นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ถึงด้านความมั่นคงสาธารณสุข งบประมาณการพัฒนาและการวิจัย R&D ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุดมศึกษาฯ (อว.) การเขียนงบประมาณต้องเขียนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ซึ่งแผนงานด้านสาธารณสุขอาจจะขับเคลื่อนแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแผนงานทางสาธารณสุขสามารถจะจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ส่วน อว. เขียนไปถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย สำหรับความมั่นคงทางสาธารณสุข
ตนขอยก พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ถูกตัดงบไปเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ถูกตัดงบไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ถูกตัดงบ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ขณะที่แผนงานยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาแห่งชาติถูกตัดออกไปทั้งหมด ไม่มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ไม่มีโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีน และโครงการวิจัยและพัฒนาด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตก็ไม่มี
นอกจากนี้ สำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมถูกลด 21 เปอร์เซ็นต์, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ตัด 63 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีโครงการชีววัตถุและชีววิทยา, ขณะที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพิ่ม 4.95 เปอร์เซ็นต์แต่งบประมาณส่วนใหญ่ถูกลงไปในโครงการ EEC, ขณะที่สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้รับงบประมาณเพิ่ม 72 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีที่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนายา แต่งบประมาณกลางเพิ่มขึ้นไปอีก 5 หมื่นล้านบาทแต่ก็ไม่มีสำหรับการวิจัยและพัฒนา และไม่มีการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนในงบโครงการ
"นั่นหมายความว่า ส.ส. ไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้เลย และไม่รู้ว่าจะทำได้จริงหรือไม่ แม้นายกรัฐมนตรีว่าจะบอกว่าต้องการเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ แต่จะพึ่งเพียงบุคลากรอย่างเดียวหรือไม่ นั่นหมายถึงส่งบุคลากรทางการแพทย์ไปสู้มือเปล่า ไม่มีเครื่องมือ งบประมาณปี 2564 เหมือนคัดลอกจากปีที่แล้วแล้วตัดออก หั่นเนื้อมาโปะที่กองทุนหรืองบกลาง ซึ่งก็ไม่สามารถตรวจสอบได้" นพ.วาโย กล่าว
'หมอเอกภพ' เสียดายงบ 64 เตรียมงบดูแลเพิ่มเพียง 6 แสนคน
นพ.เอกภพ เพียรวิเศษ ส.ส. เชียงราย พรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข 3.7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณแบบเดิมๆ แม้จะเพิ่มขึ้น 2.61 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามปกติ แต่โจทย์เก่าๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการจัดการทรัพยากรก็ยังเหมือนเดิม ยกตัวอย่าง สปสช. คนที่ตกงานราว 3 ล้านคนในอนาคตจะต้องย้ายจากประกันสังคมไปใช้สิทธิบัตรทอง สปสช. ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม 1,303 ล้านบาท แต่งบประมาณตรงนี้ไม่เพียงพอ ต่อให้ดึงมาจากงบกลาง งบกลางเองก็จะไม่เพียงพอสำหรับการช่วยเหลือภัยแล้งหรือด้านอื่นๆ ในอนาคต ขณะเดียวกันเมื่อดูในงบประมาณคาดการณ์ไว้ว่าผู้ใช้สิทธิอาจจะเพิ่มขึ้น 6 แสนคน ซึ่งไม่ได้อยู่หลักฐานข้อมูลทางสังคมที่เปลี่ยนไป แค่เพิ่มเป็นเปอร์เซ็นต์จากปีที่ผ่านมาเท่านั้น ไม่ได้เตรียมการรับมือสำหรับการตกงาน 3 ล้านคน
ขณะเดียวกัน การจัดสรรงบประมาณรายหัว 3,600 บาทต่อหัว จะถูกหักออกเป็นก้อนย่อยๆ อีก จนเหลือถึงโรงพยาบาลโดยตรงเพียง 1,252 บาท ซึ่งต้องให้โรงพยาบาลรักษาคนไข้แล้วถึงจะมาเบิกเอาไป โรงพยาบาลไม่สามารถพัฒนาตามบริบทพื้นที่ได้ ถ้าโรงพยาบาลอย่างได้เงินหรืองบลงทุนก็ต้องทำตามสิ่งที่ สปสช. ต้องการ เพราะระบบนี้ไม่ได้ตั้งไว้เพื่อรับฟังเสียงของประชาชน เราไม่ได้ทำการเหมาจ่ายรายหัวที่แท้จริง และข้อสังเกตต่อมา คือ การจัดทำงบประมาณปี 2564 เป็นการทำงบประมาณแบบไร้วิสัยทัศน์ ทั้งที่นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่าเรามีโอกาสเป็นผู้นำด้านสาธารณสุขของโลกได้
แต่งบประมาณส่งมาที่ส่วนกลาง กรมบัญชีกลางดูแลแค่ข้าราชการ สปส. ดูแลผู้ประกับตน และ สปสช. ดูแลบัตรทอง แต่ไม่มีใครดูแลนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติ อีกทั้งยังมีไม่การพูดถึงการตลาดทางการแพทย์ ซึ่งในความเป็นจริงนักท่องเที่ยวใช้เงินเฉลี่ย 56,000 บาทต่อคนต่อทริป แต่ระบบที่ไม่เปิดโอกาสก็ไม่สามารถดึงชาวต่างชาติเข้ามาหรือเพิ่มมูลค่าในการใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในประเทศได้อีก
ขณะเดียวกัน หน้าหนาวปีนี้ ประเทศไทยมีโอกาสที่จะสามารถดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะหนีหนาวมาพักผ่อนและรักษาพยาบาลในประเทศไทยได้ เนื่องจากประเทศที่เคยเป็นจุดหมายเดิมๆ ยังจัดการเรื่องการรับาดของโควิดไม่ได้ แต่ขณะเดียวกัน การจัดงบประมาณสาธารณสุขเองก็ไม่ได้เตรียมความพร้อมในส่วนนี้
อ่านเพิ่มเติม