ไม่พบผลการค้นหา
'สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล' รมว.วธ. เยือนชุมชนชาวเลสังกาอู้ จ.กระบี่ ชมการจัดการข้อมูลชุมชนยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนชาวเลเพื่อเข้าถึงสิทธิทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางไปเยี่ยมชุมชนชาวอูรักลาโวยจ บ้านสังกาอู้ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เพื่อรับฟังชุมชนนำเสนอการจัดการข้อมูลที่สำคัญนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดทำข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 

467737339_1119928732836157_4443974104592245183_n.jpg467751844_1119928346169529_4237231928755423246_n.jpg

โอกาสนี้ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ได้กล่าวว่า “กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ไว้ในแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนนตรี 2 มิถุนายน 2553 และแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 โดยมุ่งหวังจะให้เป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและส่งเสริมศักยภาพพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ดิฉันได้มาพบปะพี่น้องชาวชาวเลอูรักลาโวยจฺ บ้านสังกาอู้ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ และได้รับฟังว่าที่นี่เป็นชุมชนชาวเลแห่งสำคัญที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อเสนอเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมข้อมูลการจัดทำเขตพื้นที่คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ลำดับที่ 24 ที่จะประกาศขึ้นที่ชุมชนโต๊ะบาหลิว อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน2567 นี้ โดยที่ผ่านมาชุมชนได้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมและประสานประโยชน์กันระหว่างชุมชนและส่วนราชการต่าง ๆ มีการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำประมง เนื่องจากในอ่าวที่ชุมชนอาศัยอยู่มีการยกร่องทะเลเพื่อทำเป็นท่าจอดเรือร่วมกัน จึงมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลางบริเวณริมหาดทำให้มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น ดิฉันรู้สึกได้ว่าพี่น้องที่นี่มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์อูรักลาโวยจฺ และนี่เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อที่จะได้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป”

467762541_1119960496166314_2607212127846891775_n.jpg467910508_122246413856015741_2492055262295199918_n.jpg

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวด้วยว่า “รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ และพร้อมส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องชาติพันธุ์ ท่านนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ดิฉันกำกับการขับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์อย่างใกล้ชิด ดิฉันมาวันนี้นอกจากจะมาแสดงความยินดีกับพี่น้องชาวสังกาอู้ที่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยจัดทำข้อมูลชุมชนในการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ดิฉันยังมาเพื่อเป็นกำลังใจให้พี่น้องชุมชนสังกาอู้ร่วมใจกันสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนชาติพันธุ์ในฐานะชุมชนดั้งเดิมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถดำรงวิถีการทำมาหากินบนฐานภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการผสานองค์ความรู้ใหม่ เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยทุนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและทุนวัฒนธรรมที่หลากหลายด้วย”

467813040_122246453426015741_846936812886731160_n.jpg

สำหรับชุมชนสังกาอู้เป็นชุมชนชาวเลอูรักลาโวยจฺดั้งเดิม แต่เดิมใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามเกาะและทะเลต่าง ๆ อันเป็นที่มาของคำเรียกว่า ยิปชีทะเล (Sea Gypsy) ชาวสังกาอู้เป็นกลุ่มแรกที่ค้นพบเกาะลันตา และได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณบ้านสังกาอู้ (ในปัจจุบันนี้) จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งประสงค์จะให้ชาวเลมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องเร่ร่อนอีกต่อไป นอกจากนี้ได้รับพระราชทานนามสกุลให้ด้วย ได้แก่ ทะเลลึก หาญทะเล และช้างน้ำ เป็นต้น ชาวเลเดิมไม่นับถือศาสนาแต่นับถือภูตผีและบรรพบุรุษ ทุกปีจะมีการเซ่นไหว้ พิธีการที่สำคัญ คือ การลอยเรือ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ขอความสงบสุขแก่หมู่บ้าน และส่งวิญญาณบรรพบุรุษไปสู่ที่สิงสถิตอันไกลโพ้น มีนามว่า ฆูหนุงฌีไร (Gunung Jerai) ซึ่งเป็นที่ตั้งของยอดเขาสูงสุดในเมืองไทรบุรีในปัจจุบัน จึงทำให้สันนิฐานกันว่าชาวเลกลุ่มเกาะลันตาน่าจะมีถิ่นเดิมแถบไทรบุรีนั่นเอง

467744769_1119925239503173_8349962355514151954_n.jpg

ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันชาวเลได้ตั้งรากฐานอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายพื้นที่บนเกาะลันตาแต่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่บ้านสังกาอู้ หัวแหลมสุดของเกาะลันตา ที่ยังคงยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ ประเพณีลอยเรือประเพณีลอยเรือ เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องมาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งเป็นความเชื่อตั้งแต่บรรพบุรุษที่ส่งผลต่อโชคชะตาและความสงบสุขภายในหมู่บ้าน นอกจากนั้นพิธีลอยเรือยังเป็นการขออำนาจคุ้มครองจากท้องทะเล และปล่อยเคราะห์ออกไปจากเกาะ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมการแสดงรองเง็ง เป็นการละเล่นผสมผสานกับวัฒนธรรมยุโรปและเอเชีย นิยมเล่นในวันที่พิเศษตามงานเทศกาลต่าง ๆ พร้อมทั้งการแสดงรำมะนา เป็นการละเล่นดั้งเดิม ในวันพิเศษต่างๆ เช่น ประเพณีลอยเรือ ขึ้นบ้านใหม่ แก้เหลย (แก้บน)