการจริงหรือ?
ทำไมประเทศไทยจึงได้ชื่อว่าเป็น “ซ่อง”ของโลก
เครื่องแบบนักเรียน " มีอยู่" หรือ "ยกเลิก" ?
ยุคประชาธิปัตย์ผลัดใบ...ชูคนรุ่นใหม่ เจาะใจคนรากหญ้า
รถไฟความเร็วสูงกับอนาคตของประเทศไทย
พรรคการเมือง ร่วมประชันวิสัยทัศน์
สื่อควรดีใจ หากทักษิณได้กลับมา
มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ
นางสาวสยาม สตรีผู้เป็นศรีสง่าแห่งรัฐธรรมนูญ
ประวัติศาสตร์การรับน้องและระบบ Sotus ในประเทศไทย (ตอนจบ)
เมืองออกแบบได้
“หุ้นไทยครึ่งปีหลัง”
จิ๋มเอื้ออาทร-เฉาะฟรี-สตรีข้ามเพศ
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "เสรีภาพสื่อ"
กรุงเทพฯ มหานครแห่งการอ่าน
"ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย
Nov 26, 2011 13:11

จากกรณีที่มี ผู้มีการศึกษา ออกมาให้ความเห็นเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนกลายเป็นกระแสที่หลายฝ่ายทั้งขั้วตรงข้ามและฝ่ายสนับสนุน ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง ซึ่งถ้าหากจะมองเรื่องนี้ในเชิงวัฒนธรรม คอลัมนิสต์ฝีปากกล้าอย่างคำผกา มองว่าความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ เป็นเรื่องของต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่แฝงนัยด้านชนชั้นทางสังคมไทย โดยผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาในอดีต มักเกิดในตระกูลผู้ดี เจ้าขุนมูลนาย ที่นิยมส่งลูกหลานไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อแสดงความทัดเทียม และความเป็นพวกเดียวกันกับชาวผิวขาว ที่เป็นจ้าวอณานิคมอยู่ในสมัยนั้น (ประมาณ คริสตศตวรรษที่ 19) 

 
 
ขณะเดียวกัน ชนชั้นล่าง เช่น พ่อค้า ชาวนา หรือไพร่ กลับได้รับการศึกษาต่ำ โดยเฉพาะความรู้ด้านภาษา แทบไม่มีเลย ซึ่งต่อมา ถึงแม้ว่า ระบบการศึกษาของสังคมไทย จะบรรจุภาษาอังกฤษไว้เป็นวิชาบังคับ แต่นักเรียน รร. รัฐบาลจะไม่ได้ เรียนภาษาอังกฤษ จนกว่าจะ ป. 5  วึ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เราเห็นจากความสามารถด้านภาษาของเด็กไทย ทำให้เข้าใจได้เลยว่า การออกแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กไทยก็จะเป็นการเรียนเพื่อให้พูดไม่ได้ อ่านไม่ออก แต่เพื่อให้รู้ภาษาอังกฤษแบบงูๆปลาๆ ให้รู้ภาษาอังกฤษแบบพูดออกมาปุ๊บก็ต้องรู้เลยว่า “ได้รับการศึกษามาแบบไพร่หรือผู้ดี”  ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้ “ทุน” ทางภาษาต่างชาติเป็นตัวบ่งชี้ว่าใครเป็นใครในสังคม
 
 
นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องมือสร้างสำนึกชาตินิยมว่า “ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ ไม่ต้องเรียนก็ได้” หรือ “เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้น เราเลยพูดภาษาอังกฤาหรือฝรั่งเศสไมได้” – แต่เราไม่เคยตั้งคำถามว่าทำไมบรรดา Elite ถึวส่งลูกหลานไปเรียน “เมืองนอก” ตั้งแต่ยังเด็ก????? หรือ ทำไม คนมีสตังค์ จึงส่งลูกเรียนโรงเรียนอินเตอร์? หรือว่า สำนึกชาตินิยมล้าหลังนั้นมีไว้สนตะพาย “ไพร่” เท่านั้น???
 
 
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากบนวิจารณ์อันเผ็ดร้อน ในรายการคิดเล่นเห็นต่างกับคำผกาตอนพิเศษกับแขกพิเศษ อ. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ กับตอนที่มีชื่อว่า "ภาษาอังกฤษ" ต้นทุนทางวัฒนธรรม ของชนชั้นนำในสังคมไทย ออกอากาศในวันเสาร์ที่ 26 พ.ย.นี้ เวลา 21.30 - 22.00 น. 
 
 
Produced by Voice TV 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog