ไม่พบผลการค้นหา
ไทยใช้ 'cluster bomb' ถล่มกัมพูชา !!!
จิ๋มเอื้ออาทร-เฉาะฟรี-สตรีข้ามเพศ
เพลงป๊อปกับอารมณ์ร่วมสมัย
งดงามวันวิวาห์ กับ ลอร่า บาย มองซิเออร์
จะแก้ผ้าหรือจะแก้รัฐธรรมนูญ
ชุดประจำชาติไทยในฐานะประเพณีประดิษฐ์(ตอบจบ)
นิติราษฎร์ : ขจัดความขัดแย้งโดยไม่นิรโทษกรรม
กระบี่อยู่ที่ใจ (แต่ใจใหญ่พอหรือเปล่า?)
19 กันยารัฐประหารแบบ innocent
Angry Brides สินสอดและทองหมั้นตอนที่ 2
น้ำผึ้งหยดเดียวหรือตายอย่างเงียบๆ
“หนังโป๊ไทยไปหนังโป๊โลกได้หรือไม่ ?” ตอนที่ 1
Jean-Luc Mélenchon จัดหนัก
Wake Up Thailand Special : Coffee with จตุพร พรหมพันธุ์
ยืดอกพกปืน ไม่คิดต่าง แต่คิดต่อย!
ไพร่ - อำมาตย์เป็นมายา แต่'เสื้อแดง'สิของจริง
เป็นถึงกรรมการสิทธิ... มีเขี้ยวเล็บบ้าง !!!
“เด็กซิ่วพันธมิตร”
ยุบรัฐธรรมนูญ – ยุบศาล – ยุบ 3G?
การทำสยามสแควร์ให้เป็นแลนด์มาร์คของกรุงเทพ
กรุงเทพฯ มหานครแห่งการอ่าน
Jul 10, 2011 13:35

โครงการเมืองหนังสือโลกหรือ " World book capital" ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544  โดยยูเนสโกมอบรางวัลเกียรติย ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมการอ่านปีละ 1 เมือง

 
ด้วยเหตุผลที่ว่าหนังสือคือสิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ
 
 
จากควาสำคัญนี้เอง ประเทศไทยโดย กรุงเทพมหานคร ได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเมืองหนังสือของโลกเมื่อปี 2553 ใช้งบประมาณ 280 ล้านบาทเพื่อสร้างกรุงเทพฯให้เป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ และยังสนับสนุนช่องทางต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการ "อ่าน" ของประชาชน
 
 
อย่างไรก็ตาม คงปฎิเสธไม่ได้ว่า การที่กรุงเทพเมืองฟ้าอมรของเรา จะก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองแห่งการอ่าน เราทุกคนคงต้องเริ่มทำเรื่องง่ายๆ  เช่น การเริ่มหยิบหนังสือขึ้นมา "อ่าน" เสียก่อน  ซึ่งถ้าพิจารณาในหลายปัจจัยแล้ว สังคมไทยกลับไม่อำนวยความสะดวกให้กับเป้าหมายการเป็นเมืองนักอ่านเลย
 
 
ปัจจัยแรก ที่ทำให้กรุงเทพ ฯ ห่างไกลจากเมืองหนังสือโลก คือ ห้องสมุดที่มีไม่เพียงพอ และส่วนใหญ่ไม่มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ขาดชีวิตชีวา โดยทัศนคติของคนต่อห้องสมุด คือห้องที่เงียบและน่ากลัวเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยบรรณารักษ์ที่ไร้ใจแห่งการให้บริการ อีกทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ  ก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
 
 
อีกตัวอย่างแหล่งการเรียนรู้ ที่ชาวกรุงเทพฯ ประชาสัมพันธ์กันหนักหนา เช่น มิวเซียมสยาม ซึ่งหากมองจากภายนอกแล้วเป็นสถานที่ที่ดีมาก มีนิทรรศการทน่าสนใจมาแสดงอยู่เสมอ แต่ความสวยงามและยิ่งใหญ่ ของตึกและบริเวณโดยรอบ กลับเป็นดาบสองคมสำหรับคนเดินดินกินข้าวแกง เพราะเมื่อเดินผ่านแล้ว ชาวบ้านไม่กล้าเข้า มันดู Exclusive ดูพิเศษเกินไป ดังนั้นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบก็คือ จะทำยังไรให้คนทุกคนรู้สึกกล้าและสบายใจที่จะเข้าไปใช่สถานที่เหล่านั้นด้วยตระหนักว่ามันเป็นของเราไม่ใช่ของรัฐ เพราะมันมาจากภาษีของเรา
 
 
ดังนั้น หากเราต้องการที่จะสร้างสังคม สร้างเมืองของเราให้เป็นเมืองนักอ่าน คงไม่ใช่แค่เริ่มที่การประชาสัมภาษณ์ตามสื่อต่างๆ  แต่เราคงต้องตอบคำถามที่ว่าเมืองแห่งการเรียนรู้คืออะไร ? จะใช่เมืองที่มีบรรยากาศแห่งเสรีภาพ ที่ให้ความสำคัญกับผังเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินดิน รึเปล่า หรือว่า ควรเป็นเมืองที่ไม่มีลักษระของความเป็นเจ้าขุนมูลนายอยู่ในการทำงานของราชการที่ต้องรับใช้ประชาชน เป็นเมืองที่ไม่กลัวว่าประชาชนจะฉลาดเกินไป และส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมหลายแขนงสร้างบรรยากาศแห่งการสันทนาการที่อุดมด้วยรส รูป กลิ่น เสียง
 
 
ที่สำคัญ ทุกคนโดยเฉพาะรัฐบาล คงต้องตอบคำถามที่ว่า  สุดท้าย จะทำอย่างไรกับ "ยูเนสโก" เรื่องเมืองหนังสือโลกกับรางวัลที่คนไทยบางคนอย่างได้นักหนา เพราะก่อนหน้านี้ไม่นาน เราได้ถอนตัวจากยูเนสโกไปแล้วววว?? ไม่ใช่หรือ ??
 
 
Produced by VoiceTV
 
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog