ไม่พบผลการค้นหา
'มนพร' รมช.คมนาคม โต้ 'ศิริกัญญา' ครม.สัญจรแลนด์บริดจ์ ยิ่งกว่าสบตาประชาชน แจงฟังทุกความเห็นต่าง ส่วนข้อกังวงเรื่องวิถีชีวิตชาวบ้านจะเปลี่ยนไป ยืนยันรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน ไม่กังวลถูกลากโยงเข้าการเมือง เพราะจะได้มีโอกาสชี้แจงตรงไปตรงมา

วันที่ 22 ม.ค. มนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.สัญจร) ที่ จ.ระนอง ถึงกรณีที่ ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนรายงานการศึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาฯ โครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อจะได้สบตาประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการ ว่า จริงๆแล้วคณะกรรมการมีการประชุมกันถึง 10 ครั้ง มีหน่วยงานที่เข้าร่วมชี้แจงถึง 50 ครั้ง ซึ่งการทบทวนรายงานเป็นความเห็นของสมาชิกส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะใน กมธ.วิสามัญ ในวันนั้น มีบุคคลที่เห็นชอบ 20 เสียง และคนที่คัดค้านเพียง 2 เสียง และก็ยังมีโอกาสแสดงออกอีกครั้งเมื่อร่างดังกล่าวเข้ามาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถ้าใครเห็นชอบก็สามารถกดเห็นชอบ และถ้าหากใครไม่เห็นชอบ ก็สามารถอภิปรายกันได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งเราเปิดโอกาสให้สมาชิก จากทุกพรรคการเมืองในสภาทั้ง 500 คน แสดงความเห็น และ ท่านก็ไปทบทวนความเห็นเหล่านั้น ในการประชุมสภาได้ และเมื่อประชุมเสร็จก็สามารถเพิ่มประเด็นไปได้อีก ว่าตั้งข้อสังเกตประเด็นไหน ทั้งประเด็นประมงพื้นบ้าน และ การเวนคืนที่ดิน จากนั้น ก็ส่งร่างไปให้ทางคณะรัฐมนตรี ตั้งร่าง พ.ร.บ.SEC และไม่ใช่แค่พิจารณากันแค่คณะรัฐมนตรี เพราะจะต้องส่งต่อไปยังให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกกระทบวงกรม รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา 

เมื่อถามถึงข้อสังเกตของหลายฝ่ายว่า ในรายงานฉบับนี้ไม่มีสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้จะดำเนินการ เป็นความเห็นเดิมจากรัฐบาลที่ผ่าน มนพร ตอบว่า ประเด็นนี้ก็อยู่ในชั้นความเห็นในที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท่อ หรือเรื่องที่สภาพัฒน์มีความเห็นต่าง ถ้าเราเอาความเห็นเดิม เราคงไม่ตั้งคณะ กรรมาธิการศึกษา ในปีที่มีรัฐบาลปัจจุบัน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ศิริกัญญา อาจจะไปเอาความเห็นของสภาพัฒน์เดิม ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และสาเหตุที่เราตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเพราะต้องการความเห็น หรือความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆ ที่เป็นปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นเราก็คงเอาร่างเดิมมาพิจารณากันแล้ว ซึ่งรัฐบาลรับฟังทั้งเสียงที่เห็นด้วยและเสียงที่เห็นต่าง โดยเฉพาะความเห็นต่างเราจะรับฟังให้มากที่สุด เพราะสิ่งที่ประชาชนต้องการ คือ เขาจะได้รับการชดเชยอย่างไร อาทิ อาชีพประมง ที่อยู่อาศัย และผลกระทบ ต่อระบบนิเวศในการหาปลาของชาวประมง และความเห็นของคุณศิริกัญญา ที่อ้างอิงความเห็นของสภาพัฒน์ เป็นความเห็นของการศึกษาในรัฐบาลที่แล้ว เพิ่งตนเข้าไปอ่านความเห็นปัจจุบันแล้ว พบว่า ความเห็นของสภาพัฒน์ เป็นความเห็นเชิงบวก ว่าต้องศึกษาให้รอบด้าน แล้วตนจะเชื่อมั่นว่าบริษัทเอกชนที่จะมาลงทุนในโครงการแลนด์บริดจด์ ก็คงมีการศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ได้ดูเพียงผลการศึกษาของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว และการมา ครม.สัญจรในครั้งนี้ เราตั้งใจจะมาเปิดการรับฟังความเห็นของประชาชน และมั่นใจว่าเราจะสบตาประชาชน และเปิดหูเปิดตารับฟังทุกความคิดเห็น 

ส่วนกระแสคัดค้านจากกลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่กังวลต่อวิถีชีวิตที่จะเปลี่ยนไป จากโครงการแลนด์บริดจ์ รัฐบาลจะมีทางออกอย่างไร มนพร กล่าวว่า ก็เราต้องถามความต้องการของชาวประมงก่อน มาต้องการอะไรแน่นอนว่าการที่มีโครงการใหญ่ใหญ่อาจจะต้องสูญเสียบางอาชีพ แต่เราต้องหาสิ่งทดแทนที่ดีกว่า ความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ มิเช่นนั้นโลกคงมาไม่ถึงวันนี้ แต่ว่าเราจะไม่ทิ้งประชาชน ในวันที่โครงการขนาดใหญ่ลงมาในพื้นที่ 

ส่วนการพูดคุยกับกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่จะมาแสดงพลังคัดค้านในช่วงการประชุม ครม. นอกสถานที่ มนพร กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี รับฟังข้อเสนอทีาเห็นต่างเหล่านี้ ซึ่งเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วที่ลงพื้นที่มาร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ก็ไม่ได้มาพบกับผู้ที่มีความเห็นเชิงบวกกับโครงการ แต่เรามาพบกับประชาชนที่เห็นต่าง ทั้งที่พะโต๊ะ และ ระนอง 

ส่วนขณะนี้เมื่อถูกสังคมมองว่าเรื่องโครงการแลนด์บริดจ์ ของรัฐบาล ถูกโยงและลากเข้ามากับเรื่องการเมือง มนพร ระบุ ในเมื่อเป็นประเด็นการเมืองก็เป็นโอกาสที่ดีของรัฐบาล ที่จะตอบในข้อมูลที่เป็นวิชาการและความต้องการของประชาชน เราจะเปิดกันให้เห็นเลยว่าถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นประชาชนจะสูญเสียอะไร และ ประชาชน-ประเทศชาติ จะได้อะไร เป็นเวทีที่มีโอกาสให้รัฐบาลที่ชี้แจง และส่งข้อมูลเหล่านี้ อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา 

ส่วนเมื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้วการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ที่รัฐบาลนี้สัญญาไว้ จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ มนพร กล่าวว่า ต้นยังมองไม่ถึงขนาดนั้น เรายังไม่มองถึงรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันไป เศรษฐา ทวีสิน ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

มนพร เปิดเผยอีกว่า ในวันพรุ่งนี้หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะจัดสรรเวลาให้ ตัวแทนประชาชนที่ ต้องการที่จะมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ได้เข้าพบ และ พูดคุย