เอสเอ็มอีแบงก์ เร่งเดินหน้าแก้หนี้เสียที่เกิดจากลูกหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันผิดนักชำระหนี้ โดยใช้วิธีการว่าจ้างเอกชนอย่างบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ มาติดตามหนี้แทน เนื่องจากมีระบบที่มีความพร้อมรองรับการติดตามหนี้ที่ดีกว่า
เอสเอ็มอีแบงก์ เซ็นสัญญาว่าจ้าง บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 เพื่อทำหน้าที่ติดตาม และบริหารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวมประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท ลูกค้าแต่ละรายมีหนี้คนละ 1-2 ล้านบาท โดยถือเป็นครั้งแรกที่เอสเอ็มอีแบงก์ ว่าจ้างบริษัทเอกชนในการติดตามหนี้
นางสาวดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ สิ่งที่ทำให้ศรีสวัสดิ์ประมูลงานมาได้ เนื่องจากมีจุดแข็งที่บริษัท มีสาขากระจายอยู่เกือบทั่วประเทศ และระบบที่มีความพร้อม
ทั้งนี้ ศรีสวัสดิ์จะต้องรายงานความคืบหน้าให้เอสเอ็มอีแบงก์ทุกเดือน ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นการแบ่งผลประโยชน์ตามความสำเร็จของงาน ไม่มีค่าธรรมเนียม
นอกจากนี้ บริษัทยังสนใจเข้าไปบริหารหนี้ให้กับสถาบันการเงินแห่งอื่น ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะมีสินค้าออกมามาก
ส่วนการขยายสินเชื่อในปัจจุบัน ยังมีแนวโน้มที่ดี และมีเอสเอ็มอีมาติดต่อขอสินเชื่อมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะถูกปฏิเสธจากสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทพร้อมพิจารณา แต่จะต้องมีหลักประกันในการขอสินเชื่อ
สำหรับเอสเอ็มอีแบงก์ได้เดินหน้าแก้ปัญหาเร่งด่วนเรื่องหนี้เสียและการขยายสินเชื่อใหม่ โดยปัจจุบันมีหนี้เสียอยู่ หมื่น 3 พัน 8 ร้อยล้านบาท เป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน 5,000 ล้านบาท