ทว่า ด้วยปัญหาหมักหมมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่กทม. อย่างรถติด น้ำท่วม โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ก็นำไปสู่การคาดหวังของชาว กทม. 5,527,994 คน และประชากรแฝงอีกจำนวนหนึ่ง มุ่งหวังให้เกิดการแก้ไขโดยเร็ว
ผู้ว่าฯ กทม. เจ้าของฉายาแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ก็ได้วางคิวการทำงานเกี่ยวกับการลอกท่อ ขุดลอกคูคลอง อย่งเร่งด่วน ‘วอยซ์’ จึงชวนย้อนดูสถิติการทำงาน ด้านดังกล่าว รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ดังนี้
เว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กทม. เปิดเผยข้อมูลแผนการระบายน้ำ (ทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ ฝาบ่อพักตะแกรงรับน้ำ คันหิน) พบว่า ปี 2565 ตั้งแต่เดือน ม.ค. - มิ.ย. มีการจัดการได้น้อยกว่า ปี 2563 - 2564 ค่อนข้างมาก
โดย เดือน ม.ค. 2565 ลอกท่อระบายน้ำได้เพียง ร้อยละ 15 น้อยกว่าเดือนเดียวกัน ในปี 2563- 2564 ซึ่งจัดการได้ร้อยละ 22.57 และ 29.87 ตามลำดับ ก่อนพุ่งสูงขึ้นในเดือน มี.ค. ที่ร้อยละ 48.18 แต่ยังถือว่าด้อยกว่า ปี 2563-2564 ที่ร้อยละ 62.27 และ 52.34
เช่นเดียวกับในเดือน พ.ค. 2565 ที่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. การลอกท่อระบายน้ำ กระเตื้องขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ68.20 แต่ภาพรวมก็ยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
ส่วนความคืบหน้าล่าสุดหลัง ชัชชาติ รับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. อยู่ที่ร้อยละ 77.15 ซึ่งหากเทียบกับความคืบหน้าในปี2563 ที่เคยทำไว้จะอยู่ในระดับที่สุดถึงร้อยละ 98.55
ถัดมาเป็น แผนการระบายน้ำ เปิดทางน้ำไหล เปรียบเทียบ 3 ปี ระหว่างปี 2563-2565 มีความคืบหน้าล่าสุดในเดือนมิ.ย. 2565 ที่ร้อยละ 90.49 ภาพรวมถือว่า มีความคืบหน้าในสัดส่วนที่สูง แต่เมื่อดูรายละเอียดจะพบว่า เพิ่งมีการจัดการอย่างก้าวกระโดดได้ที่ร้อยละ 71.98 ในเดือน เม.ย. 2565 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเพียง 1 เดือนเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2563 - 2564 ก็จะพบความแตกต่างโดยปี 2565 การดำเนินการถือว่า มีความคืบหน้าน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
ขณะที่ แผนการระบายน้ำ การขุดลอกคู - คลอง เปรียบเทียบ 3 ปี ระหว่าง ปี 2563-2565 จะพบได้ว่า ช่วงเดือน ม.ค. ปี 2565 มีความคืบหน้าการขุดลอกคูคลองน้อยที่สุดเพียง ร้อย 4.52 ต่างจากเดือนเดียวกันในปี 2564 ที่ขุดลอกคูคลองไปถึง ร้อยละ 56.53 ก่อนมีความคืบหน้าอย่างก้าวกระโดดโดยพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 56.93 ในเดือน ก.พ. 2565 และสูงสุดถึงร้อยละ 96.39ในเดือน มิ.ย. ภายหลังการรับตำแหน่งของผู้ว่าฯ คนใหม่ 1 เดือน
ปัญหาน้ำท่วมขั้งการระบายน้ำในเขตพื้นที่ กทม. จึงต้องให้ความเป็นธรรมและระยะเวลากับผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ โดยพิจาณาจากการดำเนินการทั้ง 3 แผนในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ประกอบกับการเปรียบเทียบ 'ผลงาน' ที่พ่อเมืองคนเก่าทิ้งไว้
สำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ ผู้ว่าฯ กทม. เพิ่ง
ทำแคมเปญชวนสื่อมวลชนร่วมปลูกต้นไม้ โดยร่วมกับ ‘วอยซ์’ เป็นแห่งแรกในการคิกออฟ แต่ก็มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ ด้านการจัดการขยะ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ ‘กรมควบคุมมลพิษ’ พบว่า ปริมาณขยะในเขต กทม. เมื่อปี 2564 มีมากถึง 4.46 ล้านตันต่อปี เฉลี่ย12,000 ตันต่อวัน ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้พียง1ใน4ส่วน ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายทั้งด้านการบริหารจัดการ ท่ามกลางเสียงสะท้อนปัญหาจากกลิ่นของขยะในบางพื้นที่ และการทุจริตเกี่ยวกับการจัดการขยะจำนวนมหาศาล ที่รอวันถูกจัดการ
เช่นเดียวกับ ‘มลพิษทางอากาศ’ ที่แม้อาจยังไม่เกิดผลกระทบมากนักในช่วงฤดูฝน แต่เมื่อย่างสู่ฤดูหนาวช่วงปลายปีที่ปัญหาดังกล่าวมักส่งผลกระทบอย่างรุนแรง จากค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เกินกว่า 50ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็อาจต้องมีการพิจารณาวางแผนการแก้ไขล่วงหน้า
https://dds.bangkok.go.th/canal_pipe.php
https://thaimsw.pcd.go.th/report_province.php?year=2564&province=1