นิรโทษกรรมฉบับก้าวไกล
ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ฉบับก้าวไกล มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากการเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. ....’ เสนอโดย ชัยธวัช ตุลาธน และคณะพรรคก้าวไกล
ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ให้เหตุผลของการนิรโทษโดยสรุปว่า ความขัดแย้งทางการเมือง เป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วง รวทั้งการแสดงความเห็นอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรง นับตั้งแต่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อ 11 ก.พ. 2549 การยึดอำนาจโดย คปค. วันที่ 19 ก.พ. 2549 และการยึดอำนาจโดย คสช. เมื่อ 22 พ.ค. 2557 จนถึงปัจจุบัน นำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีประชาชนจำนวนมาก
ทั้งนี้ การกระทำต่างๆ ของประชนนั้น ทำไปเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมือง อันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน จึงสมควรได้รับการนิรโทษกรรม เพื่อขจัดความขัดแย้งที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน และจะเป็นต้องตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด การกระทำความผิดเพื่อนิรโทษกรรม เพื่อให้วินิจฉัยการกระทำความผิด อันผู้กระทำความผิดได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
กรอบเวลาของการนิรโทษกรรม คือตั้งแต่ 11 ก.พ. 2549 จนถึงวันนี้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด จะเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาว่า การรกระทำใดเข้าข่ายความผิดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม
ในมาตรา 4 ของ ร่างพระราชบัญญัติ ยังระบุถึง ‘กระทำ’ ที่ไม่เข้าข่ายการได้รับนิรโทษกรรม 3 ข้อโดยสรุป คือ
สำหรับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด จะมี 9 คน ประกอบด้วย ประธานสภาฯ, ผู้นำฝ่ายค้าน, คัดเลือกโดย ครม. 1 คน, สส. 2 คนที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมสภา, ผู้พิพากษาหรืออดีตผู้พากษา 1 คน, ตุลาการหรืออดีตตุลาการในศาลปกครอง 1 คน, พนักงานอัยการหรืออดีตพนักงานอัยการ 1 คน และเสขาธิการสภาฯ 1 คน
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด จะมีอำนาจหน้าที่โดยสรุปดังนี้
ร่างนี้มีชื่อเต็มว่า ‘ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. ...’ ยื่นโดย อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี และโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พร้อมด้วย 14 สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา
หลักการและเหตุผลของร่างฉบับนี้ สรุปได้ว่า ตลอดระยะเวลาเกือ 20 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดการแตกแยกของความคิดทางการเมืองรุนแรง แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย มีการผลัดกันชุมนุมทางการเมืองต่อเนื่องตลอด ทำให้รัฐบาลได้ยกระดับการประกาศและบังคับใช้กฎหมายควบคุมการชุมนุมทางการมืองอย่างเข้มงวด ส่งผลให้การชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกของประชาชนกลายเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย ทั้งๆ ที่กระทำไปเพราะมีเจตนาที่ดีต่อบ้านเมือง
การบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความยืดหยุ่น จนนำไปสู่การเผชิญหน้าของประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนเกิดกระทบกระทั่งทางอารมณ์ต่อกัน และเจ้าหน้าที่ของรัฐเลือกใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้ประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากเกิดการบาดเจ็บล้มตาย และถูกจับกุมและดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งจากความผิดที่มีเจตนาที่แท้จริงเพียงต้องการแสดงความเห็นต่างทางการเมือง
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีข้อยกเว้น ‘ไม่นิรโทษกรรม’ ดังนี้
1. ผู้ที่ละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112
2. ผู้ที่ทำการทุจริตคอร์รัปชัน
3. ผู้ที่กระทำความผิดอาญาอย่างร้ายแรง เช่น ฆ่าผู้อื่น หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้สูญเสียแก่ชีวิต
เดิมที ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข’ เคยถูกเสนอโดย นพ.ระวี มาศฉมาดล จากพรรคพลังธรรม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์2566 และได้เปิดรัยฟังความคิดเห็นไปแล้ว แต่เนื่องจากสภาฯ พิจารณาไม่ทัน ร่างนี้จึงถูกตีตกไป ทำให้พรรครวมไทยสร้างชาตินำมาปัดฝุ่นแก้ไขบางส่วน และทำการยื่นอีกครั้ง
ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ บัญญัติให้มีการตั้งตั้งให้คณะกรรมการสร้างเสริมสังคมสันติสุข จำนวน 9 คน โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง ประกอบด้วย
โดยคณะกรรมชุดนี้ จะมีอำนาจหน้าที่คือ
‘พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. ....’ เสนอโดยเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ซึ่งปัจจุบ้นยังอยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงก่อนยื่นร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่สภาและจะเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมลงชื่อในวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์นี้
โดยมาตรา 5 ของ ร่าง พ.ร.บ. นี้ เขียนไว้โดยสรุปว่า เริ่มนับเวลานิรโทษกรรมตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยไม่ได้แยกฝ่ายที่จะได้รับนิรโทษกรรม กล่าวคือ ทุกการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมืองเข้าข่ายการได้รับนิรโทษกรรมทั้งสิ้น รวมถึงคดีในมาตรา 112 อีกทั้งร่างยังระบุไว้ชัดเจนว่ามีคดีประเภทใดบ้างที่ได้รับการนิรโทษกรรมโดยทันที ได้แก่
ส่วนมาตรา 4 ของร่าง พ.ร.บ. นี้ ได้บัญญัติกรณีที่จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม คือกรณีเจ้าหน้าที่รัฐที่สลายการชุมนุมหรือกระทำการใดที่เกินกว่าเหตุ หรือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 กล่าวคือ ความผิดฐานเป็นกบฏ ซึ่งได้แก่ความผิดฐานล้มล้างรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง
ร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมประชาชนยังระบุให้ตั้ง ‘คณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน’ทั้งหมด 19 คน ประกอบไปด้วย
สำหรับอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการ ได้แก่