ไม่พบผลการค้นหา
กรมศิลปากรที่ 9 รุดตรวจสอบกลองสำริดโบราณ คาดมีอายุกว่า 1,500- 2,000 ปี ที่อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี นำเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง พร้อมเครื่องมือ ลงพื้นที่ตรวจสอบ "กลองสำริดโบราณ" ในพื้นที่ทุ่งนาของชาวบ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่และชาวบ้านใกล้เคียงที่รู้ข่าว ต่างพากันนำเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ธูปเทียน ตามความเชื่อ เพื่อเป็นการรับโชคลาภ ทะยอยเดินทางมาไม่ขาดสาย

p 9.jpg


โดยนายทศพร เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าเป็นกลองสำริด ที่สร้างขึ้นจากทองเหลือง ใช้แร่ดีบุกผสมกับทองแดง และจากหลักฐานข้อมูลที่เคยค้นพบ ยืนยันเป็นกลองสำริดโบราณ จำแนกอยู่ในกลุ่มที่ 3 อายุจะอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 ปีขึ้นไป หรือที่เรียก "กลองมโหระทึก" ซึ่งถือเป็นกลองที่สร้างขึ้นด้วยวิธีการหล่อในยุคโบราณ เพื่อนำมาประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ หรือเป็นกลองที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีขอฟ้าขอฝน รวมถึงพิธีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ โดยมีการเขียนลวดลายตามหลักความเชื่อโหราศาสตร์ ที่สำคัญจะมีรูปกบติดอยู่บริเวณหน้ากลอง ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลเชื่อว่า "รูปกบ" เป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ ถือเป็นความโชคดีของชาวบ้าน อำเภอคำชะอี ที่มีการขุดพบกลองสำริดโบราณ ในครั้งนี้

p 7.jpg


สำหรับขั้นตอนการดูแลรักษาทางสำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี จะดูแลรับผิดชอบตรวจสอบบันทึกทำประวัติ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ และนำมาดูแลเก็บรักษาที่สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี เพื่อให้ประชาชนได้มาศึกษาเยี่ยมชม และจะจารึกลงในพิพิธภัณฑ์ ว่าค้นพบในจังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้ลูกหลานได้สืบประวัติศาสตร์นี้ต่อไป