ไม่พบผลการค้นหา
‘สหพันธ์ขนส่งฯ’ หอบหลักฐานรายละเอียดส่วยสติ๊กเกอร์หารือ ‘ก้าวไกล’ โอดรอมา 20 ปี แห่ร้องทุกที่แต่ถูกข่มขู่ แฉ จนท.ระดับล่างแจกเบอร์โทรเคลียร์ "เจ้านาย" มีรถบรรทุกจ่ายส่วยกว่า 40-50 ป้าย รวมกว่า2แสนคัน ด้าน "วิโรจน์" ออกโรงรับเรื่อง แฉอีก ยังมีตำรวจท้องที่ด้านจราจรร่วมด้วย เตือนให้ "เลิกเถอะ" เตรียมส่งข้อมูล-หลักฐาน ให้จเรตำรวจแห่งชาติ แนะใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา

เวลา 14.00 น. ที่ทำการพรรคก้าวไกล วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล รับหนังสือจาก อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธาน ที่เข้ามามอบหลักฐานเรื่องส่วยสติ๊กเกอร์ ก่อนเข้าประชุมหารือแนวทางในการทำงานร่วมกันช่วงบ่ายวันนี้ 

วิโรจน์ ระบุว่า ตอนนี้ทุกคนคงตั้งเป้าไปที่ตำรวจทางหลวง แต่นอกจากนี้ ยังมีตำรวจภูธรหรือตำรวจในพื้นที่ที่ดูแลการจราจรบางท่านยังมีการกระทำดังกล่าวอยู่ จากที่ประชุมพบว่า ตำรวจทางหลวงบางท่านที่เป็นปัญหาก็ได้ยุติไปชั่วคราวแล้ว แต่ในบางพื้นที่ยังพบว่ามีตำรวจภูธรยังชะล่าใจและกระทำอยู่ ตนขอบอกว่า “เลิกเถอะ” และในส่วนของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ ที่มีส่วนเกี่ยวพันด้วยนั้น ตนคงจะไปบอกว่าให้เปลี่ยนทั้งหมดหรือเป็นทุกคนคงไม่ได้ ต้องย้ำว่าปัญหาเป็นที่ระบบ โดยคาดว่าความเสียหายอยู่ในระดับหมื่นล้าน เรื่องการทุจริตนี้ คิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของการทุจริตทั้งหมดในประเทศไทย

วาระสำคัญของการประชุมวันนี้ คือการสืบสาวราวเรื่องของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยเราจะรวบรวมและส่งข้อมูลไปให้กับสำนักงานจเรตำรวจ และ จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ที่ได้รับตำแหน่งรักษาการผู้บังคับการตำรวจทางหลวงในขณะนี้

วิโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหานี้ยังคงมีเรื่องของกฎระเบียบที่ยังเป็นปัญหาอยู่ การทบทวนการแก้ไขข้อกฎหมายยังเป็นภาระหน้าที่ และการร่วมกันทำงานของพรรคก้าวไกล และสหพันธ์ฯ คิดว่า คงต้องเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างจริงจัง เพราะหากตัดปัญหา เรื่องที่ต้องใช้ดุลพินิจออกไป ปัญหาคอร์รัปชันก็จะหมดไปโดยปริยาย และเรื่องสุดท้ายคือเรื่องการยกเลิกการซื้อขายตำแหน่ง และระบบตั๋วของตำรวจ ตนเชื่อว่าถ้าสิ่งนี้หมดไป การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะยั่งยืน

ด้าน อภิชาติ กล่าวว่า กระบวนการส่วยอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2539 และพัฒนาความรุนแรงขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ หากถามว่า ที่ผ่านมาสหพันธ์หรือสมาคมทำอะไรอยู่ ทำไมจึงแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ ขอเรียนว่าการพัฒนาของส่วยสติ๊กเกอร์มาจากการที่มีสื่อมวลชนเจ้าหนึ่งแอบถ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเรียกรับสินบนจากรถบรรทุกไว้ได้ และได้เผยแพร่เป็นข่าวออกไป การเก็บส่วยตามท้องถนนจึงหมดไป แต่ได้พัฒนาเป็นแผ่นสติ๊กเกอร์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเคลียร์ทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายได้อย่างสะดวกแทน โดยปัจจุบันมีมากถึง 40-50 ป้าย

“ตนอยู่ตรงนี้มา 20 กว่าปีแล้ว ร้องเรียนมาทุกกระบวนการ ตั้งแต่นายกฯ ผบ.ตร. รมต.คมนาคม แต่นายวิโรจน์ได้นำปัญหานี้มาบอกกับประชาชน และตรวจสอบ จนทำให้เกิดการโยกย้ายตำแหน่งในตำรวจทางหลวง การขนส่งเป็นหัวใจสำคัญเป็นเส้นเลือดใหญ่ หากมีปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องขนส่งไปยังทั่วประเทศจะติดขัด หากยังมีระบบส่วยอยู่ จะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น ขณะเดียวกันในเรื่องของราคาพลังงาน รัฐบาลที่แล้วก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ส่งผลให้สินค้าดีดตัวสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเราพยายามร้องเรียนไปทุกกรม กอง แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข” อภิชาติ กล่าว

อภิชาติ ระบุถึงวิธีการในการจำหน่ายส่วยสติกเกอร์ของตำรวจอีกด้วยว่า จะมีตำรวจระดับล่าง ตั้งแต่ยศนายสิบ เรียกรถเข้าไปตรวจพร้อมกับให้เบอร์โทรศัพท์ โดยบอกว่าให้โทรไปเคลียร์กับ “เจ้านาย” ซึ่งหากไม่ทำตามจะถูกกดดันและถูกตรวจค้น และหาข้อกล่าวหาที่ทำให้เราผิด ในส่วนของราคาส่วยสติ๊กเกอร์มีหลายระดับและราคา ตั้งแต่ 3,000-5000 บาท ไปจนถึงระดับพรีเมี่ยม 25,000-27,000 บาท

เมื่อถามว่า ประมาณการณ์ตัวเลขของผู้ประกอบการรถบรรทุกที่ไปจ่ายส่วยไว้กี่ราย และความเสียหาย20กว่าปีที่ผ่านมาเป็นเท่าไร นายอภิชาติ ตอบว่า ตัวเลขผู้ประกอบการทั้งหมด 1,500,000ราย มีผู้ประกอบการที่อยู่ในสมาพันธ์ 400,000ราย ซึ่งเป็นเพียง1ใน 3ของผู้ประกอบการทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้ไม่มีใครทำผิดกฎหมาย แต่จำนวนที่เหลืออีก 1ล้านราย สามารถพูดได้ว่ามี 20% หรือประมาณ 200,000คัน ต้องจ่ายค่าสติ๊กเกอร์ให้เจ้าหน้าที่ โดยราคาก็จะมีหลายเกรด ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 3,000-5,000บาท ไล่เกรดไปถึง 6,000-8,000บาท และ 10,000-15,000บาท จากนั้นก็เพิ่มระดับไปเรื่อยๆจนถึงระดับพรีเมี่ยมที่สามารถบรรทุกของไม่จำกัดน้ำหนักได้ ตนจึงตั้งคำถามว่าถนนที่ก่อสร้างมาด้วยงบประมาณหลายแสนล้านมาถูกทำลายด้วยสาวยสติ๊กเกอร์ เราจึงต้องเปิดหน้าให้ข้าราชการที่รับอามิสสินข้างตื่นตัวสักที และตนมั่นใจว่าวันนี้มาถูกที่ถูกทางแล้ว

จากนั้นอภิชาติได้นำเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตในเรื่องนี้มามอบให้วิโรจน์อีกด้วย และจะนำมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไป

ด้านวิโรจน์ กล่าวภายหลังการหารือ ว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่พรรคก้าวไกลได้รับเกียรติจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยที่เป็นสะพาน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของประกอบการการขนส่งถึง 10 สมาคม เป็นเกียรติอย่างสูงที่พวกเราได้ทำงานร่วมกัน ทั้งในเรื่องของการกำจัดปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงมาก และจะถูกผลักภาระไปยังภาคสินค้าอุปโภค บริโภคอื่นๆ รวมทั้งทำให้ถนนเสียหาย และเป็นความเสี่ยงของประชาชนผู้ใช้ถนน

วิโรจน์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้ทุกคนคงตั้งเป้าไปที่ตำรวจทางหลวง แต่นอกจากนี้ ยังมีตำรวจภูธร หรือตำรวจในพื้นที่ที่ดูแลการจราจรบางท่านยังมีการกระทำดังกล่าวอยู่ ต้องยอมรับว่าเรายังต้องพูดถึงตำรวจภูธรอีก จากที่ประชุมพบว่าตำรวจทางหลวงบางท่านที่เป็นปัญหาก็ได้ยุติไปชั่วคราวแล้ว แต่ในบางพื้นที่ยังพบว่ามีตำรวจภูธรยังชะล่าใจและกระทำอยู่ “ตนขอบอกว่าเลิกเถอะ” และในส่วนของสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะ ที่มีส่วนเกี่ยวพันด้วยนั้น ตนคงจะไปบอกว่าให้เปลี่ยนทั้งหมดหรือเป็นทุกคนคงไม่ได้ ต้องย้ำว่าปัญหาเป็นที่ระบบ โดยคาดว่าความเสียหายอยู่ในระดับหมื่นล้าน เรื่องการทุจริตนี้ คิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของการทุจริตทั้งหมดในประเทศไทย

โดยวาระสำคัญของการประชุม คือการสืบสาวราวเรื่องของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น โดยเราจะรวบรวมและส่งข้อมูลไปให้กับสำนักงานจเรตำรวจ และจรุงเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับผู้บังคับการกองบังคับ การป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ที่ได้รับตำแหน่งรักษาการผู้บังคับการตำรวจทางหลวงในขณะนี้

วิโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า การแก้ไขปัญหานี้ยังคงมีเรื่องของกฎระเบียบจุกจิกที่ยังเป็นปัญหาอยู่ การทบทวนการแก้ไขข้อกฎหมายยังเป็นภาระหน้าที่ และการร่วมกันทำงานของพรรคก้าวไกล และสมาพันธ์ฯ ตนทำคิดว่าคงต้องเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างจริงจัง เพราะหากตัดปัญหา เรื่องที่ต้องใช้ดุลพินิจออกไป ปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะหมดไปโดยปริยาย และเรื่องสุดท้ายคือเรื่องการยกเลิกการซื้อขายตำแหน่ง และระบบตั๋วของตำรวจ ตนเชื่อว่าถ้าสิ่งนี้หมดไป การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะยั่งยืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สหพันธ์ฯ ได้นำเอกสารที่มีรายละเอียดรูปแบบและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตส่วยสติ๊กเกอร์มามอบให้ พรรคก้าวไกล เพื่อเปิดเผยต่อสื่อมวลชนให้เผยแพร่ต่อไปด้วย

Screen Shot 2566-06-01 at 15.53.14.pngScreen Shot 2566-06-01 at 15.53.42.pngScreen Shot 2566-06-01 at 15.53.54.pngScreen Shot 2566-06-01 at 15.54.02.pngScreen Shot 2566-06-01 at 15.54.13.pngScreen Shot 2566-06-01 at 15.54.21.png