ไม่พบผลการค้นหา
นักลงทุนปี 2562 ขอรับการส่งเสริมทะลุเป้า 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนอีอีซีกว่า 59% แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม

รายงานสถานการณ์การลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประจำปี 2562 พบว่าเป็นไปตามเป้า โดยมีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 1,624 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 756,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 750,000 ล้านบาท

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากมูลค่ารวมการลงทุนกว่า 750,000 ล้านาท คิดเป็นการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ทั้งสิ้น 506 โครงการ ประมาณ 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 59 ของยอดการลงทุนทั้งหมด

ขณะที่ เมื่อแบ่งออกเป็นประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการลงทุนทั้งสิ้น 838 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทัเงหมดในปี 2562 โดยแบ่งเป็น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 80,490 ล้านบาท, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 74,000 ล้านบาท และ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ จำนวน 40,100 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การขนส่งทางอากาศ, การวิจัยและพัฒนา, ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังครองสัดส่วนการลงทุนสูงถึงร้อยละ 62 ของการลงทุนทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 469,590 ล้านบาท

ด้านประเทศผู้ลงทุนสูงสุดในปีของอีโอเอตกเป็นของจีน ด้วยเม็ดเงินก็ว่า 260,000 ล้านบาท แต่เป็นเม็ดเงินจากโครงการรถไฟฟ้า 3 สนามบิน ไปแล้วประมาณ 100,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ ชี้ว่า จีนก็ลงทุนมากขึ้น เมื่อเทียบกับตัวเลขการลงทุนในปี 2561 ที่อยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ขณะที่ฝั่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ลงทุนหลักของไทยมากตลอดลงทุนในปี 2562 ประมาณ 70,000 ล้านบาท

นางสาวดวงใจชี้แจงว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ลดเม็ดเงินในการลงทุนลง แต่ประเทศจีนมีอัตราในการเข้ามาลงทุนเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้นเอง 

สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2563 นางสาวดวงใจ ชี้ว่า แนวโน้มเป็นไปในทางที่ดี เพราะบีโอไอมีการปรับปรุงผลประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนเรื่องเพิ่มสิทธิบัตรในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี สำหรับโครงการที่มีกาายื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2563 และมีการลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564

ทั้งนี้ บีโอไอ ยังขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่ใช้อยู่เดิม จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 นี้ 

นอกจากนั้น บีโอไอ ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์กับการลงทุนในพื้นที่อีอีซี เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยละ 50 เป็นเวลา 3 ปี หรือการยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 2 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมหรือไม่ หากเป็นไปตามเงื่อนไขของบีโอไอ 

สำหรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต สมคิด ชี้ว่า ไทยควรเน้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแรงงานเพื่อเป็นพื้นฐานในการจ้างงานในอนาคต เนื่องจากประเทศได้เปรียบเรื่องประสบการณ์ในภาคบริการมาเป็นเวลานาน ขณะเดียวกัน ก็ยังส่งเสริมให้ดูแลเรื่องเศรษฐกิจความสร้างสรรค์โดยชี้ว่าที่ผ่านมาไม่ได้มีองค์กรใดของภาครัฐขึ้นมาดูแลกิจการตรงนี้เป็นพิเศษ แต่มองว่ามีความเป็นไปได้

อุตสาหกรรมอีก 2 ประเทศ ที่ภาครัฐต้องการสนับสนุนคือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด และการลงทุนในโครงการท้องถิ่นชุมชน

ทั้งนี้ บีโอไอ ยังไม่ได้กำหนดตัวเลขเป้าหมายเม็ดเงินการลงทุนสำหรับปี 2563 โดยต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าประชุมบอร์ดบริหารช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้