ไม่พบผลการค้นหา
ส่องโทษทัณฑ์ความผิดผู้เรียกร้อง-ผู้ก่อการรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครอง ยึดอำนาจรัฐบาลด้วยปลายกระบอกปืน

ท่ามกลางสภาวการณ์ร้อนแรงของการเมืองที่แบ่งผู้คนออกตามเฉดสี เพื่อสะท้อนข้อเรียกร้องบนท้องถนน ว่าสิ่งใดควรไม่ควรปรับแก้หรือปฏิรูปให้อยู่ภายใต้สังคมเดียวกัน ด้วยครรลองของคำว่า 'ประชาธิปไตย'

ทว่านับตั้งแต่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. กลับมีผู้ถูกดำเนินคดีและจองจำแกนนำพร้อมมวลชนไปเป็นจำนวนมาก ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นหรือแม้กระทั่งประทุษร้ายต่อเสรีภาพพระราชินี

สร้างความกังขาต่อผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ออกมาบอกว่าให้ทุกฝ่าย 'ถอยคนละก้าว' เพื่อความปรองดอง แต่กลับไร้ความประนีประนอม

ชุมนุมราษฎร
  • ชุมนุมราษฎร์ส่งสาส์นถึงกษัตริย์
เรียกร้องรัฐประหารเท่ากับล้มล้าง

ทว่าตลกร้ายกลับมาตอกย้ำสังคมไทย เมื่อมีกระแสเรียกร้องรัฐประหารอีกครั้ง ผ่านชุดความเชื่อว่าวิกฤตการเมืองต้องถูกสะสางด้วยกองทัพ ไม่ใช่ 'รัฐสภา' อย่างที่ควรจะเป็น จนลืมไปว่าตามกฎหมายแล้ว

อาจเข้าข่ายความผิดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้" 

ขณะที่ท่าทีล่าสุดของกองทัพบกภายใต้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยังคงเน้นย้ำเสมอว่าโอกาสที่จะเกิดรัฐประหารในยุคของเขายังคง "ติดลบ"

อย่างไรก็ตามจากบทเรียนที่ผ่านมาของการยึดอำนาจ ผู้นำเหล่าทัพต่างปฏิเสธเช่นนี้มาโดยตลอด ก่อนที่พวกเขาจะกระทำการฉีกรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา ด้วยเหตุผลห้ามศึกสีเสื้อหรือปราบคอร์รัปชัน 


กบฎนิรโทษกรรม

13 ครั้งการยึดอำนาจซ้ำแล้วซ้ำเล่า ได้พิสูจน์ให้ประชาชนเห็นแล้วว่าได้อะไรกลับมาบ้าง ขณะที่คณะผู้ก่อการก็ยังหลุดพ้นลอยนวล แม้ว่าจะมีตรากฎหมายฐานความผิด กบฎ ตามมาตรา 113 ที่มีโทษสูงสุดคือประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต 

แต่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยคือการสะสางเอาผิดผู้ก่อการได้ เพราะหากยึดอำนาจสำเร็จคำว่า 'กบฎ' ก็ไม่เกิดขึ้น ด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมการกระทำที่ผ่านมา

ประยุทธ์ 64738000000.jpg
  • นายกรัฐมนตรี

เช่นกรณีเมื่อปี 2561 ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เป็นโจทย์ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น และพวก เนื่องจากศาลพิเคราะห์ว่าการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 เป็นการกระทำความผิด แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวกมีรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี 2557 คุ้มครอง

จึงไม่เข่าข่ายในความผิดประมวล กฎหมายอาญามาตรา 113 ที่ระบุว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรือ อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้

หรือแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน เป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

นั่นคืออีกเหตุผลที่กลุ่ม 'ราษฎร 2563' ออกมาเรียกร้องข้อเรียกร้อง 3 ประการ เพื่อตัดวงจรทำลายประชาธิปไตย ผ่านร่างกฎหมายฉบับประชาชน และห้ามมิให้กษัตริย์เซ็นรับรองการทำรัฐประหารเพื่อการคงอยู่อย่างสง่างาม


พ้นมลทิน
ม็อบ คณะราษฎร อนุุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประยุทธ์ โดนัลด์ ทรัมป์ 13837219777846_4494591177303142892_n.jpg
  • ข้อเรียกร้องราษฎร

จากกรณีดังกล่าว ในชั้นศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่ามาตรา 47, 48 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 บัญญัติเพื่อนิรโทษกรรม คสช. เป็นการออกกฎหมายรับรองการกระทำความผิด มีสภาพเป็นกฎเกณฑ์ที่ขัดต่อเสียงแห่งมโนธรรมและหลักการพื้นฐานแห่งความยุติธรรมของมนุษยชาติอย่างชัดแจ้งนั้น ศาลเห็นว่า สภาพของรัฐใดรัฐหนึ่งประกอบด้วยดินแดนที่แน่นอน ประชาชน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย กฎหมายต้องใช้บังคับได้ 

แม้จะอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ชอบ แต่ต้องตีความกฎหมายให้เกิดผลบังคับใช้ได้ ให้คงอยู่เป็นรัฐ มิฉะนั้นบ้านเมืองเสียหาย การยึดอำนาจในขณะนั้น คสช.ใช้อำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้ว่าการได้มาซึ่งอำนาจจะไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ก็เป็นกรณีว่ากล่าวกันในด้านอื่น คสช.มีอำนาจในเชิงข้อเท็จจริง ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจึงมีสภาพเป็นกฎหมาย ตามที่มาตรา 48 ได้บัญญัติไว้ และต่อมารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 279 ก็ได้รับรอง การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงพ้นผิดโดยสิ้นเชิง

ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการยกฟ้องโดยไม่มีการไต่สวนมูลฟ้องเพื่อวินิจฉัยมูลคดีก่อนประทับฟ้อง เป็นการข้ามขั้นตอนนั้น ศาลเห็นว่า การยกฟ้องไม่จำเป็นต้องไต่สวนเพื่อรับไว้พิจารณาเสมอไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อเห็นว่าจำเลยพ้นความรับผิด ศาลยกฟ้องได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น


ศาลฎีกาเห็นชอบแล้วพิพากษายืนยกฟ้อง..


อ่านเพิ่มเติม