วันที่ 21 พ.ย. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้ลงนามคำสั่งพรรคพลังประชารัฐที่ 132/2565 เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ เพื่อให้การกำหนดนโยบายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย โดยเปิดโอกาสให้ ส.ส.ของพรรค สมาชิกพรรค นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของทุกภาคส่วน รองรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า และตอบสนองต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และประชาคมโลกในปัจจุบัน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชาชนคนไทย ทุกคนอยู่ดีกินดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยองค์ประกอบของ
โดยมี ไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธานกรรมการฯ และมีกรรมการอีก 14 คน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการด้วย
พล.ต.อ. ดร.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองประธานกรรมการ
อัครวัฒน์ อัศวเหม ส.ส.สมุทรปราการ เขต 1 กรรมการ
สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี เขต 4 กรรมการ
ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4 กรรมการ
พรรณสิริ กุลนาถศิริ ส.ส.สุโขทัย เขต 1 กรรมการ
บุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2 กรรมการ
รงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช เขต 1 กรรมการ
สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 กรรมการ
ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. เขต 6 กรรมการ
พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ กรรมการ
สมเกียรติ ประจำวงษ์ กรรมการ
บุรินทร์ สุขพิศาล กรรมการ
สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ กรรมการและเลขานุการ
โดยคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจศึกษาและจัดทำร่างนโยบายเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรค และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง เสนอหัวหน้าพรรคพิจารณา เพื่อปรับปรุงแก้ไข หรือดำเนินการอื่นใดเพิ่มเติม ให้เกิดความสมบูรณ์ครบถ้วน รวมทั้ง นำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารพรรคต่อไป
จัดให้มีการรับฟัง แลกเปลี่ยน และระดมความคิดเห็นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค สมาชิกพรรค นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษา และจัดทำร่างนโยบายเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่าง ๆ ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับชาติ
จัดทำเอกสารประกอบนโยบายเพื่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรค เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560
แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมาย
รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการในทุกขั้นตอนต่อหัวหน้าพรรคโดยตรง ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ และปฏิบัติงานอื่นตามที่หัวหน้าพรรคมอบหมาย โดยอำนาจและหน้าที่ให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ไพบูลย์ ประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐจะประชุมนัดแรก ในวันที่ 23 พ.ย. 2565 เวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา สำหรับรายชื่อและประวัติคณะกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ
1. พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ระดับปริญญาโทและเอกด้านการบริหารรัฐกิจและนโยบายสาธารณะจากNorthern Illinois University สหรัฐอเมริกาได้รับรางวัลนักศึกษาดีเด่นของคณะรัฐศาสตร์ NIU รางวัลนักวิจัยสมาคมอาชญวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง(ประจำพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานตำรวจ งบประมาณ การบริหารราชการแผ่นดินและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ มีผลงานด้านการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ ปาล์มน้ำมัน และสื่อสังคมออนไลน์
2. พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย จปร.และปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ วิชาเอกนโยบายสาธารณะ มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเพื่อความมั่นคง และเป็นกรรมการบริหารพรรค
3. ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกวิศวกรรมด้านการเกษตรและการชลประทานจาก Utah State University, USA อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการชลประทาน การบริหารจัดการน้ำและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ
4. ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้าน Bio-refinery policy จาก AIT และมีพื้นฐานการศึกษาทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านปาล์ม และเป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรม
การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้ ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการ วิสามัญ อนุกรรมาธิการ มากกว่า 10 คณะ ตลอด 20 ปี และช่วยงานสภาปฏิรูปแห่งชาติและสภานิติบัญญัติแห่งชาติตั้งแต่ ปี 2557
5. สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมยานยนต์และด้านบริหารธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นนักวิชาการอิสระด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิตัล
6. รองศาสตราจารย์ ดร.พรรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ สำเร็จการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทและเอก รัฐศาสตร์ จากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เคยเป็นนักวิจัยทุน Fulbright สหรัฐอเมริกา และยังได้รับเชิญเป็นนักวิจัยอาคันตุกะ ณ ISEAS–Yusof Ishak Institute ประเทศสิงคโปร์ และ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ยังเป็นกรรมาธิการ และอนุกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและการเลือกตั้งจำนวนมาก มีความเชี่ยวชาญด้านการเมืองการปกครอง พรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และ อาเซียน