ไม่พบผลการค้นหา
กลุ่มชาวซิกข์เรียกร้อง 'กุชชี่' ทบทวนการขายผ้าโพกหัว อ้างไม่เคารพและเข้าใจวัฒนธรรมซิกข์อย่างแท้จริง ด้าน 'กุชชี่' ยังไม่ตอบโต้

ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือนหลังจากโดนกระแสวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงเรื่องการออกแบบเสื้อสเวตเตอร์ผ้าขนสัตว์สีดำที่สื่อถึงการเหยียดผิว ห้องเสื้อแบรนด์หรูที่ดูเหมือนจะไม่ได้ทบทวนบทเรียนก่อนหน้าก็ตัดสินใจออกแบบเครื่องประดับศรีษะที่มีลักษณะคล้ายผ้าโพกศีรษะของชาวซิกข์ออกมาขายในราคา 790 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 25,000 บาท

โดยการออกแบบครั้งนี้ได้รับการวิจารณ์จากกลุ่มชาวซิกข์ถึงความไม่เหมาะสม และเรียกร้องให้ 'กุชชี่' และห้างสรรพสินค้านอร์ดสตรอมทบทวนความเหมาะสมด้านวัฒนธรรม ความรอบคอบในการศึกษาข้อมูล รวมทั้งราคาที่แพงเกินไป

ล่าสุดนอร์ดสตรอมตัดสินใจยกเลิกการขายผ้าโพกศรีษะบนเว็บไซต์ของห้างสรรพสินค้าและทวิตข้อโทษซึ่งมีใจความว่า 

  • "เราตัดสินใจที่จะยุติการขายสินค้าชิ้นนี้บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่มีความตั้งใจในการไม่เคารพสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมและศาสนา เราขออภัยอย่างจริงใจต่อทุกคนที่ถูกทำให้รู้สึกขุ่นเคือง"

อย่างไรก็ตามกุชชี่ยังไม่ออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้กระแสวิจารณ์ในครั้งนี้

ผ้าโพกศรีษะไม่ใช่เครื่องประดับ

หนึ่งในประเด็นหลักที่ส่งผลให้ชาวซิกข์ไม่พอใจการออกแบบครั้งนี้ของกุชชี่มากจากการทำให้ผ้าโพกศีรษะกลายเป็นเครื่องประเด็บที่สามารถนำมาสวมใส่และถอดออกเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการ

ตามประเพณีแล้ว ผ้าโพกศรีษะของชาวซิกข์ไม่ใช่เครื่องประดับที่สวมใส่เมื่อออกจากบ้าน แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อและประเพณีทางศาสนาที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวซิกข์ การสวมใส่ผ้าโพกศีรษะของชาวซิกข์เป็นขั้นตอนที่เต็มไปด้วยความอุตสาหะและกระบวนการที่ผ่านความคิดซับซ้อนซึ่งสะท้อนหลักความเชื่อของชาวซิกข์

'ฮาจินเดอร์ ซิงห์ คูเครจา' ทวิตข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า :

  • "ถึงกุชชี่ ผ้าโพกศรีษะของชาวซิกข์ไม่ใช่เครื่องประดับเทรนด์ใหม่ สำหรับนางแบบผิวขาว แต่เป็นหลักความเชื่อของชาวซิกข์ นางแบบของพวกคุณสวมผ้าโพกศีรษะเป็น 'หมวก' ขณะที่ชาวซิกข์ค่อยๆ พันผ้าโพกศีรษะอย่างปราณีตที่ละทบ การใช้ผ้าโพกศีรษะปลอมแย่ยิ่งกว่าการขายกุชชี่ปลอมเสียอีก"

ขณะที่ 'ราวินเดอร์ ซิงห์' ชี้คำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจซื้อผ้าโพกศีรษะผ่านทวิตเตอร์ว่า :

  • "ถึงทุกคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาซิกข์ ไม่ต้องเสียงเงิน 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,000 บาท) ซื้อผ้าโพกศีรษะปลอมของกุชชี่จากนอร์ดสตอรมหรอก ทักแชทส่งที่อยู่มาหาฉันเลย เดี๋ยวฉันสอนบทเรียนเรื่องการโพกศีรษะให้ฟรีๆ แล้วก็มีอุปกรณ์ให้ด้วย ฟรี! สีไหนก็ได้"

ย้อนรอยความอื้อฉาวของ 'กุชชี่'

ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กุชชี่ออกเสื้อสเวตเตอร์ผ้าขนสัตว์สีดำถึงมิติในการเหยียดผิว ซึ่ง 'กุชชี่' ออกมากล่าวขอโทษพร้อมย้ำว่าเหตุการณ์นี้เป็นช่วง "เวลาแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญ"

"เราพิจารณาความหลากหลายว่าเป็นพื้นฐานหลักที่แบรนด์เคารพ ยึดถือ และมีอิทธิพลตือทุกการตัดสินใจของเรา" กุชชี่ออกมากล่าว

ย้อนกลับไปในช่วง แคมเปญฤดูใบไม้ผลิปี 2546 นิตยสารโว้กลงภาพนางแบบกางเกงชั้นในลงและเผยให้เห็นภาพสัญลักษณ์ของแบรนด์กุชชี่บริเวณขนอวัยวะเพศของนางแบบ โดยกุชชี่ให้คำนิยายว่าเป็นความ 'ขี้เล่น' ขณะที่ฝ่ายอื่นๆแสดงท่าทีตรงข้ามกับกุชชี่อย่างชัดเจน

ในปี 2550 โซเชียลมีเดียออกมาปลุกกระแสเรียกร้องให้กุชชี่แสดงความรับผิดชอบต่อความเป็นไปได้อย่างชัดเจนในการลอกเลียนแบบผลงานของ 'เดปเปอร์ แดน' โดยเสื้อโค้ทที่กุชชี่ออกมามีความคล้ายคลึงกับเสื้อที่เดปเปอร์ออกมาแบบอย่างมาก โดยหลังจากกรณีของ เดปเปอร์ ไม่ถึงเดือน นักออกแบบ 2 คน ก็ออกมากล่าวหากุชชี่ว่าลอกเลียนแบบผลงานของตนเช่นเดียวกัน

แฟชั่นกับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาตลอด แต่การอ้างเสรีภาพในการออกแบบเพื่อออกแบบสินค้าที่ปราศจากความรู้และการเคารพวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และมิติด้านความเชื่อของผู้อื่น อาจถือเป็นการละเมิดสิทธิได้เช่นเดียวกัน และเสรีภาพที่ทุกคนพึงมี คือเสรีภาพที่ไม่ไปลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นเช่นเดียวกัน

อ้างอิง; CNN, FORTUNE