วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม ได้ลงนามร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างแก้รัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งร่างดังกล่าวไปยังรัฐสภา แต่ยังไม่ทราบว่าจะนำมาพิจารณาเมื่อใดเนื่องจากอยู่ในอำนาจของประธานรัฐสภา โดยจะต้องมีการประชุมหารือร่วมทั้งสองสภา แต่กฎหมายดังกล่าวสามารถพิจารณาร่วมกับการพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้โดยในเบื้องต้นจะมีคำถามเดียวคือเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ อาจจะมีคำถามส่วนหากจะมีคำถามพ่วง ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 166 ที่แม้จะให้อำนาจคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอคำถามแต่ตนเห็นว่าไม่น่าจะเหมาะสม หากจะต้องถามในเรื่องที่ละเอียดอ่อนและรัฐบาลมีส่วนได้เสีย ดังนั้นจึงควรมีคณะกรรมการที่เป็นคนกลางทำหน้าที่เสนอคำถามจะเหมาะสมกว่า ซึ่งอาจจะเป็นคณะกรรมการสมานฉันท์ที่ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้เสนอตั้งขึ้น เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีผู้ที่มี ความน่าเชื่อถือ และเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ โดยตนไม่ทราบว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมหรือไม่ รวมถึงตัวแทนจากฝั่งรัฐบาล เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการติดต่อทาบทามมาแต่อย่างใด
ส่วนหากที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาก็จะต้องพิจารณาดูว่ารัฐบาลสามารถปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด กังวลข้อเป็นห่วงหรือข้อเสนอแนะเพราะบางเรื่องอาจเป็นข้อกังวลหรือข้อเสนอแนะ ที่รัฐบาลสามารถนำไปปฏิบัติเพียงบางข้อได้ เพราะเป็นการเสนอทางออกของผู้ที่มีประสบการณ์จึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ทั้งหมด
ทั้งนี้ วิษณุ ยังระบุอีกว่า มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่การทำประชามติขอความเห็นแก้หรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จะไม่สามารถดำเนินการได้ทันกับการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. เนื่องจากเหลือเวลาไม่มากเพียง 50 วัน ซึ่งหากจะมีการลงความเห็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีกรอบระยะเวลาให้ประชาชนได้ศึกษาข้อมูล รวมถึงเวทีสาธารณะซึ่งต้องใช้เวลา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2560 ทั้งมีการหยิบยกมาว่าไม่มีเวลาในการศึกษารัฐธรรมนูญ