ไม่พบผลการค้นหา
ผู้จัดงาน ‘กรุงเทพ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ตั้งโต๊ะเสียดายเขตปทุมวันฯ ไม่ให้จัดงานหน้าหอศิลป์ ตั้งคำถามสิทธิมนุษยชนจะมีที่ทางในกรุงเทพฯ หรือไม่

วันที่ 3 พ.ค. 2565 บรรยากาศงาน ‘กรุงเทพ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เวทีเปิดแนวคิดผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน จัดโดย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สโมสรนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตรีคอเดอร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิอิสรชน กลุ่มเส้นด้าย และ Mob Data Thailand สำนักข่าว The Reporters ข่าว 3 มิติ และ AIS PLAY เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความวิสัยทัศน์ และนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 24 คน 

โดย ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters กล่าวว่า เดิมเวทีนี้จะจัดขึ้นที่ลานหน้าหอศิลป์ กทม. แต่ผู้จัดงานประสบปัญหาเรื่องการขออนุญาตใช้สถานที่ จึงต้องเปลี่ยนมาจัดในสถานที่ปิด โดยยืนยันว่าได้ขออนุญาตตามขั้นตอนที่กำหนดไว้แล้ว ทั้งการขอเช่าพื้นที่บริเวณลานหน้าหอศิลป์ การขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงจาก สน.ปทุมวัน และเมื่อได้รับใบอนุญาตจากตำรวจมาแล้ว ก็นำไปยื่นกับสำนักงานเขตปทุมวัน ประกอบกับมาตรการโควิด-19 

อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเขตปทุมวันต้องการมาตรการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นห่วงว่าจะมีประชาชนมองดูลงมาจากบนสกายวอล์กของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจึงขอให้ทำแนวกั้นความสูง 2 เมตรพร้อมเอาผ้ามาคลุม

"มาตรการนี้เป็นสิ่งที่ทางเขตต้องการ แต่ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เราได้รับแจ้งเป็นช่วงเวลาที่การจัดงานใกล้จะเริ่มขึ้นแล้ว ที่ผ่านมาบริเวณหอศิลป์ฯ เป็นพื้นที่เปิด การจัดทำกิจกรรมที่ลานหน้าหอศิลป์ก่อนหน้านั้น ไม่เคยมีการทำคอกกั้นหรือทำผ้าคลุมเป็นเวทีปิด เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติได้ ทางเขตจึงมีหนังสือแจ้งไปยังหอศิลป์ฯ ว่าไม่อยากให้เราจัดงาน เมื่อวานนี้เวลา 18:00 น. เป็นเหตุให้เราไม่สามารถหาพื้นที่เปิดเหมือนหอศิลป์ฯ ได้ทัน"

ขณะที่ ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี อินเทอร์เนชันแนล ประเทศไทย ระบุว่า มีความตั้งใจร่วมจัดงานนี้เพราะต้องการเห็นวิสัยทัศน์ของผู้สมัครผ่านเลนส์ของสิทธิมนุษยชน เพราะมีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ตั้งแต่ เกิด อยู่ จนกระทั่งเสียชีวิต ต้องการเห็นปรากฎการณ์ที่กรุงเทพไม่มีความเหลื่อมล้ำในภาวะวิกฤติ อยากเห็นทุกที่มีสิทธิในการจัดเวทีสาธารณะได้อย่างเสรี 

"มาตรการนี้เป็นสิ่งที่ทางเขตต้องการ แต่ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เราได้รับแจ้งเป็นช่วงเวลาที่การจัดงานใกล้จะเริ่มขึ้นแล้ว ที่ผ่านมาบริเวณหอศิลป์ฯ เป็นพื้นที่เปิด การจัดทำกิจกรรมที่ลานหน้าหอศิลป์ก่อนหน้านั้น ไม่เคยมีการทำคอกกั้นหรือทำผ้าคลุมเป็นเวทีปิด เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถปฏิบัติได้ ทางเขตจึงมีหนังสือแจ้งไปยังหอศิลป์ฯ ว่าไม่อยากให้เราจัดงาน เมื่อวานนี้เวลา 18:00 น. เป็นเหตุให้เราไม่สามารถหาพื้นที่เปิดเหมือนหอศิลป์ฯ ได้ทัน"

ปิยนุช กล่าวว่า แอมเนสตี้มีความตั้งใจร่วมจัดงานกับทุกท่านในที่นี้ เพราะเราอยากเห็นวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทุกท่านผ่านเลนส์ของสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทุกคนตั้งแต่เกิดความเป็นอยู่จนกระทั่งเสียชีวิต โดยเฉพาะกรุงเทพฯ แบบไม่ใช่ทั้งประเทศแต่ก็เป็นเมืองใหญ่ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการที่ดี หากมองผ่านเลนส์ของสิทธิมนุษยชนแล้วเราอาจจะสามารถขจัดความเหลื่อมล้ำลงได้

"เรารู้สึกทั้งตกใจ และอาจจะต้องตั้งคำถามด้วยว่า ในเขตเดียวกัน แต่ยังมีพื้นที่ที่จัดเวทีสาธารณะได้เหมือนกันตรงหน้าลานห้างสรรพสินค้า อยากจะถามว่าในบ้านเมืองนี้ไม่มีพื้นที่ให้กับสิทธิมนุษยชนหรือ และเราจะช่วยกันสร้างความหวังและสนับสนุนให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้อย่างไร"

ด้าน อัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชน กล่าวว่า เรื่องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่สาธารณะอย่างถูกมองข้ามไม่ได้รับการพูดถึง จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นผู้สมัคร พูดถึงประเด็นเหล่านี้ จึงอยากมีโอกาสเห็นวิสัยทัศน์ของผู้สมัครในครั้งนี้

บดินทร์ สายแสง นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า ผลการเลือกตั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเสรีและเป็นธรรม โดยจะขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ มิได้ ทั้งภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายมากที่เราไม่สามารถจัดงานในพื้นที่ที่เป็นสาธารณะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมงานและรับฟังวิสัยทัศน์ในประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิมนุษยชน

"วันนี้เป็นวันที่ 3 พ.ค. ตรงกับวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ขบวนการที่ปิดกั้นสั่งห้ามให้สื่อมวลชนไม่สามารถนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง หวังว่าเวทีที่อาจจะเกิดขึ้นต่อๆไปคงจะไม่เกิดปัญหาอย่างที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่"

ภูวกร ศรีเนียน รองประธานกรรมการมูลนิธิเส้นด้าย กล่าวว่า พอได้ทราบเรื่องการเปลี่ยนแปลงสถานที่รู้สึกเสียดายและตกใจมาก งานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนควรได้จัดที่ใจกลางเมือง การจัดงานนี้ไม่ได้ใช้เส้นสายอะไรด้วย สิทธิมนุษยชนที่หลายองคึ์กรมาถามกับส่าที่ผผูัว่า ต้องการสอบถามความเหลื่อมล้ำเรื่องสิทธิในระบบสาธารณสุข ต้องการนำปัญาต่างๆมาบอกกับผู้ว่า และสังคม หากได้อยู่ที่เดิมจะดีกว่านี้มาก

และ กฤตภาส เชษฐเจริญรัตน์ อุปนายกฝ่ายกิจการภายใน สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เสียใจและเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อนนิสิตนักศึกษาหลายคนที่ตั้งใจร่วมงานในวันนี้ต้องชมผ่านออนไลน์แทน ไม่มีโอกาสถามถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ ของเรา ทั้งปัญหาไล่รื้อพื้นที่ในชุมชนสามย่านและสะพานเหลือง ปัญหาคนไร้บ้าน เราอยากนำปัญหานี้มาถามผู้สมัครทุกคน 

“เวทีนี้เดิมที่เราจะได้จัดในพื้นที่สาธารณะกลับถูกปิดกั้นในพื้นที่ที่ถ่ายทอดออนไลน์แทน มันสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะเรากำลังลดหายลงไป พื้นที่ที่เราจะเชิญชวนเพื่อนเดินผ่านไปมามาฟังผู้สมัครว่ามีความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร พื้นที่สาธารณะที่เราจะจัดในด้านอื่นจะมีโอกาสอีกไหมในอนาคต น่ากังวลมากที่เราจะสูญเสียพื้นที่สาธารณะไป” กฤตภาส กล่าว

อุปนายกฝ่ายกิจการภายในสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ในฐานะนิสิตรู้สึกเสียดายและเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อนๆนิสิตนักศึกษาหลายคนที่ตั้งใจไปร่วมงานในวันนี้ต้องเป็นอันยกเลิกไป จากเดิมที่จะได้จัดในพื้นที่สาธารณะเพื่อความมีส่วนร่วมกับประชาคมมากขึ้น ตกลงเป็นพิธีปิด สะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่สาธารณะของเรากำลังลดหายลงไปหรือไม่

"นิสิตหลายคนรอบจุฬาฯ ก็ได้พบปัญหามากมาย เช่น ปัญหาการไล่พื้นที่ในชุมชนสามย่าน สะพานเหลือง รวมถึงปัญหาคนไร้บ้านที่เห็นอย่างแพร่หลายในจุฬาฯ ก็อยากจะนำปัญหานี้มาถามผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ทุกคนด้วยเหมือนกัน ทั้งนี้ยังอยากฝากไปยังผู้สมัครฯ ว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจริงๆ หรือเปล่า และในอนาคตกรุงเทพฯ จะทิ้งคนไว้มากขึ้น หรือน้อยลง"