ไม่พบผลการค้นหา
ปภ. กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์ 29 ก.ค. เวลา 18.00 น. พบเขื่อนขนาดใหญ่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อย โดยเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกักใช้ได้น้อยที่สุด ร้อยละ 3 ขณะที่ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปีนี้น้อยกว่าปี 2561 ถึง 13,827 ล้าน ลบ.ม.

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยรายงานสถานการณ์สาธารณภัยเมื่อเวลา 18.00 น. วันนี้ (29 ก.ค.) ในช่วงวันที่ 30 ก.ค. - 4 ส.ค. นี้ ประเทศจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะมีกําลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณเกาะไหหลํา อ่าวตังเกี๋ยและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย มีกําลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทําให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งสําหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกําลังแรงขึ้น

สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 29 ก.ค. 2562 ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 33,941 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 มีปริมาตรน้ำใช้การได้ 10,423 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22 

หากเทียบกับปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปี 2561 มีจำนวน 47,768 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 67 น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 13,827 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จํานวน 46.18 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจํานวน 92.24 ล้าน ลบ.ม. (น้ำระบายมากกว่า น้ำไหลลงอ่าง 46.06 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 36,986 ล้าน ลบ.ม.

ขณะที่สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 35 อ่าง พบว่ามีถึง 20 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 โดย 10 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยที่สุดมีดังนี้

อันดับ 1 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 3 ปริมาณน้ำใช้การได้ร้อยละ 3

อันดับ 2 เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 13 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 6

อันดับ 2 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 13 ปริมาณน้ำใช้การได้ร้อยละ 9

อันดับ 4 เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 15 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 14 

อันดับ 4 เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 16 ปริมาณน้ำใช้กาได้ ร้อยละ 14

อันดับ 6 เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 17 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 12

อันดับ 7 เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 20 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 16

อันดับ 8 เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 21 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 17

อันดับ 8 เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 21 ปริมาณน้ำใช้การ ร้อยละ 19

อันดับ 10 เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ปริมาณน้ำเก็บกัก ร้อยละ 22 ปริมาณน้ำใช้การได้ ร้อยละ 17

เขื่อน 4238_1913190368783548_158751049346187264_n.jpg


ภาพข่าว เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จากทวิตเตอร์ @mooaapaporn