ไม่พบผลการค้นหา
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ชี้ศึกชิงธงเลือกตั้ง ปี 62 ถึงเวลาเลือกข้าง เอา-ไม่เอารัฐประหาร

ศาสตราจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในวงเสวนาผ่ากระแสการเลือกตั้ง 2019: การเมืองเปรียบเทียบในอุษาคเนย์ โดยยกคำพูด 'การเลือกตั้งเป็นวิถีของโลกสมัยใหม่' ซึ่งหากไล่เรียงตามลำดับพบว่าชนชั้นนำในสยามยังไม่พร้อมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งการเลือกตั้งในโลกสมัยใหม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ส่วนการเลือกตั้งครั้งนี้ 'ถ้ามี' จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จะรู้เลยว่าถ้าฝ่ายไหนชนะ ผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีจะเป็นใคร ขณะที่ในอาเซียน การเลือกตั้งก็ยังไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง เป็นเพียง 'คณาธิปไตย' ที่คล้ายกับคำว่า 'อั้งยี่' ซึ่งความหมายแท้จริงแล้วคือการบริหารจัดการ แต่พอเป็นบริบทในไทยมันถูกทำให้เลวร้าย

ส่วนตัวในมุมมองประวัติศาสตร์ การเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งคล้ายคลึงและไม่คล้ายคลึงกับการเลือกตั้งปี 2500 ที่มีการตั้งพรรคหนุนจอมพล ป. โดยถูกประณามว่าเป็นการเลือกตั้งที่สกปรก และมีจุดจบที่การทำรัฐประหาร

อีกหนึ่งกรณีที่มีความคล้ายกันคือสมัย 2512 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ รวมถึงเหตุการณ์ในสมัย 2535 ซึ่งมีการตั้งพรรคสามัคคีธรรม ที่มีความซับซ้อน และมีการแก้รัฐธรรมนูญ ให้มีนายกฯคนนอกได้ 


"การเลือกตั้งครั้งนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายไม่เอารัฐประหารและเอารัฐประหาร ภายใต้กติกาที่ไม่ยุติธรรม โดยฝ่ายเอารัฐประหารมีคะแนนในมือ 250 โดยอีกฝั่งมี 0 คะแนน" อดีตอธิการมธ. กล่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: