ไม่พบผลการค้นหา
นักวิทยาศาสตร์เตรียมเปิดฟาร์มเพาะสาหร่ายสีแดง เพื่อทำไปเป็นอาหารให้แก่วัว เพราะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัวได้ 99 เปอร์เซ็นต์

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Sunshine Coast ของออสเตรเลียค้นพบการนำสาหร่ายสีแดงที่ชื่อ 'Asparagopsis taxiformis' ผสมในอาหารของวัวจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากสัตว์ได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ โดยในสาหร่ายสีแดงจะมีสารเคมีที่จะช่วยลดจุลินทรีย์ในท้องของสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิโคลัส พอล กล่าวว่า 'หากมีการเพาะเลี้ยงปลูกสาหร่ายสีแดงที่มีปริมาณที่มากพอ มันจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของออสเตรเลียได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ โดยนำสาหร่ายสีแดงชนิดแห้งไปผสมกับอาหารในปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่ให้วัวกิน ก็จะสามารถช่วยยั้งยังการปล่อยก๊าซมีเทนได้อย่างสมบูรณ์'

นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังพยายามค้นหาสายพันธุ์ของสาหร่ายสีแดงที่จะสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ทำให้ได้ผลิตผลปริมาณมากได้ ซึ่งที่ผ่านมาการเก็บสาหร่ายสีแดงยังมาจากแหล่งธรรมชาติ และยังไม่มีการเพาะเลี้ยงอย่างจริงจัง

อัตราการปล่อยก๊าซมีแทนของวัวและสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ คิดเป็น 37 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับอัตราส่วนการปล่อยก๊าซมีเทนของกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยวัวนั้นมีอัตราการปล่อยก๊าซมีเทนถึง 65 เปอร์เซ็นต์จากกิจกรรมปศุสัตว์ทั้งหมด เนื่องจากวัวต้องเรอและผายลมเพื่อระบายก๊าซออกจากร่างกายทั้งวัน

ทั้งนี้ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการระบายก๊าซในวัว เป็นการเรอ และที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นผายลม ทำให้วัวตัวหนึ่งปล่อยก๊าซมีเทนออกมาถึง 200-500 ลิตรต่อวัน และปัจจุบันทั่วโลกมีวัวกว่า 1,500 ล้านตัว

ที่มา ABC / dairyreporter