ไม่พบผลการค้นหา
องค์กรสิทธิ์-กลุ่มชาติพันธุ์ ยื่น 100 รายชื่อเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน เพื่อยับยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง ด้านกมธ.กฎหมาย เห็นด้วยพร้อมผลักดัน

ตัวแทนองค์กร 12 องค์กรพร้อมนำรายชื่อบุคคลกว่า 100 คนยื่นร่างกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับประชาชน โดยมีนายปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร รวมกับสมาชิกกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาร่วมกับร่าง พ.ร.บ.ชื่อเดียวกันที่ทางกระทรวงยุติธรรมเสนอเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ แล้ว พร้อมกับจัดทำรายงานเปรียบเทียบร่างฉบับประชาชนและฉบับของรัฐบาลด้วย โดยจะมีการยื่นต่อประธานรัฐสภา และพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลให้สนับสนุนร่างฉบับประชาชนนี้ด้วย

กมธ กฎหมายรับหนังสือกลุ่มชาติพันธุ์_๒๐๐๑๓_0.jpg

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ร่างพรบ.ฉบับนี้ ปรับปรุงจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผู้เสียหายจากการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย เช่นกรณีนายบิลลี่ เป็นต้น โดยทำให้กรอบกฎหมายมีความชัดเจน นำคนผิดมาลงโทษได้ และมีทั้งมาตรการป้องกันและปราบปราม

ทั้งนี้เพื่อยับยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงทั้งสองเรื่องนี้จากการกระทำที่เกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่รัฐบางนาย และทำให้ผู้เสียหายที่ลำบากมากในการเข้าถึงความจริง ความเป็นธรรมและได้รับการเยียวยา

กมธ กฎหมายรับหนังสือกลุ่มชาติพันธุ์_๒๐๐๑๓_1.jpg

นายปิยะบุตร เปิดเผยว่า กรรมาธิการการกฎหมายให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับพันธะกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ทางคณะกรรมาธิการพร้อมทำงานร่วมกับภาคประชาชนและองค์กรสิทธิทั้งในและระหว่างประเทศ โดยเห็นด้วยกับหลักการที่ภาคประชาชนนำเสนอพร้อมผลักดันให้กรรมาธิการที่มาจากหลายพรรคการเมืองไปเชื้อเชิญ เพื่อลงชื่อร่วมกันเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

เชื่อว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะกลายเป็นร่างของสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากหลากหลายพรรคการเมืองเพื่อทำให้สังคมเห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหาย และเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่เพียงแค่การเดินหน้าเพื่อเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการสูญหายการซ้อมทรมานหรือกรณีที่มีอำนาจรัฐใบบังคับบุคคลให้สูญหาย และประเทศไทยจะต้องไม่มีบุคคลที่ถูกซ้อมทรมานอีกต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :