ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวงเล็ก “อนาคตทางการเมืองไทยหลังยุบพรรคในยุค Covid-19”นายวีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในช่วงแรก ยืนยันว่า ไทยเผชิญมหาวิกฤติที่เริ่มลุกลามจากวิกฤตเศรษฐกิจ สู่วิกฤตสังคมและการเมือง ขณะที่ผู้มีอำนาจไม่เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างตลาดภายนอกและภายในประเทศ รวมถึงความสำคัญของการการส่งออก จึงไม่มีทางหยุดยั้งวิกฤตไปได้ ซึ่งไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักถึง 70 % และอาศัยต่างประเทศจีนเป็นตลาดหลักๆ ยิ่งเจอกับ Covid-19 ยิ่งทำให้เจอปัญหาหนัก พร้อมเสนอว่า รัฐบาลควรลดค่าเงินบาทให้ต่ำลง เพื่อให้ผู้ผลิตโดยเฉพาะเกษตรกรและผู้ส่งออก ได้เงินชดเชยจากการตกต่ำของราคาสินค้าในตลาดโลก ดร.โกร่ง เชื่อว่า นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการสืบทอดอำนาจเผด็จการนั้นหมดบุญแล้ว และกลายเป็นตัวปัญหาของประเทศ ท่ามกลางการลุกขึ้นเรียกร้องของนักเรียนนิสิตนักศึกษา ที่เป็นจุดเริ่มการแสดงความอัดอั้นตันใจ ที่ถูกกดทับสิทธิเสรีภาพและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล ซึ่งเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่รอการระเบิดครั้งใหญ่ หากนายกรัฐมนตรีไม่ลงจากอำนาจ ด้าน ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่โดยผู้มีอำนาจเป็นเหมือนการจุดไม้ขีดโยนเข้าไปในเชื้อเพลิงกองมหึมาที่สะสมมานาน และจุดติด โดยเห็นกรณีแฟลชม็อบของนักศึกษา เป็นปรากฎการที่ไม่เคยเห็นมานานมาก ซึ่งเชื่อว่า หากมีการลงบนท้องถนนโดยชั้นกลางในเมืองก็จะมาร่วมด้วย และจะเป็น "อาหรับสปริง" หรือ "ฮ่องกงโมเดล" ได้
โดยหากเปรียบปัญหาการเมืองรอบนี้เป็นการชกมวย ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายประชาธิปไตย ก็เชื่อว่าจะชกไม่ครบ 12 ยก เพราะอาจจะมีการ "ยุบเวที-ยึดเวที-โยนผ้า-ยื้อเวลา" พร้อมขยายความว่า เมื่อรัฐบาลจะแพ้ก็ "ยุบเวที คือ ยุบสภา" , "ยึดเวที คือ รัฐประหาร", "โยนผ้า คือ ยอมแพ้" ส่วนยื้อเวลา คือ วิ่งรอบเวทีไม่ชกด้วย แต่ให้กรรมการขึ้นชกแทนสุรชาติ ยังแนะให้ผู้มีอำนาจหวนดูประวัติศาสตร์ผู้นำทหารที่ครองอำนาจที่เปรียบเหมือนการเสี่ยงเซียมซี 5 แผ่น โดยตั้งเป็นหัวข้อว่า
เซียมซี 1. " นิราศต่างแดน" คือ ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่โกงเลือกตั้งแล้วถูกรัฐประหารต้องลี้ภัย เซียมซี 2. "สุกก่อนตาย" คือ ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจและเสวยสุกก่อนเสียชีวิตในเวลาอันสั้น เซียมซี 3. "นิราศ 3 ชาย" ในยุค 3 ทรราช ที่จบด้วยเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เซียมซี 4. "ป๋าพอแล้ว" ยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่พาตัวเองออกจากการเมือง โดยไม่ถูกประท้วงใหญ่หรือรัฐประหาร เซียมซี 5. "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ในยุครัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่จบลวด้วยเหตุการณ์ "พฤษภา 35" สุรชาติ กล่าวด้วยว่าในอดีตมี " 3 ทรราช" ปัจจุบันมี "3 ป." ซึ่งให้ย้อนดูอดีตเสี่ยงเซียมซีเอาว่าอยากเห็นแผ่นไหน หาผู้มีอำนาจคิดว่ามีเกียร์ เซียมซีแผ่นที่ 6 "ปราบแล้วชนะ" คือ กรณีอาชญากรรมรัฐ 6 ตุลา 2519 แต่ก็อย่าลืมว่ารัฐบาลหลังจากนั้นกูไม่ครบ 1 ปีก็ถูกรัฐประหารเช่นกัน อย่างไรก็ตามมองด้วยว่า ผู้มีอำนาจจากการรัฐประหาร 2 ครั้งล่าสุด มีการสถาปนาระบอบ "ตุลาการอธิปไตย" จัดการฝ่ายตรงข้ามและขยายอำนาจของทหารอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน กอ.รมน.และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งยังมีการผนวกกับกลุ่มทุนผูกขาด เป็น "ทหาร, ตุลาการ, ทุนผูกขาด" ที่ไม่เคยมีในเผด็จการยุคก่อน และแม้เผด็จการทหารลงจากอำนาจ ก็ยังมีองค์กรอิสระ ที่เปรียบเหมือนอำนาจ ม. 44 ที่ยังคงต่อเนื่องมาและอำนาจทหารใน กอ.รมน.และยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวอยู่ในสังคมไทยต่อไป ซึ่งการเมืองที่มีปัญหายิ่งเหมือนระเบิดเวลาที่รอการระเบิดครั้งใหญ่ พร้อมเสนอทางออกหลายข้อ ประกอบด้วย 1.) ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ใน 90 วัน ใช้ ฉบับปี 2540 ไปก่อน และเมื่อประกาศใช้ รัฐธรรมนูญใหม่องค์อิสระก็ต้องยุบไปก่อนเช่นกัน 2.) แก้ไขบทบาทขององค์กรอิสระที่ต้องไม่เป็นตุลาการธิปไตย 3.) ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 4.) นายกรัฐมนตรีต้องพิจารณาตัวเอง 5.) หยุดกระบวนการที่ทำงานไม่เป็นธรรมทั้งหลาย 6.) รัฐบาลเลิกเป็นเบี้ยล่างให้กับทุนใหญ่ 7.) ลบล้างคดีการเมืองหลังปี 2557 หรือก่อนหน้านั้น ส่วนข้อเสนอต่อกองทัพ ประกอบด้วย 1.) ตั้ง "คณะกรรมการกลางเพื่อการปฏิรูปกองทัพ" จากทุกภาคส่วน เหมือนตัวแบบในกองทัพประเทศเยอรมนีในการปฏิรูป 2.) ทหารออกจากการเมือง 3.) ยกเลิก คำสั่ง คสช. 4.) ยกเลิกธุรกิจในกองทัพ 5.) ทหารออกจากรัฐวิสาหกิจ 6.) ยุติการซื้ออาวุธชั่วคราว อย่างน้อยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจนี้ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอด้านการต่างประเทศ โดย ไทยต้องปรับดุลกับประเทศมหาอำนาจ, ปรับภาพลักษณ์สร้างความเชื่อมั่นหลังรัฐประหาร 2 ครั้งในรอบไม่ถึง 10 ปี, สร้างขีดความสามารถและต่อรองในเวทีโลก ไม่ทำตัวเป็นรัฐอารักขาหรือเขตปกครองของต่างชาติ และสุดท้ายคือ ยกเลิกเมกกะโปรเจคที่เกิดจากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทั้งหลาย สำหรับช่วงหลังการเสวนาดร.โกร่ง กล่าวว่า ยุคนี้เป็นการยึดอำนาจเพื่อตนเองอย่างแท้จริง ไม่มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือการเมือง แตกต่างและเทียบไม่ได้กับยุคพลเอกเปรม ที่เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เพื่อประคองระบบรัฐสภาและแก้ปัญหาลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งจบไปแล้ว แต่ผู้มีอำนาจปัจจุบันได้สถาปนาระบอบเผด็จการโดยกฎหมายขึ้น ซึ่งร้ายกาจกว่าเผด็จการโดยอำนาจปืน เพราะเมื่อลงจากอำนาจแล้ว สังคม สามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยได้แต่เผด็จการโดยกฎหมายยังจะคงอยู่ เหมือนเชื้อโรคไว้ให้ระบบกฎหมายไทยในอนาคต ขณะที่ ศ.ดร.สุรชาติ เห็นว่า ผู้มีอำนาจไม่ต้องการเปลี่ยนผ่านสังคม โดย ให้ฉายารัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า "ไร้ชัย" คือไม่มีทางชนะ และยังเป็นมรดกบาปของผู้ยกร่าง เป็นตราบาปที่จะถูกบันทึกไว้ในหนังสืองานศพ และจะเรียกประชาธิปไตยครึ่งใบ แบบยุคพลเอกเปรมไม่ได้ เพราะมีความเป็นเผด็จการมากกว่าประชาธิปไตยซึ่งถ้าจะเทียบการเลือกตั้งปี 2562 จะใกล้เคียงกับการเลือกตั้งปี 2512 ยุคจอมพลถนอมมากกว่า และจบลงด้วยรัฐประหารปี 2514 แต่เกิดขบวนการเคลื่อนไหวนิสิตนักศึกษาหลังจากนั้นและนำสู่เหตุการณ์ "14 ตุลา 2516" ถ้าผู้มีอำนาจเลือกทางนี้ ตนก็จะรอดูเหตุการณ์ "ทุ่งใหญ่นเรศวร" ที่ผู้มีอำนาจใช้คอปเตอร์ทางการไปล่าสัตว์แต่เครื่องตกก่อนนักศึกษาไปพบและตีแผ่ผ่านสื่อมวลชน ที่นำสู่การลุกฮือของประชาชน ปี 2516 ในที่สุด