ไม่พบผลการค้นหา
กระบวนการแก้กฎหมายอาญาเพื่อเปิดทางให้ทำแท้งถูกกฎหมายในประเทศได้กำลังอยู่ในชั้นพิจารณาปรับแก้ไขใน กมธ. ซึ่งต้องจัดทำให้เสร็จก่อน 19 ก.พ. 64 'วอยซ์' ได้รวบรวมข้อมูลหลักคิดในต่างประเทศที่ผลักดันจนเกิดกฎหมายทำแท้งได้

กฎหมายการทำแท้งแต่ละประเทศมีสาระสำคัญต่างกันออกไปตามแต่วัฒนธรรมทางสังคม ความเชื่อในจุดเรื่องจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุุษย์ และสิทธิระหว่างทารกในครรภ์กับหญิงตั้งครรภ์

ทว่ากฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งแต่ละประเทศต่างมุ่งหมายที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของตัวหญิงตั้งครรภ์เป็นสำคัญ

ประทศเยอรมนี ให้ความคุ้มครองชีวิตทารกที่อยู่ในครรภ์มารดามาตั้งแต่สมัยประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรก โดยถือว่าชีวิตที่พัฒนาอยู่ในครรภ์มารดาเป็นอีกชีวิตหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐธรรมนูญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น การทำลายทารกในครรภ์ย่อมเป็นความผิดอาญา 

ต่อมาศาลสูงสุดแห่งอาณาจักรไรซ์ได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับหลักความจำเป็นที่เหนือกฎหมายหรือหลักการชั่งน้ำหนักระหว่างคุณธรรมทางกฎหมาย คือ ผู้กระทำจำเป็นต้องกระทำการใดอันเป็นการล่วงละเมิดคุณธรรมทางกฎหมายอันหนึ่ง เพื่อคุ้มครองหรือรักษาคุณธรรมทางกฎหมายที่เหนือกว่าเอาไว้ ผู้กระทำไม่มีความผิด ซึ่งต่อมาศาลสูงของเยอรมนีได้ยอมรับหลักการความจำเป็นที่เหนือกฎหมาย ในกรณีความผิดอาญาฐานทำแท้งที่แพทย์มีความจำเป็นต้องทำแท้งให้ผู้หญิงเพื่อการรักษาชีวิตของหญิงให้พ้นจากอันตราย โดยไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นและได้รับความยินยอมจากหญิงโดยถือว่าไม่ผิดกฎหมาย

เพศสภาพ ผู้หญิงปลดแอก ธรรมศาสตร์  แท้ง2594724_2708866960638761945_n.jpgรัฐสภา ทำแท้ง ครรภ์ กฎหมายทำแท้ง

ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนียังได้มีคำวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์ย่อมมีสิทธิในชีวิตที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องเคารพและปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชีวิตที่ยังไม่เกิดอย่างเท่าเทียมกันกับชีวิตที่เกิดแล้ว ทั้งนี้ศาลยอมรับว่าการบังคับให้หญิงต้องตั้งครรภ์ต่อไปนั้นอาจเป็นภาระให้แก่หญิงจนเกินไป จึงสมควรที่รัฐจะบัญญัติห้ามการทำแท้งไว้โดยชัดเจนในกฎหมาย และควรมีข้อยกเว้นเพื่ออนุญาตให้ทำแท้งในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษหรือมีเหตุผลอันสมควร

ในปี ค.ศ.1976 เยอรมนีได้ออกกฎหมายให้ทำแท้งได้เมื่อมีเหตุผล ดังนี้

1.การทำแท้งเนื่องจากเหตุผลทางการแพทย์เพื่อป้องกันให้หญิงพ้นจากอันตรายที่จะมีต่อชีวิตหรือให้พ้นจากอันตรายร้ายแรงที่จะมีต่อสุขภาพของหญิง หากได้กระทำโดยแพทย์และหญิงนั้นยินยอม

2.การทำแท้งเนื่องจากเหตุผลด้านอาชญากรรม หากได้กระทำโดยแพย์และหญิงนั้นยินยอม

3.การทำแท้งเนื่องจากเหตุผลทางด้านทารกในครรภ์ หากได้กระทำโดยแพย์และหญิงนั้นยินยอม

4.การทำแท้งเนื่องจากเหตุผลทางสังคม

ประมวลกฎหมายอาญาของเยอรมนียังบัญญัติให้การทำแท้งเป็นความผิดอาญาอีกด้วย หากไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับการทำแท้ง เช่น หญิงตั้งครรภ์ร้องขอให้ยุติการตั้งครรภ์โดยมีคำรับรองจากแพทย์ว่าได้รับการให้คำปรึกษาอย่างน้อย 3 วันก่อนที่จะยุติการตั้งครรภ์ และได้ดำเนินการโดยแพทย์ อีกทั้งยังมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือเป็นการยุติการตั้งครรภ์ที่ได้กระทำโดยแพทย์ ซึ่งได้รับความยินยอมจากหญิงตั้งครรภ์เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายแก่ชีวิตหรือแก่สุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น

ประเทศจีน หญิงตั้งครรภ์สามารถร้องขอทำแท้งได้โดยถูกต้องตามกฎหมายและการตัดสินใจในการทำแท้งขึ้นอยู่ับความต้องการของหญิงตั้งครรภ์แต่ละคน แต่มีเงื่อนไขว่าการทำแท้งจะต้องกระทำภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และจะต้องไม่เคยทำแท้งมาก่อนในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา

ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยรัฐหลายรัฐ กฎหมายของแต่ละรัฐจึงมีความแตกต่างออกไป กรณีกฎหมายทำแท้งนั้น กฎหมายบางรัฐยินยอมให้ทำแท้งได้โดยอิสระ บางรัฐยินยอมให้ทำแท้งได้โดยเฉพาะในอายุครรภ์ที่กำหนดไว้ และบางรัฐยินยอมให้ทำแท้งได้เฉพาะกรณีเมื่อแทพย์มีความเห็นว่าทารกจะเกิดมาพิการหรือเพราะมารดาเป็นโรคที่กำหนดไว้ เป็นต้น

ในปี ค.ศ.1968 สภานิติบัญญัติรัฐนิวยอร์กและรัฐเนวาดา ได้ผ่านกฎหมายยกเลิกควมผิดฐานทำแท้ง เว้นแต่ในกรณีที่หญิงมีครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จึงห้ามมิให้ทำแท้งซึ่งส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากเดินทางไปทำแท้งที่รัฐดังกล่าว ดังนั้นในเวลาต่อมาอีกหลายรัฐจึงได้ออกกฎหมายในทำนองเดียวกัน แต่ต่างกันเพียยงระยะเวลาของการตั้งครรภ์เท่าน้ัน

ขณะที่ประเทศไทยในปัจจุบันก็มีความคืบหน้าจากการที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563 ได้มีมติเห็นชอบในวาระที่หนึ่งรับหลักการของ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเปิดทางให้มีการทำแท้งถูกกฎหมาย ด้วยคะแนน 284 ต่อ 5 เสียง โดยกระบวนการจะต้องแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จใน 1 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563

เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับคณะรัฐมนตรี กำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 โดยกำหนดให้อายุครรภ์สำหรับความผิดฐานทำให้ตนแท้งลูกขณะอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ และแก้ไขมาตรา 305 เพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูก

ส่วนร่างของพรรคก้าวไกล ได้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา เพราะเห็นว่ากฎหมายปัจจุบันไม่ได้ำหนดเหตุที่อนุญาตทำแท้งครอบคลุมถึงเกณฑ์อายุครรภ์ โดยกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานทำให้แท้งลูกขณะอายุครรภ์เกิน 24 สัปดาห์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง