ไม่พบผลการค้นหา
หน่วยงานด้านสิิ่งแวดล้อมของออสเตรเลียออกมายืนยันว่าปลาแซลมอนในอ่าวแมคควารี รัฐแทสมาเนีย ตายกว่า 1.35 ล้านตัวหลังจากเชื้อไวรัสระบาดในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนที่ผ่านมา ขณะที่ทางหน่วยงานเตรียมออกมาตรการจำกัดจำนวนประชากรปลาเพื่อควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของออสเตรเลีย (EPA) ยืนยันว่า ปลาแซลมอนในฟาร์มของออสเตรเลียในอ่าวแมคควารีตายกว่า 1.35 ล้านตัว ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากไวรัสระบาดในฟาร์มปลาดังกล่าว โดยเชื้อไวรัสที่ระบาดคือไวรัส ออร์โธไทโซไวรัส (POMV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ในสัตว์ป่า โดยจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจของสัตว์เชื้อทั้งนี้ ไวรัส POMV จะระบาดในพื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อย

เวส ฟอร์ด ผู้อำนวยการของ EPA เคยกล่าวว่ากับสำนักข่าว ABC เมื่อปี 2017 ว่า การเลี้ยงปลาที่อายุอ่อนและปลาที่อายุมากด้วยกันจะก่อให้เกิดโรคระบาดได้อย่างรวดเร็วในหมู่ปลา

สำหรับการแพร่ระบาดที่เกิดขึน ผู้อำนวยการ EPA กล่าวว่า ทาง EPA จะลดจำนวนสิ่งมีชีวิตในอ่าวแมคควารีให้ลดลงไม่เกิน 21 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายความว่า ทางบริษัทผู้เลี้ยงปลาแซลมอนจะถูกจำกัดพื้นที่และปริมาณปลาที่จะเลี้ยงให้เหลือเพียง 9,500 ตัน จาก 12,000 ตัน ภายในระยะเวลา 2 ปี 

ปัจจุบันบริษัทประมงที่อยู่ในอ่าวแมคควารี มี 3 แห่ง ได้แก่บรัษัทพีทูน่า มีปลาเลี้ยงทั้งหมด 4,267.9 ตัน บริษัทฮูออน มีปลา 2,359.5 ตัน และบริษัทเทสซัล 2,872.6 ตัน

ทางบริษัทผู้เลี้ยงปลาทัสซัลและพีทูน่า ออกมาแถลงถึงการตายของปลาแซลมอนที่เลี้ยงไว้ว่า จำนวนปลาที่ตายนั้นไม่กระทบต่อการดำเนินงานของทางบริษัทใดๆ

"ทัสซัลและพีทูน่า ได้ทำการปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอนนี้อย่างน้อยที่สุดทั้ง 2 บริษัทที่ร่วมลงทุนในการทำฟาร์มปลาด้วยกัน และมีมาตรการในการแยกประเภทของปลาและอายุของปลาออกจากกัน"

ทั้งนี้ทางพีทูน่าระบุว่า ทางบริษัทได้คัดแยกปลาที่ติดเชื้อไวรัสตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแล้ว

โรสซาลี วูดรัฟฟ์ โฆษกสำนักงานปกป้องสิ่งเเวดล้อมของออสเตรเลียกล่าวว่า สาเหตุที่ปลาแซลมอนตายนั้น เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ได้มาตรฐานของบริษัทฟาร์มแซลมอน และปลาที่เยอะเกินขนาดของฟาร์ม

ลอร่า เคลลี่ โฆษกสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมในแทสมาเนีย กล่าวว่า ทางบริษัทต้องย้ายปลาทั้งหมดออกจากฟาร์มในอ่าวทั้งหมด เพื่อให้สิ่งแวดล้อมสามารถฟื้นฟูตนเอง และมันยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะโอกาสในการรอดชีวิตของปลากะเบน แม้ว่าจะมีการจำกัดจำนวนปลาให้เหลือเพียง 9,500 ตัน แต่สิ่งแวดล้อมในอ่าวแมคควารียังคงต้องการการฟื้นฟู ดังนั้นในอ่าวไม่ควรมีการเลี้ยงปลา

ที่มา xinhua / examiner