ไม่พบผลการค้นหา
ราษฎรศาลายาไม่ร่วมสังฆกรรมคณะกรรมการสมานฉันท์ ฉะ 'อธิการบดี ม.มหิดล' ขึ้นเวที กปปส. ด้าน 'พระ-เณร' โดดขึ้นเวทีปราศรัยชงปฏิรูปสงฆ์ไทย ขณะที่ 'ไผ่ ดาวดิน' ย้ำ 'ประยุทธ์' ต้องออกก่อน ถึงเกิดการเจรจา

เวลา 17.00 น. วันที่ 5 พ.ย. 2563 กลุ่มราษฎรศาลายานำโดย ภาคีนักศึกษา ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อยืนยันการไม่ลดเพดาน และย้ำ 3 ข้อเรียกร้องคณะราษฎร 2563 รวมถึงประกาศจุดยืนไม่ร่วมสังฆกรรมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ของรัฐบาลด้วย โดยมีการร่วมกันเคารพธงชาติพร้อมชู 3 นิ้วในเวลา 18.05 น. เพื่อประกาศว่า พื้นที่ชุมนุมบริเวณ "หอนาฬิกา มหิดล" บนถนนพุทธมณฑลสาย 4 เป็นพื้นที่ของราษฎรและเปิดเวทีให้ทุกคนที่อยากปราศรัย สามารถขึ้นพูดบนเวทีได้ โดยให้เหตุผลว่า การชุมนุมของราษฎรไม่มีแกนนำ

สำหรับเนื้อหาการปราศรัย ส่วนหนึ่งกล่าวประณามบทบาทของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีการปิดคลาสสอนก่อนเวลาปกติและมีเจ้าหน้าที่รัฐทั้งตำรวจทหารในและนอกเครื่องแบบเข้าไปภายในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาจำนวนมาก ที่สำคัญไม่ยอมให้ใช้พื้นที่ ภายในมหาวิทยาลัยในการจัดชุมนุม ทั้งไม่ให้ใช้เป็นพื้นที่ปลอดภัยหากมีการสลายการชุมนุมด้วย ทางคณะราษฎรศาลายาจึงต้องมาจัดชุมนุมบริเวณ "หอนาฬิกามหิดล" นอกพื้นที่มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ รวมถึงมีผู้ปราศรัยโจมตีการบริหารประเทศที่ล้มเหลวของ "รัฐบาลประยุทธ์" และย้ำข้อเรียกร้อง 3 ข้อของคณะราษฎร 2563

ในงานมีการปราศรัยโดย "ภิกษุ -​สามเณร" ซึ่งมีการชู 3 นิ้วบนเวที โดยสามเณรได้ปราศรัยในหัวข้อทศพิธราชธรรม ขณะที่หัวข้อ "โครงสร้างพุทธศาสนาในการเมืองไทย ปราศรัยโดยพระภิกษุ นาม "พระเอิร์ท" ระบุถึงโครงสร้างการปกครองของคณะสงฆ์ไทย" ที่มองว่ารวมศูนย์อำนาจไม่ต่างระบบราชการ ผู้ชี้ขาดทั้งทางกฎหมายสงฆ์และวินัยสงฆ์ ผูกขาดอยู่ที่เจ้าอาวาสวัดไปจนถึงพระสังฆราช ขณะที่เงินเดือนพระสงฆ์และเงินเรียนฟรีของ "พระ-เณร" ทั้งหลายก็มาจากภาษีประชาชน แต่ ประชาชนผู้เสียภาษีเอง มีบุตรหลานที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจำนวนมาก และสวัสดิการรัฐดูแลไม่ทั่วถึง จึงเห็นว่า ระบบศักดินาอยู่ในวงการสงฆ์ไทย จึงต้องปฏิรูปสถาบันสงฆ์และเกี่ยวข้องกับความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปสถาบันด้วย โดยยืนยันว่า เมื่อพระสวดมนต์อวยพรหรือกล่าวคำชื่นชมเชิดชูให้พระมหากษัตริย์ได้ พระก็สวดมนต์อวยพรปราศรัยบนเวที หรือพูดเพื่อราษฎรได้เช่นกัน

ม็อบ 5 พ.ย. ศาลายาม็อบ 5 พ.ย. ศาลายา ลุ่มราษฎรศาลายานำโดย ภาคีนักศึกษา ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย


ม็อบ 5 พ.ย. ศาลายา ลุ่มราษฎรศาลายานำโดย ภาคีนักศึกษา ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย  เผด็จการ ม็อบม็อบ 5 พ.ย. ศาลายาม็อบ 5 พ.ย. ศาลายา ลุ่มราษฎรศาลายานำโดย ภาคีนักศึกษา ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย ม็อบ 5 พ.ย. ศาลายา

ขณะที่ ธัชพงศ์ แกดำ จากภาคีนิรนาม ปราศรัยตอนหนึ่ง โจมตีทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ที่ไม่ยอมให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัย ที่ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยทำกิจกรรมทางการเมือง นอกจากปิดกั้นการแสดงออกแล้ว ยังเป็นการผลักนักศึกษาของตัวเอง ให้ออกมาข้างนอก สุ่มเสี่ยงกับโดนคดีความต่างๆที่ผู้มีอำนาจรัฐยัดเยียดให้ ทั้งที่มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นเวทีชุมนุมของ กปปส.ในการล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งและทำให้สังคมไทยตกอยู่ใต้อำนาจคณะรัฐประหารและรัฐบาลสืบทอดอำนาจจนถึงปัจจุบันมาแล้ว

ไผ่ ดาวดิน จตุภัทร์ ม็อบ  01105_0.jpgไผ่ ดาวดิน จตุภัทร์ ศาลายา ม็อบ 1105.jpg

'ไผ่ ดาวดิน' ย้ำ 'ประยุทธ์' ออกค่อยเจรจา

ด้าน จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" แกนนำคณะราษฎร 2563 ปราศรัยตอนหนึ่งว่า  ไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาประเทศได้ หาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังอยู่ในอำนาจ พร้อมยืนยันว่าการเคลื่อนไหวคนรุ่นใหม่และประชาชนยอมถอยหรือเจรจาไม่ได้ หาก พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ลาออกก่อน เป็นเงื่อนไขแรก 

อย่างไรก็ตาม แม้ทั้ง 3 ข้อเรียกร้องของคณะราษฎร 2563 ไม่ได้รับการตอบสนอง แต่การเคลื่อนไหวเยาวชนนักเรียนนักศึกษาและประชาชน มีอำนาจต่อรองมากขึ้น จนผู้มีอำนาจอยากที่จะเจรจาแล้ว แต่ขอย้ำว่า จะไม่เจรจากับคนที่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทย 

"เราอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกไป เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากคุยกับพวกเรา อยากเจรจากับราษฎร หาทางออกสังคมไทย คุณต้องออกไป และมีแค่ 3 ข้อเสนอซึ่งทุกคนร่วมเข้าใจร่วมกันแล้ว ทำไมผู้มีอำนาจถึงไม่เข้าใจ" ไผ่ ดาวดิน ระบุ

ม็อบ ภาคีศาลายา 6601105.jpg

แถลงการณ์ไม่่ร่วมสังฆกรรม กก.สมานฉันท์

ต่อมาเวลา 22.00 น. แกนนำภาคีนักศึกษาศาลายา ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ นำโดย เอกศิษฏ์ บัวทองเอี่ยม มีเนื้อหาสำคัญคือ คณะกรรมการสมานฉันท์ของรัฐบาล เป็นเพียงข้ออ้างให้ผู้ชุมนุมลดระดับการชุมนุมและข้อเรียกร้องลง แต่ "ราษฎร ศาลายา" ยืนยันว่า สิ่งที่ราษฎรต้องการคือความสุขสงบ ไม่ใช่การสยบต่ออำนาจเผด็จการทรราช ดังนั้น จึงขอยืนยันว่า จะไม่ร่วมสังฆกรรมใดๆกับคณะกรรมการชุดนี้เป็นอันขาด และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอย้ำจุดยืน 3 ข้อ คือ 1. พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออก 2.ต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เป็นฉบับประชาชนอย่างแท้จริง 3.จะต้องปฏิรูปสถาบันให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับประชาธิปไตยสมัยใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง