เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 19 ส.ค. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตรวจเยี่ยมระบบการดูแลผู้ป่วย โควิด -19 ในระบบ Home Isolation พร้อมกับพูดคุยกับผู้ป่วยผ่านระบบเทเลเฮลธ์ โดยจะเป็นการพูดคุยเพื่อให้กำลังใจผู้ป่วย รวมไปถึงติดตามความคืบหน้า การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารจตุรัสจามจุรี ซึ่งเป็นชนิด mRNA จากศูนย์วิจัยวัคซีนคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ และตรวจเยี่ยมการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด -19 โดยเซลล์พืชเป็นแหล่งผลิต (วัคซีนใบยา)ในประเทศไทย ที่ใช้ใบยาสูบซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบโปรตีนซับยูนิต
โดยทีมแพทย์ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี ถึงการดูแลผู้ป่วยผ่านระบบ Home Isolation ซึ่งขณะนี้มีคนไข้ในการดูแล 800 -900 คน สามารถรับผู้ป่วยวิกฤตได้ 60 เตียง พร้อมกับอธิบายการดูแลผู้ป่วยในระบบ Home isolation โดยผู้ป่วยสามารถแยกตัวอยู่ที่บ้านได้อย่างปลอดภัย และเชื่อมต่อระบบ LINE ของโรงพยาบาล และเข้าอพลตฟอร์ม กินอยู่ดี ซึ่งคนไข้จะเชื่อมต่อข้อมูลแจ้งอาการมายังทีมแพทย์ จึงประเมินอาการของผู้ป่วยว่ามีอาการอย่างไรในแต่ละวัน ซึ่งจากระบบนี้แพทย์ 1 คนจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้สูงกว่า 100 ราย สำหรับโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ต้องการใช้ระบบเทเลเซลล์ สามารถสามารถติดต่อได้ที่ สํานักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวช่วงหนึ่ง ว่า นี่คือมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ แล้ววันนี้เริ่มมีการวิจัย พัฒนา ด้านต่างๆเพื่อช่วยลดความแออัดของผู้ป่วย ทั้งนี้ตนไม่อยากเห็นภาพคนไปหาโรงพยาบาลไหนแล้วไม่รับรักษา ดังนั้นต้องอธิบาย ให้ชัดเจน ว่าถ้าไม่รับแล้วไปไหนต่อและขั้นตอนเป็นอย่างไร วันนี้ผู้ป่วยรักษาหายมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ พร้อมขอขอบคุณเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาอยู่บ้าง
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ได้พูดคุยสอบถามให้กำลังใจกับผู้ป่วยในระบบให้ Home isolation ผ่านระบบเทเลเฮลธ์ และถามผู้ป่วยว่าพอใจหรือไม่ ซึ่งวันนี้ต้องพัฒนามีการพัฒนาระบบสาธารณสุข และระบบสาธารณสุขของไทยจะดีขึ้นมากในวันข้างหน้า
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้รับฟังการบรรยายความคืบหน้าการจัดทำวัคซีน ChulaCov19 โดยเป็นที่น่ายินดีว่าวัคซีน ChulaCov19 สามารถกระตุ้นภูมิได้เทียบเท่าวัคซีนไฟเซอร์ และสามารถยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม ได้ถึง 4 สายพันธุ์ และขณะนี้เตรียมพัฒนาวัคซีนรุ่น 2ไว้แล้ว โดยจะใช้เวลาในการผลิต 6 เดือน ดังนั้นไม่ว่าจะระบาดรอบไหน ไทยก็จะสามารถรับมือได้ ครั้งนี้ทดสอบแล้วว่าวัคซีนสามารถเก็บไว้ได้ 3 เดือน ในอุณหภูมิ -2 ถึง - 8 องศา แต่หากอยู่ในอุณหภูมิห้อง เก็บได้ถึง 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ที่สามารถเก็บได้เพียง 28 วัน ขณะนี้ไทยมีวัคซีน 4 วัคซีน วัคซีนไทยได้ทำอย่างไรที่จะได้ทำให้วัคซีนไทยนั้นได้รับรองและสามารถใช้ได้จริงก่อนสงกรานต์ปีหน้า ซึ่งต้องมีกองทุนอย่างน้อย 3,000 ล้าน ต่อ 1 วัคซีน และบริหารข้ามระบบราชการ และต้องให้มีความชัดเจนในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อนำไปสู่การผลิตแต่หากกติกาไม่ชัดเจน ไม่มีทางว่าไทยจะมีวัคซีนใช้ได้เอง พร้อมระบุว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์การอาหารและยา หรือ อย. หากทำเหมือนไต้หวัน ใช้อาสาสมัคร 4,000-5,000 คน และใช้วัคซีนคู่เทียบ
ขณะที่นายกรัฐมนตรี อยากให้ทีมนักวิจัยพัฒนาวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด วันนี้ให้งบประมาณ 400 ล้าน ให้มีผลสำเร็จ สำคัญที่สุดคือต้องให้ อย.ปรับกติกา หมอด้วยกันต้องคุยกันได้ ซึ่งทีมแพทย์อยากให้ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาดูด้วยกัน เช่นตัวแทนจาก WHO และตัวแทนอย.อังกฤษ ยินดีจะมาช่วย โดยนายกรัฐมนตรีระบุว่า หากจะไม่ทำในระบบราชการคงไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณ ที่รัฐบาลต้องระวังหลายอย่าง ขอต้องระวังให้ตนด้วย ตนตั้งใจจะทำให้ดีที่สุด