ไม่พบผลการค้นหา
ลูกเพจมิตรสหายฯ ให้เหตุผลของการไม่ต้องการลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" ว่า ไม่ไว้ใจในรัฐบาล ทั้งที่สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในไทยต่ำกว่าอีกหลายประเทศ หลังถูกกล่าวหาว่าจะเป็น "ภาระของชาติ" หากไม่ยอมลงทะเบียน

เฟซบุ๊กเพจมิตรสหายท่านหนึ่ง หยิบโพสต์ของบุคคลหนึ่งในเฟซบุ๊กมาโดยไม่เปิดเผยชื่อ เนื้อหาเชิญชวนให้คนไทยเช็กอินกับแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" ที่รัฐบาลคิดขึ้น เพื่อใช้ในการติดตามตัวบุคคลในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในจุดที่เปิดให้มีการทำกิจกรรมหรือกิจการ โดยบอกว่า ถ้าไม่อยากเป็น "ภาระชาติ" ก็ขอให้เช็กอิน "ไทยชนะ" ด้วย พร้อมแจกเหตุผลด้วยว่า "ไทยชนะ" ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อความมั่นคงอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นเครื่องมือในการควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ โพสต์ดังกล่าวยังอ้างด้วยว่า ถ้าไม่อยากเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ สร้างภาระให้คนรอบข้างไปจนถึงประเทศชาติ ขอให้เช็กอิน "ไทยชนะ" กัน


หลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ลูกเพจได้เข้าไปแสดงความคิดเห็น ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจกับรัฐบาลนี้ ระบบเชื่อใจได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งโฆษณาว่าเป็นระบบที่ดี แต่พอถึงเวลาใช้งานจริงกลับล่ม ไม่สามารถเรียกใช้งานได้ 

นอกจากนี้ยังมีบางความเห็นด้วยว่า ตอนที่โรคระบาดเริ่มใหม่ๆ ที่คนไทยติดไวรัสกันมากๆ และเริ่มล็อกดาวน์ประเทศทำไมถึงไม่คิดขอข้อมูลตั้งแต่ตอนนั้น พอสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติมีผู้ติดเชื้อน้อยลง กลับมาขอให้ประชาชนเช็กอินกับ "ไทยชนะ" ที่สำคัญอีกอย่างคือ ทำไมเวลาแถลงข่าวพบคนติดเชื้อ ผู้แถลงไม่ระบุให้ชัดไปเลยว่าผู้ป่วยเดินทางไปสถานที่ไหนบ้าง วันและเวลาเพื่อให้ประชาชนที่ฟังการแถลงได้รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือไม่ กลับใช้คำแถลงว่า "โรงพยาบาลรัฐแห่งที่ 1" "โรงพยาบาลเอกชนแห่งที่ 2" พร้อมกังขาด้วยว่า ทำไมถึงต้องเก็บข้อมูลไว้ถึง 60 วัน ทั้งที่ระยะฟักตัวของเชื้อโควิด-19 มีระยะเวลาแค่ 14 วันเท่านั้น

ส่วนผู้ที่เช็กอินกับ "ไทยชนะ" บางคนเข้ามาแสดงความเห็นไว้ว่า หลังจากเช็กอินไปแล้วตัวเองก็ได้รับข้อความโฆษณาตลอด เลยเกิดความสงสัยว่าเพราะอะไร

บางความคิดเห็นจากโพสต์ดังกล่าว

27-5-2563 6-59-26.jpg27-5-2563 6-56-31.jpg27-5-2563 6-52-30.jpg27-5-2563 6-47-47.jpg27-5-2563 6-47-19.jpg


อย่างไรก็ตาม บางความสงสัยหรือข้อกังวลของลูกเพจมิตรสหายฯ นี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. เคยชี้แจงไว้ว่า แพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" นี้จะเก็บข้อมูลไว้ 60 วัน ก่อนจะลบทิ้ง และข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สาเหตุที่ต้องเก็บข้อมูลไว้นาน 60 วัน เพราะเคยมีการพบข้อมูลประวัติการติดเชื้อถึง 4 ช่วงเวลาติดต่อกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง