มีการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และมีฟ้าผ่าทางตอนเหนืองของรัฐพิหาร ในช่วงวันพุธถึงวันพฤหัสบดีนี้ (27-28 ก.ค.) โดย นิตีศ กุมาร ผู้ว่าการรัฐพิหาร ขอให้ประชาชนปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่หน่วยจัดการภัยพิบัติของรัฐอย่างเคร่งครัด
ในทุกๆ ปี เมื่อเข้าสู่หน้ามรสุม จะมีผู้เสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่าหลายร้อยรายในอินเดีย ซึ่งหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากขนาดนี้ เกิดขึ้นจากการที่ชาวอินเดียมักจะทำงานกลางแจ้ง ซึ่งคิดเป็นอัตราการทำงานในที่โล่งแจ้งมากที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงต้องการเกิดเหตุฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิต
ทั้งนี้ วันอังคารที่ผ่านมา (26 ก.ค.) กุมารประกาศให้มีการจ่ายเงินเยียวยาเป็นจำนวน 40,000 รูปี (ประมาณ 18,000 บาท) ให้แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ว่าการรัฐพิหารได้จัดการประชุมเพื่อขอให้มีการตัดตั้งสายล่อฟ้าบนตึกของรัฐบาลทุกตึก รวมถึงที่โรงเรียนและโรงพยาบาลด้วย โดยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของรัฐพิหาร เป็นจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในหน้ามรสุม
เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สำนักข่าว BBC รายงานว่า เหตุฟ้าผ่าในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลทางดาวเทียมจากสถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนของอินเดียระบุว่า เหตุการณ์ฟ้าผ่าเกิดบ่อยมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2538-2557
สภาส่งเสริมระบบสังเกตการณ์สภาพอากาศอินเดียเผยว่า สถิติฟ้าผ่าในอินเดียอยู่ที่ 18 ล้านครั้งระหว่างเดือน เม.ย. 2564 ถึง มี.ค. 2565 ซึ่งเพิ่มมากขึ้น 34% จากปีก่อนหน้า
ที่มา: