จริงอยู่ที่เงินไม่ใช่ปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต แต่หากพิจารณาสภาพสังคมปัจจุบัน หลักการทางชีววิทยาเพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์การยังชีพอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่สวัสดิการจากภาครัฐยังไม่เพียงพอและทั่วถึง
ปิดท้ายปี 2563 ที่ไทยเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย (จีดีพีติดลบต่อเนื่อง 2 ไตรมาส) กันตั้งแต่ช่วงต้นปีในไตรมาสแรก เรื่อยมาถึงการติดลบกว่า 12.2% ในไตรมาสที่ 2 ก่อนขยับขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสต่อมาและทำท่าว่าจะมีปัญหาอีกครั้งใน 3 เดือนสุดท้ายของปี
'วอยซ์' ขอเสนอตัวเลขรายได้และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของจังหวัดที่มี 'เงินเหลือเก็บ' มาก/น้อยที่สุดของประเทศ เพื่อสะท้อนความเหลื่อมล้ำในเชิงตัวเงิน และตอกย้ำว่าประเทศต้องการรัฐบาลที่บริหารจัดการความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม
ข้อมูลใหม่ล่าสุดในการนำมาวิเคราะห์คือตัวเลขจากปี 2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งพบว่า หากนำค่าเฉลี่ยรายได้ต่อเดือนมาลบด้วยรายจ่าย (ย้ำว่าคิดแค่เพียงรายจ่ายในการยังชีพ ไม่นับค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ การลงทุน และไม่นับรวมภาระหนี้สินเช่นเดียวกัน)
'สมุทรสงคราม' ถือเป็นจังหวัดที่ประชากรมีเงินเหลือมากที่สุดถึง 19,367 บาท/เดือน โดยข้อมูลสะท้อนว่า จังหวัดอันดับหนึ่งนี้
ขณะที่สมุทรสงครามมีเงินเหลือบเกือบแตะ 20,000 บาท/เดือน จังหวัดในอันดับรองลงมา กลับมีช่องว่างเกือบเท่าตัว โดยระนอง และ นครปฐม มีเงินเหลือในตัวเลข 10,413 และ 10,181 ตามลำดับ
ขณะที่อันดับที่ 4 และ 5 อย่างปทุมธานีและชุมพรเห็นส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายราว 9,800 และ 9,500 บาท/เดือน
ในทางตรงกันข้าม บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายในหลัก 500 บาท/เดือน เท่านั้น โดยมี
หากไปดูภาระหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน ยังสูงถึง 220,000 บาท โดย 'วอยซ์' พบว่า สาเหตุของหนี้สินหลักมาจากการกู้ยืมเพื่อใช้จายในครัวเรือนกว่า 50%
ความน่ากังวลอีกประการคือ จากทั้งหมด 5 จังหวัดที่มีส่วนต่างรายจ่ายและรายได้ต่ำที่สุดในประเทศไทย พบว่ามีถึง 4 จังหวัดที่กระจุกตัวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บึงกาฬ ในอับดับแรก ตามมาด้วย บุรีรัมย์ในอันดับที่ 2 พร้อมด้วย ศรีสะเกษ และ หนองคายในอันดับที่ 4 และ 5 ขณะพะเยาจากภาคเหนือติดเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 3 โดยจังหวัดที่เหลือเหล่านี้ มีเงินเหลือเก็บจากส่วนต่างรายได้และค่าครองชีพราว 1,000 บาท/เดือน เท่านั้น
ประชาชนต้องไม่ลืมว่า ตัวเลขล่าสุดที่นำมาจัดอันดับนั้นคือสถิติในปี 2562 หรือช่วงเวลาก่อนที่ประเทศจะเกิดวิกฤตโรคระบาดที่ขยายตัวมาเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซ้ำเติมสภาพข้างต้นเข้าไปอีก
แม้ล่าสุด รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือน พ.ย.ระบุว่า เศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้นแต่กระจุกตัวในภาพใหญ่หรือบางกลุ่มเท่านั้น ทว่าส่วนที่เปราะบาง-อ่อนไหวที่สุดของสังคมอย่างภาคครัวเรือน/ประชาชน ยังคงไม่เห็นสัญญาณดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ระดับการว่างงานของไทย ณ เดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ทรงตัวในช่วง 2% ของแรงงานทั้งหมดขณะที่เดือน พ.ย.ของปี 2562 และ 2561 ตัวเลขอยู่ที่ราว 1% เท่านั้น นอกจากนี้ สัดส่วนของประชาชนที่มาขอรับเงินสมทบจากการว่างงานในความคุ้มครองของหลักประกันสังคม มาตรา 33 ยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยังออกมาวิเคราะห์ว่า ไทยต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก 2 ปี ก่อนจะกลับไปเห็นตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด หรือในปี 2562
หมายความว่า ประชากรในประเทศไทย อาจต้องเผชิญหน้ากับภาวะที่มีรายได้(ที่แท้จริง)ต่ำกว่าในช่วงปี 2562 ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี จังหวัดใดมีเงินเหลือเก็บเยอะ จากรายได้ที่สูงและค่าครองชีพต่ำ อาจจะเห็นช่วงว่างเหล่านั้นลดลง ทว่าปัญหาที่แท้จริง จะไปตกกลับเหล่าประชากรในจังหวัดที่แทบจะไม่มีเงินเหลือเก็บอยู่แล้วตั้งแต่ต้น รวมไปถึงแรงงานที่ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากโควิด-19 อย่างภาคท่องเที่ยว
หมายเหตุ : ตารางด้านล่างคำนวณจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562
ข่าวที่เกี่ยวข้อง;