ไม่พบผลการค้นหา
ร่องรอยและรอยเลือด ชะตากรรมของผู้ลี้ภัยการเมือง 'ยุค คสช.' หลายชีวิตได้สูญหาย หลายชีวิตได้กลายเป็นเพียงเถ้าธุลี

เวียนคบ 6 ปี 22 พ.ค.2557 เหตุการณ์รัฐประหาร รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. แม้ว่าจะมีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ไว้ว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร 

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็น "กบฏ" มีโทษสูงสุดถึงขั้น "ประหารชีวิต" 

คนอยากเลือกตั้ง คสช  Cover Template.jpg

แต่ในความจริงตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยคณะราษฎร ปี 2475 ประเทศไทยได้เกิดการรัฐประหาร 13 ครั้ง ผ่านชื่อสารพัดคณะ ทั้ง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) , คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อนเปลี่ยนเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) 

โดยไม่มีแม้แต่ครั้งเดียวที่ผู้นำก่อกบฎฉีก รธน.ถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

จากวันนั้นถึงวันนี้เรามีนายกรัฐมนตรี เป็นคนเดียวกับที่นำกำลังพลและรถถัง เข้ายึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญ นั่นคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น บุรุษผู้ซึ่งประกาศว่าจะไม่มีการปฏิวัติเกิดขึ้น แต่ไม่นานคำพูดดังกล่าวได้ถูกลดทอนด้วยการตระบัตสัตย์ว่า “อย่างนั้นตั้งแต่นาทีนี้ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง”

หลังจากเชิญแกนนำรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม มาสะสางปัญหาแต่ยิ่งเคลียร์ยิ่งเข้าสู่ทางตัน ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ ทุบโต๊ะรัฐประหารในที่สุด โดยชุบตัวจาก 'นายทหาร' สู่ 'นักการเมือง'

บินสู่เสรีภาพ 

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
  • สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

แน่นอนว่าเมื่อมีอำนาจย่อมมีคำสั่ง นักการเมืองรวมถึงนักกิจกรรมหลายคน ได้ถูกเรียกตัวเข้าพบจากคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 มากกว่า 1,300 คน มีการส่งตัวเข้าไป 'ปรับทัศนคติ' ในค่ายทหาร 

บางรายต้องโทษคดีการเมือง ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการออกมาจัดงานรำลึกการรัฐประหาร หรือเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้ง โดยกำลังตำรวจหลายร้อยนาย กลายเป็นภาพสะท้อนถึงความขาดแคลนสิทธิเสรีภาพ ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยไม่มีแม้แต่เสรีภาพการแสดงออก ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

จนนำไปสู่การหลั่งไหลออกนอกแผ่นดินเกิด และไม่รู้ว่าอีกนานเพียงใดพวกเขาจะได้กลับมา โดยมีบุคคลสำคัญหลายวงการ อาทิ สมาชิกวงไฟเย็น ที่มีผู้อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าฝ่ายความมั่นคงขู่ฆ่า จนกลายเป็นกระแส save ไฟเย็นบนโลกออนไลน์ , ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการที่ถูกลอบทำร้ายในห้องนอนด้วยสารเคมี , สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกยิงถล่มบ้านพักด้วยอาวุธสงคราม , วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน ที่ถูกไล่ล่าจนต้องลี้ภัยจากลาวไปฝรั่งเศส

แสงดาวที่ลับหายไป

นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย แซ่ด่าน  นำชุดและหมวกดาวแดงรวมถึงผ้าขาวม้าที่นายสุรชัยชอบใช้เป็นประจำมาจัดแสดงในนิทรรศการพร้อมทั้งกล่าวความรู้สีกถึงนายสุรชัย.jpg
  • ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย

แต่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีเสมอไป ยังมีอีกหลายคนที่ต้องกลับสู่แผ่นดินแม่ด้วย 'เถ้าธุลีดิน' เหมือนดั่งบทเพลง 'นักสู้ธุลีดิน' จากบทประพันธ์ของ 'จิ้น กรรมาชน' หรือ เพลง 'ฝากรักถึงเจ้าผีเสื้อ' ของวงสามัญชน ที่มักถูกนำไปขับขานในหมู่นักกิจกรรม เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ในการชุมนุมประท้วงหรือต้อนรับอิสรภาพ จากการถูกคุมขังในยุค คสช.

นับจาก 2557-2563 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งแล้วครั้งเล่า ผ่านวิธีการที่เหี้ยมโหดเล่นเกมจิตวิทยากับแนวร่วมผู้เคลื่อนไหว ให้สยบยอมต่ออำนาจที่พวกเขาจำต้องยอมรับ หากยังดื้อดึงอาจหายสาบสูญ หรือกลายเป็นศพ

ดังเช่น อิทธิพล สุขแป้น หรือดีเจซุนโฮ ,วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ (สหายหมาน้อย) , สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ , ชัชชาญ บุปผาวัลย์ (สหายภูชนะ) ,ไกรเดช ลือเลิศ (สหายกาสะลอง) 

หรือหายไปอย่างไร้ร่องรอยอย่าง สยาม ธีรวุฒิ (สหายข้าวเหนียวมะม่วง) ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ (ลุงสนามหลวง) และกฤษณะ ทัพไทย (สหายยังบลัด) ที่มีรายงานว่าถูกจับกุมที่ประเทศเวียดนาม และยังไม่ทราบชะตากรรมเลยว่าพวกเขายังมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่ 

แม้ว่ามารดาของ สหายข้าวเหนียวมะม่วง อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง นักแสดงละครเวที 'เจ้าสาวหมาป่า' ได้ไปยื่นเรื่องทวงถามสถานทูตเวียดนาม ผ่านไป 1 ปีแล้ว ยังไร้วี่แววในความหวังหวนคืนสู่อกแม่ 

ครอบครัว-สยาม ธีรวุฒิ-คนหาย-สถานทูตเวียดนาม-นักกิจกรรม
  • มารดาสยามและเพื่อนนักกิจกรรม

อ่านเพิ่มเติม


พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ผู้สื่อข่าว Voice Online
91Article
1Video
0Blog