ในช่วงท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้ชมจะพบกับตัวละครสำคัญอีกหนึ่งคนคือ ‘เอก-วีระยุทธ ทรัพย์ประเสริฐ’ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ซึ่งขยันพานักศึกษามาเข้าร่วมกิจกรรมของ ‘Homeflick’ และเห็นทิศทางการเติบโตอย่างช้าๆ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ Voice On Being อาสาพาไปสำรวจการเดินทางของภาพยนตร์นอกกระแส และพื้นที่เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในโคราช ผ่านมุมมองคนรุ่นใหม่จากเมืองย่าโม ที่ต่างสถานะ ต่างบทบาท แต่จริตภาพยนตร์ตรงกัน
ชลัท : ‘Homeflick’ เป็นสิ่งที่เราฝันตั้งแต่สมัยมัธยม ย้อนไปในวันนั้น โคราชไม่มีบรรยากาศแบบชวนกันดู ชวนกันเสพ ตั้งวงคุยกัน หรือโอกาสการดูหนังที่หลากหลาย ทั้งในลักษณะของกิจกรรม หรือการเช่าภาพยนตร์นอกกระแสมาดูเองก็แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย
เรามีภาพในหัวตั้งแต่ตอนนั้นเลยว่า สักวันหนึ่งถ้าเวลา สถานที่ และประสบการณ์พร้อม จะลุกขึ้นมาฉายหนังในแบบที่คิดไว้ ก่อนหน้าจะทำห้องฉายที่บ้าน เราฉายในร้านกาแฟ และโรงภาพยนตร์มาก่อน แต่วันหนึ่งรู้สึกรบกวนคนอื่นมากเกินไป ผนวกกับต้องการฉายให้เป็นกิจลักษณะมากขึ้น
โปรเจกต์นี้มีรากฐานอยู่ในความเป็นโคราชนั่นแหละ ถามว่าทำไมต้องเป็นโคราช คำตอบคือที่นี่เป็นบ้านเรา และอยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในบ้านเราสักที
ชลัท : ค่อนข้างลองผิดลองถูกกับราคาในการฉายภาพยนตร์อยู่เหมือนกัน คือเราไม่ได้เรียนเรื่องนี้มา และมันค่อนข้างยากกับการขายงาน หรือขอสปอนเซอร์ เพื่อให้เท่าทุน หรือกำไร ที่ผ่านมาการฉายในสเกลเล็ก ทำให้ไม่มีปัญหาเท่าการฉายในโรงภาพยนตร์ ซึ่งมาพร้อมกับการจ่ายเงินหลักหมื่นอยู่แล้ว
แรกๆ มีปัญหาเรื่องเงิน และก็เข้าเนื้อ แต่ตอนนั้นเรายังเด็กพอที่จะมองว่าเงินที่เสียไปคือ 'ราคาของประสบการณ์' เป็นการปลอบใจตัวเอง (หัวเราะ)
พอมาทำห้องฉายจนมีประสบการณ์ประมาณหนึ่ง และย้อนกลับมาถามตัวเองว่าจะใช้เงินทุนส่วนตัวกับโปรเจกต์นี้อีกไหม เพราะการลงทุนระยะยาวอย่างเครื่องฉาย เครื่องเสียง หรือค่าบำรุงห้อง ต้องใช้เวลานานมากหากจะหวังให้คืนทุนจากค่าตั๋ว
ชลัท : ในแง่หนึ่งอาจจะมอง ‘Homeflick’ เหมือนมาร์เก็ตติง เอเจนซี เป็นสื่อกลางระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้ชม สุดท้ายการนำหนังมาฉายในพื้นที่ที่พวกเขาไม่รู้จัก แต่สามารถทำเงินกลับไปได้ก็ยุติธรรมดีสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้ชม
ส่วนตัวผมเองไม่ได้มองเป็นภาระหนักเกินไป เพราะมันเป็นการสานต่อวัฒนธรรมการดูหนังมาที่โคราช เป็นเป้าหมายลึกๆ ที่วางไว้ตั้งแต่เริ่มต้นทำโปรเจกต์ จนถึงตอนนี้ สิ่งนี้แหละคือ ‘ค่าจ้างของเรา’
ชลัท : ชลัท: มีความเข้าใจในโปรเจกต์นี้สูงมาก พอตีขอบเขตตัวเองว่าจะฉายเฉพาะภาพยนตร์นอกกระแส เราก็จะเข้าหาเฉพาะเจ้าของภาพยนตร์ประเภทนี้ ซึ่งมีความเข้าใจในตัวเราอยู่แล้ว คล้ายกับเป็นพันธมิตรจากภาคอีสาน ถ้าค่ายหนังนอกกระแสจะนำผลงานมาฉายที่โคราชเขาไม่รู้หรอกว่าต้องเริ่มอย่างไร แต่ถ้ามาฉายที่เราก็พอจะช่วยกันได้ และเราก็รู้สึกดีทุกครั้งที่มีค่าตอบแทนไม่ว่าจะมากหรือน้อยกลับไปให้เขา
ชลัท : ผมเคยรู้สึกน้อยใจว่า ทำไมคนโคราชไม่เสพศิลปะ แต่ความจริงพวกเขาไม่มีเวลาว่างจะมาเปิดใจมากกว่า อาจจะรู้สึกว่าวันหนึ่งมีสื่อบันเทิงอะไรก็ได้ให้รู้สึกดีก็พอแล้ว ไม่ต้องค้นหาอะไรมากกว่านั้น
แต่เมื่อได้สัมผัสกับตัวเองกลับรู้สึกว่า การเสพศิลปวัฒนธรรมในโคราช มีความหลากหลายมากกว่าสมัยที่เรียนมัธยม แต่แพร่กระจายค่อนข้างช้า ถ้าจะเร่งให้เร็วขึ้นคงต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ผมเหมือนแพลตฟอร์มไว้ให้ประชาชนที่แห้งแล้งในศิลปวัฒนธรรมมีพื้นที่สำหรับเสพงานมากขึ้น และได้เติมเต็มตัวเองอยู่เรื่อยๆ
ในแง่นี้ เราสามารถพูดถึงการกระจายอำนาจที่ไม่ทั่วถึง บางสถานที่ต้องหยุดตัวเองเป็นแค่จังหวัดที่หาเช้ากินค่ำ ความหลากหลายในการประกอบอาชีพ หรือการทำธุรกิจ ก็จำกัดจำเขี่ย ประกอบกับค่าแรงที่ไม่ได้สูง ประชาชนจะสามารถใช้จ่ายกับเพลง ภาพยนตร์ หรือศิลปะได้เยอะสักแค่ไหน
ชลัท : ตอนแรกที่ทำโปรเจกต์นึกภาพไว้แบบนั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจ และได้เรียนรู้หลังจากทำมา 2-3 ปี คือกลุ่มผู้ชมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และกว้างขึ้น ภาพยนตร์บางเรื่องอาจจะไปโดนใจคนบางกลุ่มในสังคมที่มีอาชีพ การงาน หรือสถานะคล้ายคลึงกับตัวละคร และมาชมโดยไม่สนด้วยซ้ำว่าเป็นหนังนอกกระแส
ล่าสุดจัดฉาย ‘Shoplifters’ มีคุณแม่คนหนึ่งอายุประมาณ 55 ปี ให้ลูกชายมาจองตั๋ว และตั้งใจมาดูหนังเรื่องนี้มาก แม้จะโปรโมทว่าเป็นหนังครอบครัว แต่ก็ไม่ได้เชิญชวนขนาดนั้น รู้สึกเกรงใจหากจะทำให้คนเข้าใจผิด เพราะการเล่าเรื่องของ ‘Shoplifters’ มีความช้าต่างจากภาพยนตร์ในกระแสหลัก
ผู้ชมจากจังหวัดอื่นก็มีมาบ้างหากเป็นเรื่องที่ฉายในโรงภาพยนตร์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน
ชลัท : สองปีแรกไม่ได้หวังอะไรคิดว่าปีต่อๆ ไป คงจะมีคนเข้ามาเยอะขึ้นตามลำดับ มาเรียนรู้ทีหลังว่าการจะคาดหวังให้มันเป็นกราฟที่โตขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้หรอก ตอนนี้เปลี่ยนความคิดเป็นเป้าหมายระยะยาวมากกว่า จะทำไปเรื่อยๆ ให้คนรู้ว่าไม่ได้หายไปไหน วันหนึ่งนึกขึ้นได้และอยากกลับมาก็ยังอยู่ตรงนี้ แต่ระยะสั้นคงต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
ที่คิดไว้ตอนแรกอยากฉายภาพยนตร์ไทยอย่างเดียว หากได้รับความนิยมขึ้นมาอาจะจะมีคนลุกขึ้นมาจัดฉายภาพยนตร์จากฝรั่งเศส ญี่ปุ่น หรือประเทศไหนโดยเฉพาะก็ไม่มีปัญหา ปรากฎว่าผ่านไป 5 ปี ก็ยังเป็นกลุ่มเดียวในโคราชอยู่ (หัวเราะ)
ผมเชื่อว่าศิลปวัฒนธรรมกำลังเติบโตอย่างช้าๆ จะเร็วกว่านี้ได้คงต้องกลับไปที่โครงสร้างพื้นฐานทุกวันนี้รัฐบาลมีนโยบาย หรือสนับสนุนคนสร้าง และคนเสพงานศิลปะอย่างไรบ้าง
ชลัท : มันแปลกแล้วแหละถ้ามองว่าคนกลับไปทำงานที่บ้านเกิดเป็นเรื่องผิดปกติ คนส่วนใหญ่มักมองว่า คนต่างจังหวัดที่มีวิชาความรู้ควรจะเข้าไปอยู่กรุงเทพฯ มากกว่าจะทิ้งขว้างสิ่งที่เรียนมาในบ้านเกิดตัวเอง ผมไม่รู้ว่าใครสร้างภาพนี้ขึ้นมา ปัจจุบันมีหลายคนไม่ยอมแล้วที่จะอยู่กรุงเทพฯ และเขามีสิทธิ์ในการกลับไปอยู่ในที่ที่ตัวเองพอใจ
ชลัท : เราถูกป้อนไว้ว่าสังคมต้องเป็นแบบนี้ สเต็ปในชีวิตของเราจะต้องเป็นตามนี้ เรียนให้จบพอมีวุฒิแล้วก็ไปทำงาน แต่งงาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ แทบจะท่องได้เลยว่ามีอะไรบ้าง แค่พูดถึงสื่อบันเทิงก็มีภาพจำแล้วว่าต้องเป็นแบบไหน หรือพูดถึงศิลปวัฒนธรรมภาพของการรำก็ขึ้นมาทันที น่าคิดว่าใครเป็นคนปลูกฝังเรื่องนี้ให้เรา
ด้วยจำนวนขวบปีที่ทำ ‘Homeflick’ อาจจะทำให้คนในพื้นที่ตระหนักรู้มากขึ้นว่าทำไมต้องฉายหนังประเภทที่เรียกว่านอกกระแสอยู่เรื่อยๆ ตั้งหลายปี น่าจะเป็นการกระตุ้นให้ตั้งคำถามและพาออกมาจากภาพคุ้นเคยของชีวิตประจำวัน
ชลัท : กระจายอำนาจ เหตุการณ์ตอนนี้คือ ปรากฎการณ์ที่ประชากรกำลังกระจายตัวออกไปตามธรรมชาติ ตามเจตจำนงค์เสรี (หัวเราะ) โดยไม่มีสังคมมาตีกรอบให้ ถ้าสังคมพูดว่าวันหนึ่งอยากจะกระจายอำนาจขึ้นมาจริงๆ การที่คนออกจากเมืองหลวงคงจะเป็นเรื่องที่ปกติมากขึ้น แต่ตอนนี้ยังรู้สึกว่าการตัดสินใจแบบนั้นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ เพราะกรุงเทพฯ มีอำนาจมากเกินไป
ถ้าวันหนึ่งประเทศสร้างความสมดุลระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่นๆ ได้ คงไม่ต้องมานั่งพูดเรื่องกระจายอำนาจ ผิดกับทุกวันนี้ที่ต้องคิดหนักมากว่าพร้อมแลกการได้กลับบ้าน กับการสูญเสียสิ่งที่มีอยู่ในเมืองหลวงหรือเปล่า
หลังจบบทสนทนากับผู้ให้กำเนิด ‘Homeflick’ เรามีนัดกันต่อกับ ‘เอก-วีระยุทธ ทรัพย์ประเสริฐ’ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่เกริ่นชื่อของเขาไว้ข้างต้น หลังจากทราบว่าอาจารย์เอกเคยทำกิจกรรมร่วมกับบ้านโฮมฟลิก และพบว่าภาพยนตร์ทางเลือกสามารถมอบแง่คิดหลายอย่างให้กับนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาในจังหวัดที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ แต่พื้นที่ทางศิลปะกลับน้อยนิด
วีระยุทธ : จากที่ได้สัมผัสนักศึกษาในมหาวิทยาลัยยังมีความคิดว่า ศิลปะต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น พอถามเรื่องอื่นจะไม่รับและไม่รู้ นอกจากเรื่องวิชาการแล้วหน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือมอบทางเลือกอื่นให้นักศึกษา ซึ่งจะชอบหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่นี่คือมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด แตกต่างกับกรุงเทพฯ ซึ่งมีสถานที่ให้ดูงานเยอะ แม้โคราชจะมีพื้นที่ใหญ่ แต่ทางเลือกในการดูศิลปะกับน้อยนิด 10 ปีที่แล้วกับตอนนี้ยังรู้สึกว่าเหมือนเดิม
ผมพยายามเขย่าให้เด็กตื่นก่อนว่า นอกเหนือจากวิชาชีพคุณต้องเรียนรู้วิชาชีวิตด้วย พอมี ‘Homeflick’ มันเป็นหนึ่งทางเลือก ไม่ได้บังคับนักศึกษาว่าจงสนุกกับมัน แต่ทำหน้าที่เหมือนป้ายบอกทางว่า ตรงนี้มีทางเลือกมากกว่า
คุณจะมองหาศิลปะยากมากในโคราช อาจจะเจอแต่งานโอทอปในห้างสรรพสินค้า แกลลอรีของผู้มีชื่อเสียง จังหวัดอาจจะไม่ยอมรับความคิดอื่นๆ ทั้งที่โคราชยังมีกลุ่มคนรักศิลปะอีกแบบหนึ่ง มีกลุ่มคนน่าสนับสนุน แต่ถูกมองเป็นเรื่องไร้สาระ
วีระยุทธ : ความจริงฉายภาพยนตร์ในคลาสสามารถทำได้ แต่บรรยากาศก็มีโต๊ะเลคเชอร์นั่งดูแล้วจบกัน อยากให้พวกเขาได้มาเจอมวลชนอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาจารย์ ไม่ใช่เพื่อน และสนใจในภาพยนตร์ทางเลือก รวมถึงตัวภาพยนตร์เอง ซึ่งต้องอาศัยการพูดคุยกันหลังดูเสร็จ ก็ให้โจทย์ว่าได้อะไรจากการดูภาพยนตร์เรื่องนี้
เมื่อนักศึกษาได้ดูภาพยนตร์ทางเลือกเยอะขึ้นก็เห็นได้ชัดเลยว่า ภาพยนตร์เหล่านั้นทำงานของมันแล้วผ่านผลงานของนักศึกษา และไม่ใช่การเลียนแบบแต่เป็นไอเดีย และการอ้างอิง ที่นักศึกษามองว่าน่าสนใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้ ซึ่งผมคิดว่าสำคัญที่สุด
วีระยุทธ : ตอนนี้นักศึกษานิเทศศาสตร์ในโคราชไม่ได้มองว่ากรุงเทพฯ คือเป้าหมายอันดับหนึ่ง เพราะโปรดักส์ชั่นขนาดเล็กเริ่มเกิดขึ้นในโคราช โดยคนโคราชเอง และพยายามดึงนักศึกษาจากสถาบันในจังหวัดมาทำงานด้วย ตัวนักศึกษาเองก็ไม่ได้อยากกระโดดเข้าหากรุงเทพฯ เหมือนเมื่อก่อน
ผมว่าโคราชไม่ได้สิ้นแล้งความครีเอทีฟ แต่ถ้าจะให้เอกชนร่วมมือกันอย่างเดียวคงยากไปนิดนึง คงจะดีกว่านี้ถ้าภาครัฐเข้ามาร่วมด้วย แต่มีหลายงานที่ร่วมกันแล้วไม่เวิร์ก และหลายงานที่เอกชนมีปากมีเสียงน้อยเหลือเกิน แต่ก็เห็นทิศทางที่ดีขึ้นอย่าง ‘Homeflick’ มีคาเฟ่ที่จัดเวทีพูดคุยเรื่องภาพยนตร์ หรือหนังสือ
พื้นที่ปล่อยของไม่ควรจะอยู่ในห้างสรรพสินค้า ไม่ควรจะเปิด 10 โมงเช้าปิด 4 ทุ่ม ไม่ควรเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากเกินไป ผมคาดหวังให้โคราชมีพื้นที่ที่อิสระ และความหลากหลายในสังคมมากกว่านี้