ไม่พบผลการค้นหา
ฉับพลันที่ "กรณ์" แห่งพรรคสีฟ้า สาดโคลนไปยัง “ธนาธร" แห่งพรรคอนาคตใหม่ในเรื่องการโอนทรัพย์สินให้บุคคลที่สามดูแลระหว่างทำงานการเมือง เพื่อป้องกันข้อครหา ผลประโยชน์ทับซ้อน จนเกิดเป็นพาดหัว “กรณ์ สวน ธนาธร" ให้หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ อย่าง “สฤนี อาชวานันทกุล” ก็สอนมวย "กรณ์" กลับไปอย่างแสนสันต์ จนในโลกทวิตปรากฎ Hashtag #กรณ์บิดเบือน #กรณ์คาบ้าน

โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 2562 พรรคประชาธิปัตย์ทำอยู่สองอย่าง หนึ่งคือการประกาศจุดยืนของอภิสิทธิ์ ว่าจะไม่หนุน พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออย่างเด็ดขาด แต่เปิดช่องจับมือพรรคพลังประชารัฐ

พร้อมทั้งย้ำชัดว่า ไม่จับมือกับพรรคเพื่อไทย เมื่อประกาศแบบนี้ คุณหญิงสุดารัตน์เลยประกาศกลับไปบ้างว่า “เราขอขอบคุณ เพราะพรรคเพื่อไทยก็ไม่จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน”

อีกหนึ่งกิจกรรมคือการสาดโคลนการเมืองไปยังพรรคการเมืองหน้าใหม่ โดย “กรณ์ จาติกวณิช”​ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นประหนึ่ง “มันสมอง” ของ อภิสิทธิ์ และพรรคสีฟ้า โดยเฉพาะการคิดค้นนโยบายรับศึกเลือกตั้ง 62

ช่วงเช้าของเมื่อวาน ธนาธรแถลงถึงการโยกทรัพย์สิน 5 พันล้านให้ blind trust (บุคคลที่ 3) ดูแล เพื่อป้องกันการครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

เงื่อนไขที่สำคัญใน MOU ที่ธนาธรลงนาม คือ จะไม่ซื้อหุ้นไทยทุกทอดตลอดสายภายใต้สัญญา,การจัดการกองทุนนี้จะดำรงต่อไปจนกว่า ธนาธร จะพ้นตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว 3 ปี, รายได้เกือบทั้งหมดของไทยซัมมิทมาจากคู่สัญญาที่เป็นเอกชน แต่ในอนาคตหากบริษัทเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ ให้ประชาชนตรวจสอบจริงจัง และสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา จะขายหุ้นเครือมติชนในเวลาอันใกล้นี้

ธนาธรย้ำกับสื่อว่า "ต้องบอกว่าผมเชื่อมั่นในเกียรติภูมิของตัวเองเพียงพอ เมื่อแบ่งเส้นระหว่างธุรกิจกับตัวเองแล้ว เราจะไม่ข้ามเส้นไปอีก ผมว่าภารกิจและความฝันของผมใหญ่กว่านั้น การกลับไปทำธุรกิจแล้วจะทำให้รวยขึ้นร้อยล้านพันล้าน แต่ทำให้เราต้องด่างพร้อย ทำให้ความฝันเราไม่เป็นจริง ผมไม่ทำ”

ขณะที่ “สฤนี อาชวานันทกุล” ก็ย้ำว่า “การลงนาม MOU ของคุณธนาธร โอนทรัพย์สินให้จัดการแบบ blind trust ก่อนที่ตัวเองจะรู้ผลการเลือกตั้ง (ยังไม่ได้เป็น ส.ส. ด้วยซ้ำ) จึงนับเป็นก้าวที่น่าชื่นชม ขยับเพดานธรรมาภิบาลนักการเมือง สังคมควรเรียกร้องให้นักการเมืองคนอื่นทำตาม”

ทว่าให้หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง ขุนคลังในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ก็โพสต์ข้อความส่วนตัวทางเฟซบุ๊ก ตั้งใจสวนหมัดไปยังธนาธรโดยตรง

[ ยิ่งมองไม่เห็น ยิ่งตรวจสอบไม่ได้

จากการแถลงข่าวเรื่อง ‘blind trust’ ของคุณธนาธร ทำให้มีสื่อบางรายได้ทักท้วง สรุปความได้ว่า การอ้างว่านี่เป็นครั้งแรกที่มีการทำเช่นนี้ เป็นการอ้างไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เคยมีนักการเมืองอีกหลายท่าน รวมทั้งผมด้วย เคยทำเช่นนี้มาก่อนแล้ว..

ผมขอชี้แจงตามนี้ว่า

1. “Blind Trust” ยังไม่มีจริงในประเทศไทย เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับ เพราะฉะนั้นที่คุณธนาธรลงนามไปนั้น ไม่ใช่ blind trust และไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน

2. คุณธนาธรได้โอนทรัพย์สินให้สถาบันการเงินดูแล อันนี้หลายคนน่าจะเคยทำเหมือนกัน ผมก็เคยและวันนี้ก็ยังมีอยู่ โดยที่ผมก็ได้ลงนามสัญญาให้เขาบริหารโดยอิสระเช่นเดียวกัน

3. ผมเองเคยมี Trust อยู่ที่ต่างประเทศ และรายงานรายละเอียดทั้งหมดกับ ปปช. ตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการรายงานบัญชีทรัพย์สิน

4. แต่หลายปีมาแล้วผมได้ตัดสินใจทำสวนทางกับที่คุณธนาธรพยายามที่จะทำ คือผมยกเลิก Trust ที่มีอยู่ เพราะผมคิดว่าความโปร่งใสสำคัญกว่า ผมคิดว่าประเด็นที่น่ากังวลที่สุดในสิ่งที่คุณธนาธรได้ประกาศวันนี้ ไม่ใช่ว่าท่านเป็นคนแรกหรือไม่ แต่ที่ท่านบอกว่าทรัพย์สินที่ท่านโอนไปนี้จะ ‘มองไม่เห็น’ เพราะเมื่อทุกคนบอดสนิทกับข้อเท็จจริงว่าท่านมีทรัพย์สินอะไรบ้าง การตรวจสอบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจะเกิดขึ้นไม่ได้

จริงๆแล้ววิธีที่ชัดเจนที่สุดที่จะปลดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนคือการขายขาด (แต่อย่าขายให้ nominee กันอีกนะครับ)

แต่หากไม่ขาย ผมว่าที่ดีที่สุดคือเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะว่าเรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ และที่ไม่ควรคือการโอนเข้าไปในที่ๆ ‘มองไม่เห็น’]

ข้อเขียนของกรณ์ นำไปสู่วิวาทะต่อเนื่องระหว่าง ตัวเขากับ “สฤนี อาชวานันทกุล”  นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และนักแปลชื่อดัง

[ความเห็นต่อโพสของคุณกรณ์ (ดูได้ในเพจ KornChatikavanijDP) ต่อกรณี blind trust คุณธนาธร

1. ในฐานะนักการเงิน คุณกรณ์ย่อมเข้าใจดีว่า blind trust คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำงานแบบไหนในต่างประเทศ การนำคำว่า "มองไม่เห็น" มาเล่น บิดคำให้กลายเป็นเท่ากับหมายความว่า "ตรวจสอบไม่ได้" จึงไม่ถูกต้อง เพราะ blind ในคำว่า blind trust ไม่ใช่แปลว่าตรวจสอบไม่ได้ คำว่า "มองไม่เห็น" แปลตรงตัวว่า เจ้าของทรัพย์สินไม่มีสิทธิมองเห็นหรือบงการการจัดการทรัพย์สินใดๆ เท่านั้น

2. ไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ blind trust ก็จริง แต่คุณธนาธรก็ได้แสดงความประสงค์ชัดเจนแล้วใน MOU ซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะว่า จะสร้างเงื่อนไขแบบ blind trust ขึ้นมาในสัญญาบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล

3. blind trust ที่คุณธนาธรตั้งในครั้งนี้ เป็นการทำสัญญากับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนสัญชาติไทย อยู่ในรูปกองทุนส่วนบุคคล (private fund) ในเมืองไทย ซึ่งต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ทุกประการ ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ไม่ใช่ trust ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ (แบบที่คุณกรณ์โพสว่าเคยทำ) และในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง 2562 พรรคประชาธิปัตย์ทำอยู่สองอย่าง หนึ่งคือการประกาศจุดยืนของอภิสิทธิ์ ว่าจะไม่หนุน พลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออย่างเด็ดขาด แต่เปิดช่องจับมือพรรคพลังประชารัฐภายใต้เงื่อนไขไม่สืบทอดอำนาจ

ทั้งยังย้ำชัดว่า ไม่จับมือกับพรรคเพื่อไทย เมื่อประกาศแบบนี้ คุณหญิงสุดารัตน์เลยประกาศกลับไปบ้างว่า “เราขอขอบคุณ เพราะพรรคเพื่อไทยก็ไม่จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน”

อีกหนึ่งกิจกรรมคือการสาดโคลนการเมืองไปยังพรรคการเมืองหน้าใหม่ โดย “กรณ์ จาติกวณิช”​ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นประหนึ่ง “มันสมอง” ของ อภิสิทธิ์ และพรรคสีฟ้า โดยเฉพาะการคิดค้นนโยบายรับศึกเลือกตั้ง 62

ช่วงเช้าของเมื่อวาน ธนาธรแถลงถึงการโยกทรัพย์สิน 5 พันล้านให้ blind trust (บุคคลที่ 3) ดูแล เพื่อป้องกันการครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

เงื่อนไขที่สำคัญใน MOU ที่ธนาธรลงนาม คือ จะไม่ซื้อหุ้นไทยทุกทอดตลอดสายภายใต้สัญญา,การจัดการกองทุนเมื่อคุณธนาธรยังคงเป็นเจ้าของทรัพย์สิน (กองทุนเพียงแต่รับมอบอำนาจในการจัดการมา) จึงยังต้องรายงานทรัพย์สินถ้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามกฎระเบียบของ ปปช. (เหมือนกับที่รัฐมนตรีคนก่อนๆ ที่โอนทรัพย์สินให้กองทุนส่วนบุคคลจัดการ มีหน้าที่ต้องทำเช่นเดียวกัน -- แต่ย้ำอีกทีว่า ไม่มีข้อมูลค่ะว่ากองทุนเหล่านั้นอันไหนเข้าข่าย blind trust บ้าง)

4. การรายงานทรัพย์สินใน trust นี้ ต่อ ก.ล.ต. และ ปปช. (ซึ่งเป็นหน้าที่ของ trustee หรือผู้ดูแล trust) จะต้องละเอียดแค่ไหน อย่างไร เป็นเรื่องที่เจ้าของโพสนี้ไม่แน่ใจ (เพราะกฎหมาย blind trust ตรงๆ ยังไม่มีนั่นแหละ) แต่ในหลักการ การจัดตั้งโครงสร้างแบบนี้ถือว่าเป็นการวางมาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนแล้ว ดังนั้นถ้าจะต้องเปิดเผย อย่างมากก็ควรเปิดเผยทรัพย์สินเดิม (ณ ตอนที่สร้าง trust นั้นขึ้นมา เพราะถือว่ามีโอกาสเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนกับทรัพย์สินเดิม เพราะเจ้าของรู้ว่ามีอะไรบ้าง) และยอดรวมของมูลค่าทรัพย์สินใน trust ตามกำหนดการยื่นของ ปปช. เท่านั้น (เราอยากรู้รายละเอียดทรัพย์สินก็เพราะเจ้าของทรัพย์สินมีอำนาจจัดการ สุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ถ้าเขาโอนอำนาจการจัดการไปแล้ว เราก็ไม่ต้องรู้ละเอียดขนาดนั้นก็ได้)

5. ดังนั้นคำพูดของคุณกรณ์ที่ดูจะชี้นำว่า "มองไม่เห็น" = "ตรวจสอบไม่ได้" จึงไม่เป็นความจริง พูดไม่ครบ และทำให้คนเข้าใจผิดได้ค่ะ

เสริมอีกนิดว่า คุณธนาธรเป็นนักการเมืองคนแรกที่รู้จัก ที่ 1) ประกาศว่าจะจัดตั้ง blind trust ก่อนรู้ผลการเลือกตั้ง 2) เปิดเผย MOU ต่อสาธารณะ 3) ในสัญญาจะกำหนดข้อบังคับว่า trustee จะต้องไม่ซื้อหุ้นไทย และ 4) ไม่รับโอนทรัพย์สินคืนจนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองไปแล้ว 3 ปี -- ทั้งสี่ข้อนี้เป็นมาตรฐานสูงที่ไม่เคยเห็นนักการเมืองคนไหนทำมาก่อนค่ะ]

สฤนี ย้ำชัดในข้อเขียนของเธอว่า ความเห็นของกรณ์ “ไม่เป็นความจริง” “พูดไม่ครบ” และ “ทำให้คนเข้าใจผิดได้”​ เช้าวันนี้ สฤนียังทวิตข้อความด้วยว่า “คนที่กำลังจ้องจับผิดนักการเมืองหน้าใหม่ คิดในแง่เลวร้ายที่สุดไปแล้วล่วงหน้าว่าตัวเองจะรู้ไหมและรัฐจะทำอะไรได้บ้างถ้าเขาคอร์รัปชัน ...ถ้าแค่ 1/3 ของคนเหล่านี้ใช้พลังงานเดียวกันไปเรียกร้องความโปร่งใสจาก คสช. และลิ่วล้อทั้งหลายที่ไม่ยอมยื่นทรัพย์สินและไม่เปิดเผยข้อมูลที่ควรเปิดต่อสาธารณะตลอดมาเกือบห้าปี ธรรมาภิบาลของรัฐไทยก็คงจะสูงขึ้นทันตา”

ดูเหมือนวิธีการหาเสียงในโค้งสุดท้ายของพรรคประชาธิปัตย์ จะเต็มไปด้วยการสาดโคลนทางการเมืองไปยังคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะผ่านวาทกรรมใหญ่ “ประชาธิปไตยสุจริต” ไล่เรียงมาจนถึง การโจมตีของ กรณ์ต่อธนาธร ให้หลังจากสฤนี โต้กลับไปยังกรณ์ไม่นานนัก เริ่มเกิดแฮชแท๊ก #กรณ์บิดเบือน #กรณ์คาบ้าน

ขอเลือกบางความเห็นมาให้ได้พิจารณากัน

-มีการรื้อประเด็นว่า กรณ์ไม่เพียงบิดเบือนเรื่องธนาธรโยกทรัพย์สินให้บุคคลที่สามดูแล แต่ยังบิดประเด็นเรื่องอื่นๆอีก เช่น กรณีโพสต์อินโฟกราฟฟิคว่าพรรคอนาคตใหม่มีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่ 450 บาท

-สิ่งที่กรณ์พลาดที่สุดใน #กรณ์บิดเบือน ไม่ใช่แค่ไปกล่าวหาแฟนคลับพรรคตัวเองอย่างบรรยงว่าทำธุรกิจไม่โปร่งใสหรอกนะ แต่เป็นการลืมดูชื่อคนเขียนอธิบาย+ชื่นชมคนแรกๆว่าเป็นอ.สฤณี @Fringer นั่นแหละ ชื่อนี้จัดจ้านสุดในย่านเศรษฐศาสตร์ธรรมาธิบาลแล้ว แถมแม่นตรรกะระดับกินtrollกับioเป็นอาหารเช้า

-คุณกรณ์เหมือนเป็นคนที่ไม่สามารถยอมรับคนที่แสดงความคิดเห็นต่างจากความคิดตนเองอะ ใครที่ต่างคือไล่ลบคอมเมนท์หมด นี่ลองใช้แอคเค้าท์เฟสบุ๊คสองแอคไปคอมเม้นท์ดูสรุปคือลบ และลบไวมาก ไม่หลับไม่นอนกันเลยทีเดียว ขอบอกเลยว่าโค้งสุดท้ายของ ปชบ เสียคะแนนเพราะคุณเลยครับคุณกรณ์ #กรณ์บิดเบือน

-วันนี้คุณกรณ์ตอกย้ำสกิลการสาดโคลนของปชป ทำให้เราสงสัยว่า พรรคนี้ทำแบบนี้มาแล้วกี่ครั้ง ดูเป็นพรรคที่ทำลายคนอื่นด้วยวิธีสกปรกเพื่อขึ้นสู่อำนาจไปแล้ว #กรณ์บิดเบือน #ประชาธิปัตย์

-ปากอ้างประชาธิปไตยสุจริต พอคนอื่นจะยกระดับความสุจริตไปอีกก็มาสาดโคลนเขา #กรณ์บิดเบือน #โตไปไม่กรณ์

-"ไม่เคยมีนักการเมืองไทยทำ" บิดคำเป็น "ไม่มีจริงในประเทศไทย" /"กฏหมายไม่บังคับ" บิดคำเป็น "ไม่มีกฏหมายรองรับ"/"เจ้าของไม่สามารถตรวจสอบได้" บิดคำเป็น "ตรวจสอบไม่ได้" ยังไงซิๆๆๆๆ #กรณ์บิดเบือน #อนาคตใหม่ #futurista

นี่คือผลตอบกลับของการเล่น “การเมืองแบบเก่า” ซึ่งยากจะช่วยเพิ่มคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ ทั้งการประกาศจุดยืนแบบครึ่งๆกลางๆ ของ “อภิสิทธิ์” มาจนถึง กรณีของ “กรณ์” ที่ตั้งใจสาดโคลนไปยัง “ธนาธร” เหล่านี้ดูจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ดิ่งลงอย่างน่าวิตกในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง


https://lh3.googleusercontent.com/cO5CyNGa18ZkkBlOtw8M8nAq4kmsnxb9pEKgGpAWcDgFf-yuMkLLq1mPM2sDsO-cdWaDYXrZV5Lj6ffgTJ45eIul33rrOd1BA1E9xcwAdEcIzbtr2uSlNuICtdV5R-HPrK1cSBeQ

พรรคประชาธิปัตย์เดินเข้าสู่สนามเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยแคมเปญ “ประชาธิปไตยสุจริต” ทว่าสิ่งที่ทำตรงกันข้ามคือการโจมตีนักการเมืองหน้าใหม่ที่ตั้งใจยกระดับมาตรฐานใหม่ทางการเมือง ด้วยการทำให้ “การเมืองไทยสุจริต” ยิ่งขึ้น นอกจากไม่หนุนการขยับเพดานธรรมาภิบาล ยัง “พูดความจริงครึ่งเดียว-บิดเบือนมาตรฐาน” ด้วยวาทกรรมใหม่ๆ

เลือกตั้งครั้งนี้ได้เห็น อภิสิทธิ์ น็อตหลุดมาแล้วสองครั้งในเวทีดีเบต ส่วนเมื่อวานนี้ ได้เห็นนักการเมืองที่ดูเก่งและมีความหวังที่สุดคนหนึ่งในพรรคประชาธิปัตย์ เล่นการเมืองแบบเดิม เมื่อทำเช่นนี้แล้ว จะได้คะแนนเพิ่มจากไหนกัน ?



วยาส
24Article
0Video
63Blog