ไม่พบผลการค้นหา
ไทยเตรียมเสนอก่อตั้งกองทุนสำหรับภูมิอินโดนจีนร่วมกับกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามเพื่อช่วยเหลือและลดการพึ่งพาการลงทุนจากจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นิคเคอิ เอเชียนรีวิวรายงานเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาว่า พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เตรียมแผนที่จะเสนอแนวคิดการจัดตั้งกองทุนสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิกอินโดจีนในการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายนนี้

นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศของไทย กล่าวกับนิคเคอิว่า กองทุนดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่เป็นได้ได้ และคาดว่าอาจะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2562 โดยประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะสนับสุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งคาดการณ์ว่าในเบื้องต้นอาจมีมูลค่าของกองทุนสูงถึงหลักล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

สำหรับเงินทุนที่จะมาสนับสนุนกองทุนนี้ นายอรรถยุทธ์ กล่าวว่า มีการสนับสนุนจากสถาบันการเงินทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้จะมีการะดมทุนผ่านตลาดหุ้นและพันธบัตรตราสารหนี้สำหรับโครงการต่างๆ

ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวจะอยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขงฉบับปี 2562 - 2566 ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของการเชื่อมต่อและพัฒนาทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศสมาชิก ได้แก่ไทย ลาว เมียนมา กัมพูชาและเวียดนาม โดยเฉาะระเบียงเศรษฐกิจจากตะวันออกถึงตะวันตก ระเบียงเศรษฐกิจเหนือใต้ การค้าและการคมนาคมขนส่ง รวมไปถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังคาดหวังให้เกิดการทำงานร่วมกันของ 5 ประเทศสมาชิกภายใต้การพัฒนารูปแบบข้อมูลเทคโนโลยี

ศาสตราจารย์ ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า กองทุนภูมิภาคดังกล่าวนี้จะเป็นทางออกที่ดีสำหรับประเทศสมาชิกในการลดการขยายอิทธิพลของจีนในอาเซียน

"การลดการพึ่งพาจีน ถือเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับอาเซียน เมียนมา ลาว และกัมพูชามีการลงทุนและการค้าที่เกี่ยวข้องกับจีนเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้การเข้ามาของจันก้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้"

ทั้งนี้ดร.ประภัสสร์ ยังชี้ให้เห็นว่า 'ชาติสมาชิกอาเซียที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงอย่างสิงคโปร์ อาจเป็นประเทศที่มีกำลังสนับสนุนการพัฒนาในอาเซียนได้แม้แต่มาเลเซียและไทยเองก็เช่นกัน'

ปัจจุบันจีนเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในประเทศสมาชิกACMECS ภายใต้แผนยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่จีนเข้ามาลงทุนใการเชื่อมต่อการคมนาคมทั้งในลาว ไทยและกัมพูชา เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากจีนลงสู่สิงคโปร์ 

นอกจากนี้จีนยังทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลในการลงทุนทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ ACMECS ทั้งนี้สื่อและนักวิเคราะห์หลายคนเตือนประเทศในกลุ่ม ACMECS ว่า การกู้ยืมเงินจากจีนในการลงทุนอาจนำไปสู่กับดับทางเงินของประเทศกับจีนได้ 

ที่มา Asiancorrespondent

ข่าวที่เกี่ยวข้อง