แม้แพทย์หลายคนจะมองว่าการขับถ่ายอุจจาระนานๆ ครั้งเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ แต่ประชากรน้อยกว่า 1 ใน 3 กลับไม่เห็นเป็นเช่นนั้น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน ณ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ชี้ว่าจำเป็นต้องมีการให้คำบรรยายอาการท้องผูกใหม่
อาการท้องผูกเป็นสิ่งที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โดย 1 ใน 7 ของประชากรที่มีสุขภาพดีต้องเผชิญหน้ากับอาการนี้ ซึ่งอาการหลักๆ แล้วคือ การเผชิญความยากลำบากในการเปิดและขับของเสียในกระเพาะลำไส้หรือการอุจจาระ
จากการสำรวจประชากรกว่า 2,557 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารอีก 776 คน พบว่า อาการที่ผู้คนคิดว่าเป็นสัญญาณของโรคท้องผูก เช่น การใช้เวลานานในการถ่าย การต้องเบ่งมากเกินกว่าปกติ หรือการต้องใช้ยาระบาย ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในเกณฑ์การวินิจฉัยของโรค
แม้ว่าผู้ป่วยท้องผูกจำนวนหนึ่งจะมีอาการตรงกับเกณฑ์อย่างเป็นทางการของโรคนี้ แต่ราว 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เชื่อว่าตนสุขภาพดีไม่ทราบถึงอาการบ่งชี้ของโรคท้องผูกด้วยซ้ำ อีกทั้งแพทย์และภาคประชาสังคมก็ไม่ได้มีท่าทีที่จะออกมาเตือนสัญญาณของโรคท้องผูกอย่างถูกต้อง
รายงานชี้ว่าสามารถให้จัดกลุ่ม 6 อาการ ที่เป็นสัญญาณบอกโรคท้องผูกได้ใหม่ดังนี้
ควรถ่ายบ่อยแค่ไหน
จำนวนครั้งการถ่ายอุจจาระต่อวันเป็นเรื่องยากที่จะตอบได้ เนื่องจากร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน สิ่งที่งานวิจัยแนะนำคือการหมั่นดูแลการขับถ่ายของตนเองว่าถ่ายเป็นปกติกี่ครั้งต่อวันหรืออาทิตย์ โดยยังสามารถถ่ายได้ปกติไม่ต้องออกแรงเบ่งมากเกินไปหรือมีอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ
นักวิจัยแนะนำว่า หากพบอาการผิดปกในขั้นต้นให้เพิ่มปริมาณผักที่รับประทานเพื่อเพิ่มเส้นใยที่จะไปช่วยในการขับถ่าย โดยการออกกำลังกายและกินอาหารเป็นเวลาก็ช่วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากทำทุกอย่างแล้วยังไม่สามารถขับถ่ายแบบปกติได้ ก็ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อ้างอิง; BBC