25 ธ.ค. 2562 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า "ชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจกับ Lawfare หรือ “นิติสงคราม” กันอีกครั้ง
Lawfare คือ คำที่คิดค้นขี้นมาใหม่ โดยล้อเลียนไปกันคำว่า Warfare หรือแปลว่า การสงคราม โดยเปลี่ยน War เป็น Law จึงเป็น "Lawfare" อาจแปลได้ว่า "นิติสงคราม" หรือ "สงครามทางกฏหมาย"
เริ่มต้นมาเป็นคำในแง่บวกเพราะหมายถึงการลดใช้อาวุธในการห่ำหั่นกัน แต่หันมาใช้กฎหมายและความยุติธรรมในการจัดการแทน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่ามีความหมายในแง่ลบมากขึ้น เมื่อมีการใช้กฎหมาย ใช้ศาล เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ในทางสงครามหรือเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง
Lawfare ทำงานโดยกลไลหลัก 2 กลไก
1. Judicialization of Politics กระบวนการทำให้ประเด็นทางการเมืองกลายไปเป็นคดีและอยู่ในมือศาล
2. Mediatization of Judicial Political Case การนำประเด็นทางการเมืองจากมือศาลไปไว้ในมือสื่อ แม้ศาลยังไม่ได้ตัดสิน แต่สื่อนำมารายงานไปเรื่อยๆ จนทำให้คนเชื่อว่ามีความผิดจริง จนทำให้คนไม่ได้สนใจรายละเอียดข้อกฎหมายที่เป็นเรื่องซับซ้อน และข้อเท็จจริงของเรื่องอีกต่อไป
นิติสงครามเกิดขึ้นในหลายประเทศในโลก นิติสงครามไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง ไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตย แต่กลับกลายเป็นเครื่องมือในการกำจัดศัตรูทางการเมืองโดยที่ไม่ต้องใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ และไม่ต้องชนะการเลือกตั้ง"