ไม่พบผลการค้นหา
"เกียรติ" มองงบ 64 เหมือนไฟไหม้บ้าน แต่จัดงบแต่งสวน แนะ 3 วิธีจัดงบใหม่ เพราะโลกเปลี่ยน วิธีคิดต้องเปลี่ยน มีหลักประกันฝ่าวิกฤตได้ ทุกคนต้องรอดไม่ใช่บางคนรวย

นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปืงบประมาณ 2564 ว่า ในการอภิปรายงบเมื่อปี 2563 จากวันนั้นถึงวันนี้ สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทั้งยังมีการอภิปราย พ.ร.ก.เงินกู้ 3 ฉบับ ก็มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจในภาพรวมไปหลายเรื่อง ซึ่งมีสัญญาณรุนแรงกว่าที่คิดไว้มาก โดย IMF ได้เตือนภัยไว้ 3 ประการว่า เป็นมหาวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การฟื้นตัวมีความไม่แน่นอนสูง SMEs และผู้มีรายได้น้อยกระทบมากที่สุด

ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมในกรณีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสอง ซึ่งในการอภิปรายครั้งก่อนตนได้กล่าวถึงปัญหาที่รุมเร้าจากปัญหาภายนอก ซึ่งในวันนี้ปัญหาจะแรงกว่าเดิมด้วย เพราะปัญหาโควิดที่มาซ้ำเติมอันส่งผลกระทบต่อประชาชน

นายเกียรติ กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณแต่ละปี จำเป็นต้องประมาณการจากการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากเอกสารงบประมาณปี 2564 พบว่า ยังคงใช้สมมติฐานการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ -5.5 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมองว่าทุกแหล่งที่มีการประเมินการเติบโต ทางเศรษฐกิจจะเห็นว่าได้มีการปรับลดมากขึ้นทุกกรณี โดยล่าสุด ธปท. ได้ปรับลด GDP ของไทยในปี 63 คาด การณ์ไว้ว่าจะลดลงจาก -5.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น -8.1 เปอร์เซ็นต์ ในเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกระทบในการบริหารจัดการงบประมาณได้

เพราะหากมองบวกเกินไป จะทำให้การจัดเก็บรายได้ไม่ เข้าเป้าตามเอกสารงบประมาณ ทำให้สัดส่วนเงินกู้สูงขึ้น ทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่ตอบโจทย์ ขณะที่เกิดวิกฤตรุนแรงมาก แต่รัฐจัดสรรงบประมาณแบบปกติ อันจะทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเยียวยาอ่อนแรงลง หรือหมดระยะเวลาในการช่วยเหลือ แต่ปัญหาเร่งด่วนของประชาชนยังคงมีอยู่ ทั้งเรื่องรายได้ลดลงของแพงขึ้นหนี้สินเพิ่มขึ้น มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น รายได้ครัวเรือนลดลงอีกในหลายจังหวัด แต่ทั้งหมดยังถูกซ้ำเติมจากปัญหา หรือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด

ดังนั้นหากเป้าหมายของรัฐบาล และการจัดสรรงบประมาณ คือการปลดทุกข์ของชาวบ้านแล้ว ก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาทันที ซึ่งสามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ คือ 1. ต้นทุนพลังงาน วันนี้ราคากำไรของค่าการกลั่นพุ่งสูงขึ้นถึง 421 เปอร์เซ็นต์ แล้ว หากจัดการเรื่องนี้จะทำให้ค่าไฟ ค่าขนส่ง ค่าน้ำมันลดลงทันที ล้วนเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 2. ส่วนต่างดอกเบี้ย ระหว่างเงินฝากกับเงินคูณวันนี้ ประเทศไทยมีส่วนต่างดอกเบี้ยสูงถึง 6.1 เปอร์เซ็นต์ แล้ว

เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ทำร้ายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

นายเกียรติ ยังได้กล่าวถึงเรื่อง เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาท ใน พ.ร.บ.เงินกู้ 3 ฉบับว่า กลุ่มคนที่เจ็บตัวที่สุดในวันนี้คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะมาตรการเงิน Soft loan เป็นวงเงินสำหรับภาคท่องเที่ยวน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ นายเกียรติ ได้เสนอแนะการแก้ปัญหาไว้ 3 กรณี

1. การช่วยเหลือ SMEs ไม่ให้ล้มละลาย ด้วยการปรับเงื่อนไขเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ต้องให้ถึงมือ SMEs ที่ประสบปัญหาจริง-ตั้งกองทุนเพิ่มทุน - เปลี่ยนบทบาท SMEBank และ EXIM Bank ให้เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา (Packing Credits)

2. ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ต้องมีการเตรียมมาตรการระยะกลาง และระยะยาว หลังจากที่มาตรการเยียวยาครบ

3. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการจัดงบวิจัยพัฒนาให้ได้ 2 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP - ก่อสร้างขนส่งระบบรางให้แล้วเสร็จอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 4 ปี เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง-ร่วมมือกับเอกชนทำกองทุนร่วมทุน (MatchingFund)

4. ตั้งเป้าหมายไม่ให้กลุ่มท่องเที่ยว ต้องไม่ตาย-ไม่ให้ถูกฉวยโอกาส เมื่อเศรษฐกิจฟื้น ต้องฟื้นตัวได้เร็ว เพื่อเป็นการดึงรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวให้ไปชดเชยบางส่วนของ รายได้ที่มาจากต่างประเทศ

5. วิธีการแก้ปัญหาท่องเที่ยวปรับเงื่อนไขเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ - ยืดหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ ใช้กองทุนเพิ่มทุน เพิ่มงบ "ไทยเที่ยวไทย"

"การจัดสรรงบครั้งนี้เหมือนไฟไหม้บ้านอยู่แล้ว แต่จัดงบเพื่อแต่งสวน มันไม่พอจริงๆ แล้วมันผิดภารกิจอย่างมาก ขอให้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ปรับงบให้ตรงกับเป้าหมาย ใช้งบที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุดรวมถึงร่วมมือกับเอกชนเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ" 

พร้อมกันนี้ยังได้แนะวิธีจัดงบประมาณไว้ 3 ขอ 1. โลกเปลี่ยน วิธีคิดต้องเปลี่ยน 2. ต้องให้หลักประกันกับประชาชนว่า การจัดงบประมาณครั้งนี้ ต้องฝ่าวิกฤตได้แน่ๆ 3. ทุกคนต้องรอด ไม่ใช่บางคนรวย