ไม่พบผลการค้นหา
นักเคมีชี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้อยู่ที่ 'พลาสติก' แต่อยู่ที่ การขาดการจัดการ 'ขยะพลาสติก'

เมื่อ 'ขยะพลาสติก' กำลังทำร้ายและทำลายสิ่งแวดล้อมโลกอย่างต่อเนื่อง แต่การโทษตัว 'พลาสติก' อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง 

'จิม ซีวอร์ด' รองประธานไลออนเดลเบซิล บริษัท เคมีข้ามชาติ ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าววอยซ์ออนไลน์ว่า แท้จริงแล้วพลาสติกมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หรือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ต่ำที่สุด แต่ตัวการที่แท้จริงคือ 'ขยะพลาสติก' ที่ไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง

เสวนาภาคธุรกิจและปัญหาขยะ

จากการศึกษาของกลุ่มความร่วมมือเพื่อหยุดยั้งขยะพลาสติก (Alliance to End plastic Waste : AEPW) ชี้ให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของขยะพลาสติกในทะเลมีที่มาจากบนพื้นแผ่นดินหรือ คือขยะที่เกิดจากประชากร โดยมีเส้นทางการเคลื่อนตัวจากพื้นดินไปยังแม่น้ำและออกสู่ทะเลใหญ่

พลาสติกเหล่านี้จึงกลายเป็นขยะ ที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการรีไซเคิลและกลายเป็นตัวการสำคัญบั่นทอนสภาพสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติของโลก

จะรีไซเคิลได้ ต้องเก็บขยะก่อน

'จิม' ชี้ว่า เนื่องจากปัญหาที่แท้จริง คือขยะพลาสติกที่ไม่มีการจัดการอย่างถูกต้องและทำให้เกิดการรั่วไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติ การแก้ปัญหาจึงต้องเริ่มจากความพยายามจัดการกับขยะพลาสติกเหล่านั้น

พลาสติก

ตัวอย่างการเก็บขยะพลาสติกในแม่น้ำที่จิมนำเสนอ เป็นโครงการกำจัดขยะในแม่น้ำคงคาของประเทศอินเดียที่ AEPW ร่วมกับองค์กรท้องถิ่นและรัฐบาล โดยมีเป้าหมายเก็บขยะพลาสติกกว่า 45,000 กิโลกรัม ภายในเวลา 1 ปี โดยขยะเหล่านี้สามารถนำมารีไซเคิลและกระตุ้นให้เกิดรายได้แก่ประชากรท้องถิ่น

'จิม' กล่าวว่า แนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน เพราะขณะนี้ไทยมีการรีไซเคิลขยะพลาสติกเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น 

ตัวเลขสถานการณ์ขยะพลาสติกไทยจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสะท้อนให้เห็นว่าในปี 2560 ไทยมีขยะพลาสติกหลังการบริโภคทั้งหมด 1.930 ล้านตัน โดยแบ่งออกเป็น (1) ขยะที่หลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม 3 หมื่นตัน (2) ขยะไม่ใช้ประโยชน์ และ (3) ขยะที่นำไปรีไซเคิล 3.9 แสนตัน ซึ่งเป็นตัวเลขขยะที่หลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อมและขยะที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้

อยากแก้ปัญหาต้องร่วมมือกัน

'จิม' กล่าวว่า กลุ่มความร่วมมือเพื่อหยุดยั้งขยะพลาสติก (Alliance to End plastic Waste : AEPW) ที่มีสมาชิกเป็นบริษัทใหญ่กว่า 40 แห่ง ทั่วโลก จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหวังใช้ความสามารถและศักยภาพของภา���เอกชนในการแก้ปัญหาขยะ

เสวนาภาคธุรกิจและปัญหาขยะ

เงินทุนราว 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาท ถูกตั้งไว้เพื่อการลงทุนและพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

"เงินเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม" จิม กล่าว

'จิม' ชี้ว่า สิ่งที่บริษัทขนาดใหญ่ มีคือแหล่งเงินทุนจะสามารถลงไปได้ในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งความสามารถของแต่ละบริษัทยังช่วยในการสร้างความตระหนักรู้และแก้ปัญหาขยะในปัจจุบันก่อนที่ทีมนักวิจัยจะสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดการหรือป้องกันปัญหาขยะพลาสติกในอนาคตได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :