ไม่พบผลการค้นหา
วิกฤตโควิด-19 ช่วยกระตุ้นกระแสกักตุนข้าวในต่างประเทศ ส่งราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้น และแนวโน้มส่งออกดีขึ้น

ข้อมูลสถานการณ์การส่งออกข้าวของไทยจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประจำเดือน มี.ค.2563 สะท้อนตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นของราคาในรายการการส่งออก แม้เมื่อเทียบจำนวนและมูลค่าการส่งออกจะอยู่ในแดนติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชนิดพิเศษ​ (61/61) (THRM Premium - 18/19) ในวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40,200 บาท) ต่อตัน จากราคา 1,214 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 39,800 บาท) ต่อตัน ในวันที่ 11 มี.ค.นอกจากนี้ ทั้งราคาข้าวหอมมะลิไทย ชนิดพิเศษ (62/63), ข้าวหอมไทย, ข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2, ข้าวสาร 5 เปอร์เซ็นต์, ข้าวสาร 25 เปอร์เซ็นต์, ปลายข้าว เอ วัน เลิศ, ข้าวเหนียวขาว 10 เปอร์เซ็นต์ และข้าวยึ่ง 100 เปอร์เซ็นต์ ชนิดพิเศษ​ ล้วนปรับราคาสูงขึ้นทั้งหมด

ราคาข้าว

สมาคมฯ ชี้ว่า ภาวะข้าวของไทยยังทรงตัวอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 130 - 210 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,200 - 6,800 บาท) เนื่องจากอุปทานข้าวไทยเริ่มมีลดลงจาะภาวะภัยแล้ง ประกอบกับความต้องข้าวที่มากขึ้นของตลาดต่างประเทศ 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของกรมศุลกากรชี้ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ลดลงถึงร้อยละ 42.2 ในปริมาณ 947,304 ตัน ขณะที่มูลค่าการส่งออกก็ลดลงเช่นเดียวกันในสัดส่วนร้อนละ 35.0 หรือคิดเป็นมูลค่า 17,534.9 ล้านบาท 

เมื่อเทียบการส่งออกกับประเทศผู้ส่งออกข้าวรายสำคัญของโลก ไทยถือว่ามีการส่งออกติดลบมากที่สุดคือร้อยละ 42.3 ขณะที่อินเดียและปากีสถานติดลบร้อยละ 11.3 และ 4.5 ตามลำดับ แต่ตัวเลขการส่งออกข้าวยังคงเติบโตในเวียดนามที่สัดส่วนร้อยละ 7.3

ส่งออกข้าวไทย

ทั้งนี้ สมาคมฯ ชี้ว่า ตัวเลขการส่งออกข้าวในเดือน มี.ค.อาจได้อานิสงค์การจากเร่งตุนสินค้าของประเทศผู้นำเข้าที่ต้องเผชิญหน้ากับมาตรการปิดประเทศต่างๆ และอาจทำให้ปริมาณส่งออกข้าวไทยอยู่ที่มากกว่า 600,000 ตัน