วันที่ 4 ก.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยผลสำรวจ เรื่อง “ทำอย่างไรคนไทยจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้” มีผลการสำรวจ ดังนี้
1.ประชาชนคิดว่าสถานการณ์โควิด-19 กับคนไทย ณ วันนี้ เป็นอย่างไร
อันดับ 1 ทำลายเศรษฐกิจ คนตกงาน อยู่อย่างลำบาก 91.95%
อันดับ 2 เผชิญกับโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 85.86%
อันดับ 3 ทำให้ทุกข์ใจ เครียด จิตตก กลัวไม่ได้รักษา บางคนคิดสั้น 81.78%
อันดับ 4 ต้องพึ่งตนเอง การ์ดไม่ตก ดูแลสุขภาพให้มากขึ้น 78.28%
อันดับ 5 เข้าขั้นวิกฤติรัฐบาลอาจคุมไม่ได้ 74.31%
2. ตั้งแต่มีโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน ประชาชนคิดว่ารัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับโควิด-19 ถูกทางแล้วหรือยัง
ยังไม่ถูกทาง 66.05% ไม่แน่ใจ 20.36% ถูกทางแล้ว 13.59%
3.ประชาชนคิดว่าประเทศไทยควรเดินหน้าอย่างไร จึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้
อันดับ 1 เร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม 87.25%
อันดับ 2 หาทีมสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ไทย สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือ 80.16%
อันดับ 3 ต้องหยุดการกระจายของโรคให้ได้คุมจุดเสี่ยงต่าง ๆ 79.53%
อันดับ 4 รายงานสถานการณ์และข้อมูลที่เป็นจริงกับประชาชน 78.09%
อันดับ 5 หยุดเล่นเกมการเมือง มีความจริงใจในการแก้ปัญหา 75.20%
4. ประชาชนอยากให้หน่วยงาน/ใคร เป็นผู้นำในการบริหารจัดการโควิด-19
อันดับ 1 กรมควบคุมโรค 67.04%
อันดับ 2 กระทรวงสาธารณสุข 65.16%
อันดับ 3 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) 49.88%
อันดับ 4 ประชาชนคนไทยทุกคน 41.13%
อันดับ 5 นายกรัฐมนตรี 32.31%
5. ประชาชนอยากเห็นนักการเมืองไทยในยุคโควิด-19 ปฏิบัติตัวอย่างไร
อันดับ 1 ทุ่มเททำงาน คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก 86.84%
อันดับ 2 สละเงินเดือน ช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง 82.39%
อันดับ 3 ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมมือกัน ทำงานเชิงรุก 81.64%
อันดับ 4 ไม่เล่นเกมการเมือง หยุดทะเลาะเบาะแว้ง โจมตีกันไปมา 75.35%
อันดับ 5 ตรวจสอบการบริหารจัดการโควิด-19 เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนรับรู้ 65.59%
พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ทำอย่างไร คนไทยจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,744 คน สำรวจวันที่ 28 มิ.ย. – 1 ก.ค. 2564 พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าโควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจ คนตกงาน อยู่อย่างลำบาก ร้อยละ 91.95 การแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่ถูกทาง ร้อยละ 66.05 ควรเร่ง จัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ร้อยละ 87.25 อยากให้กรมควบคุมโรคเข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ ร้อยละ 67.04 อยากเห็นนักการเมืองทุ่มเททำงาน คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ร้อยละ 86.84
พรพรรณ กล่าวว่า ในวันที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงสุด (New high) ภาพประชาชนคนธรรมดาเฝ้ารอเตียงมากขึ้น และจำนวนคนตัดสินใจจบชีวิตมีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะโควิด-19 แบบ Single Command ไม่ได้ผลที่ดีเท่าใดนัก แม้จะบริหารงานแบบเน้นความยืดหยุ่น แต่ประชาชนกลับรู้สึกว่านั่นเป็นการบริหารแบบไม่วางแผนเสียมากกว่า ณ วันนี้จึงควรหยุดเล่นเกมการเมือง ให้อำนาจเต็มกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเข้าวัคซีนที่มีคุณภาพ ใช้มาตรการเยียวยาถ้วนหน้า ดูแลทั้งภาคธุรกิจและประชาชนอย่างทั่วถึงเพื่อให้การบริหารครั้งนี้ไปถูกทางโดยเร็ว