ไม่พบผลการค้นหา
'เศรษฐา' ร่วมเวทีสัมมนาเปิดตัว "คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" เผยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน​ -​ เป็นจุดขายดึงนักลงทุน​ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หลังเทรนด์โลกให้ความสำคัญ​

'เศรษฐา' ร่วมเวทีสัมมนาเปิดตัว "คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" เผยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน​ -​ เป็นจุดขายดึงนักลงทุน​ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หลังเทรนด์โลกให้ความสำคัญ​ 

วันที่ 27 ต.ค. เศรษฐา​ ทวี​สิน​ นายกรัฐมนตรีและ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การคลัง​ เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเปิดตัว “คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน และมาตรฐานผลกระทบ SDG” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม 1-2 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ถนนราชดำริ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

โดย เศรษฐา​ ระบุว่า​ ตนคิดว่าคู่มือดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน​ ได้อย่างทีประสิทธิภาพ​มาก​ยิ่งขึ้น​ โดยปี 2065 นโยบายคาร์บอนต้องเป็นศูนย์บูรณาการนโยบายระดับประเทศทุกระดับรวมถึงยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และแผนและยุทธศาสตร์ของทุกกระทรวงทบวงกรม ภายใต้กติกาใหม่ของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและโน้มการตลาดโลกที่ให้ความสำคัญกับการให้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนถือเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ที่กำลังจะกลายเป็นบรรทัดฐานของการทำธุรกิจและการลงทุน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวถูกมองเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวตามบรรทัดฐานใหม่ได้อย่างทันท่วงที และอาจทำให้ต้นสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป

อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันรัฐบาลมองสิ่งนี้ว่าเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยและภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการ ทั้งในภาคการผลิตการบริการและพลังงานการเกษตรป่าไม้และภาคการเงิน รวมไปถึงตลาดทุน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ให้กับภาคธุรกิจและประเทศไทยภายใต้บรรทัดฐานใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตและยั่งยืนและมีเสถียรภาพอย่างแท้จริง

เวลานี้จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างแข่งขันและสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงภาคประชาสังคม และส่วนอื่นๆในระบบเศรษฐกิจ ให้เกื้อหนุนกันอย่างรอบด้านที่โดยมีทิศทางที่สอดคล้อง ในบทบาทของภาครัฐกระทรวงการคลัง มีบทบาทสำคัญในการออกนโยบายด้านการเงินและการคลังกำกับการดูแล เพื่อมุ่งหน้าสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด

โดยในมิติเศรษฐกิจกระทรวงการคลังส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืนผ่านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเช่นการส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการทางการเงินผ่านสถาบันทางการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการให้บริการทางการเงินประเภทใหม่อย่างพิโกไฟแนนซ์ เนื่องโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการบริการทางการเงินของประชาชนในระดับฐานะ ในมิติสิ่งแวดล้อม รวมถึงความมุ่งมั่นความเป็นการทักคาร์บอนในปี​ 2065

กระทรวงการคลังได้มอบนโยบายทางภาษีต่างๆ ทั้งการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าในประเทศ โดยการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกษตรที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและกำหนดให้ทุกหน่วยงานของภาครัฐจัดซื้อจ้างรถไฟฟ้าหรือ EV มาใช้ในส่วนราชการแทนรถยนต์เดิมๆ ที่จะหมดอายุลง 

นอกจากนี้ เศรษฐา​ กล่าวว่า​ การพัฒนาตลาดอยากให้ไทยเป็น Supply chainทั้งหมดได้มีการปรับไปใช้ ต้องพัฒนาให้เราเป็นที่หนึ่งในอาเซียน ซึ่งเป็นนัยยะสำคัญเยอะมากจากการที่ตนได้เดินทางไปในหลายๆประเทศในโลกการที่บริษัทต่างๆที่จะมาลงทุนในประเทศไทย sdg index ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการเชื้อเชิญให้บริษัทระดับโลกมาลงทุนในประเทศไทย ที่เป็นต่อกว่าประเทศคู่แข่งเราไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซียหรือเวียดนาม ทุกท่านได้หน่วยงานตอนที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนสำคัญในการผลักดันยกระดับขีดความแข่งขันของประเทศไทยให้ดีขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนคนไทยให้ดีขึ้นในระยะยาว