ไม่พบผลการค้นหา
'จุรินทร์' เคาะโครงการประกันรายได้เกษตรกรปลูกข้าว ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 1 หมื่น ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ตัน ข้าวเหนียวตันละ 1.2 หมื่น ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ข้าวหอมมะลิตันละ 1.5 หมื่น ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตัน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ แถลงหลังการประชุม 3 ฝ่าย โดยกระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนผู้ประกอบการและตัวแทนเกษตรกรโดยสมาคมชาวนา และผู้เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ 

โดยมีความเห็นร่วมกันว่า เห็นชอบโครงการประกันรายได้ข้าว ในข้าว 5 ประเภทได้แก่ 1) ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 หมื่นบาท ความชื้น 15% โดยประกันรายได้ให้ไม่เกินละ 30 ตัน/ครัวเรือน หรือไม่เกิน 40 ไร่ 2) คือข้าวเหนียว ประกันที่ตันละ12, 000 บาท ไม่เกิน 16 ตัน หรือไม่เกิน 40 ไร่ 3)ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ที่ไม่เกิน 40 ไร่ หรือ 14 ตัน 4) ข้าวหอมนอกพื้นที่ ตันละ 14,000 บาท ไม่เกิน 40ไร่ หรือไม่เกิน 16 ตัน 5)ข้าวหอมปทุม ไม่เกิน 11,000 บาท ไม่เกิน 40 ไร่ หรือไม่เกิน 25 ตัน 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า จะเริ่มดำเนินการโดยเข้าที่ประชุม หารือ นบข.(คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ) ก่อนเพื่อกำหนดเวลาต่อไป งบประมาณการเบื้องต้นจะหารือในที่ประชุม นบข . โดยให้เกษตรกรชาวนา ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรหลัง

มีรายงานแจ้งว่า หลักเกณฑ์กลางในการอ้างอิงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์อ้างอิงโดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วันส่วนการใช้สิทธิ์และการจ่ายเงินนั้น์ เกษตรกรทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์โดยโครงการจ่ายตรงผ่านบัญชีการกำกับดูแลมีการตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลแก้ไขปัญหาและกรรมการนโยบายบริหารข้าวระดับจังหวัด

ทางด้านมาตรการคู่ขนานจะดำเนินการด้านการผลิตโดยลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเก็บเกี่ยว การส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่หรือนาแปลงใหญ่ การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และโครงการประกันภัยพืชผล เช่นโครงการประกันภัยข้าวนาปี

จุรินทร์ ข้าว กระทรวงพาณิชย์ 31.jpgจุรินทร์ ประกันรายได้.jpg

มาตรการประหยัดตลาด คือ การตลาดนำการผลิตการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจ GAP หรือข้าวที่ผ่านมาตรฐานการเพาะปลูก และการส่งเสริมการผลิตข้าวตลาดเฉพาะ ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การพัฒนาชาวนาให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมการผลิตข้าว 

ส่วนมาตรการด้านการตลาดนั้น งานเร่งด่วนคือการปรับสมดุลโดยการให้สินเชื่อชะลอการขาย การใช้สินเชื่อโดยสถาบันเกษตรกรหรือการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก การปรับปรุงทางด้านยุทธศาสตร์ข้าวไทย และการรักษาตลาดส่งออก ทั้งตลาดเดิม ตลาดเก่า (อิรัก) และขยายตลาดใหม่