สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม จัดการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 17 ในหัวข้อ “พัฒนากระบวนการยุติธรรม สร้างความเชื่อมั่น นำความยุติธรรมสู่ประชาชน” ระหว่างวันนี้ที่ 22–23 เมษายน 2562 ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปาฐกถาเปิดงานตามหัวข้อ ระบุว่า ทุกคนต้องเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและต้องได้รับการบริการที่มีคุณภาพ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยที่ผ่านมามีหลายคดีเกิดข้อกังขาหรือมีคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งกรณีการฆาตกรรม อาชญากรรมหรือคดีฆ่าเสือดำ โดยขอให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทบทวนตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องเป็นมืออาชีพ มีความเป็นสากล เพื่อการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
โดยต้องพิสูจน์และพัฒนาตัวเอง ทั้งกฎกติกาและเครื่องมืออำนวยความยุติธรรมรวมถึงลงรับฟังความเดือดร้อนของประชาขน ไกล่เกลี่ยการฟ้องร้อง ตลอดจนการลงโทษทางอาญาเท่าที่จำเป็น หรือมีบทโทษหลากหลายเป็นทางเลือกมากขึ้น หลังจากเปิดงานพลเอกประจินให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน พร้อมตอบคำถามสื่อมวลชน ต่อกรณีที่กระทรวงต่างประเทศมีท่าทีต่อคณะทูตต่างประเทศ ที่เข้าสังเกตการณ์การดำเนินคดีกับแกนนำสำคัญของพรรคอนาคตใหม่
โดยพล.อ.ประจิน ระบุว่า ต้องใช้ความให้กระบวนการยุติธรรมพิสูจน์ความจริงหรือว่าถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ ซึ่งต้องใช้เวลา ส่วนท่าทีของกระทรวงต่างประเทศนั้น เพียงแต่ชี้แจงกรอบอำนาจอธิปไตยของไทยตามหน้าที่ ซึ่งเกิดหลังจากมีกระแสพยายามดึงชาวต่างชาติเข้ามาสร้างหรือทำให้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมหรือต่อสู้คดีของผู้ถูกกล่าวหา โดยยืนยันว่า หากกระบวนการทุกอย่างเป็นไปตามหลักสากล จะไม่มีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นต่อต่างชาติ ซึ่งต้องใช้เวลาพิสูจน์ความจริงในชั้นศาลต่อกรณีของจะนำพรรคอนาคตใหม่
จากนั้นมีการเสวนาพัฒนาองค์กรในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชน ศาสตราจารย์พิเศษเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด กล่าวว่า ถ้าอัยการสั่งฟ้องคดีแล้วศาลยกฟ้องจำนวนมาก สังคมจะมองว่าอัยการฟ้องคนผิด ในกระบวนการยุติธรรมจึงต้องกลั่นกรองไม่ให้มีการฟ้องคดีผู้บริสุทธิ์ โดยยืนยันว่าหากตำรวจทำสำนวนมาอย่างถูกต้องครอบคลุมและจับคนผิดถูกตัว อัยการจะทำงานง่าย ที่สำคัญคือ เวลาที่พนักงานส่งสำนวนคดีมาต้องไม่กระชั้นชิดเกินไป เพราะที่ผ่านมาจำนวนมากจะส่งสำนวนมาก่อนหมดเวลาฟ้องไม่กี่วัน จึงเป็นอุปสรรคในการทำคดีให้ครอบคอบ
นอกจากนี้ อัยการต้องการความเป็นอิสระในการใช้ความรู้ความสามารถพิจารณาพยานหลักฐานในคดี โดยไม่มีใครแทรกแซง ซึ่งผู้บังคับบัญชาในวงการอัยการ จะไม่สั่งลูกน้องว่าควรฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีใด แต่ให้อำนาจอัยการผู้ทำคดีสั่งคดีตามพยานหลักฐาน และตรวจสอบความเห็นต่อการสั่งคดีนั้นๆได้ หากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมไทยได้
นายศุภกิจ แย้มประชา รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ระบุว่า ศาลยุติธรรมยังได้รับความเชื่อมั่นอำดับหนึ่งของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด แต่ก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยค��ามยุติธรรมที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการ โดยปัจจุบันมีกฎหมายใหม่ออกมาจำนวนมาก ในยุค สนช.จึงต้องให้ความรู้ผู้พิพากษาเพื่อการตัดสินคดีให้ถูกต้องตามตัวบทด้วย และการมีผู้ช่วยกรั่นกรองคดี มีระบบล่ามแปลภาษาจะเป็นระบบประกันคุณภาพการทำคดี
โดยเสนอว่า นอกจากความถูกต้องเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรมด้วย โดยต้องลดการใช้หลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องหา อาจใช้ใช้กำไลข้อเท้าอิเลคทรอนิคและอื่นๆ เป็นทางเลือกหรือเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว หรือแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน เป็นผู้ดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่คนไม่ค่อยทราบว่ามีช่องทางนี้ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีช่วยในการฟ้องคดี ซึ่งปัจจุบัน คดีเกี่ยวกับมรดก ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือไต่สวนทางโทรศัพท์มือถือแล้ว
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ยอมรับว่ากระบวนการยุติธรรมมีข้อผิดพลาด แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ดี เพราะคนสามารถผิดพลาดกันได้ ดังนั้นต้องพัฒนากลไกต่างๆในกระบวนการยุติธรรม นับแต่ตำรวจ อัยการ จนถึงศาล ให้ได้รับการยอมรับ เปลี่ยนกระบวนการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ไม่อิงคำพูดบุคคลเท่านั้น โดยมองว่าคุณภาพในกระบวนการยุติธรรม ที่จะสร้างการยอมรับได้ มาจาก 3 ส่วนคือ
1.)คุณภาพการให้บริการต้รวดเร็วและประหยัด มี มาตรการป้องกันหรือลดการทำความผิดซ้ำ 2) คนรับบริการ ทั้งคนในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป ต้องได้รับความรู้ว่าระบวนการยุติธรรมมีขั้นตอนหรือเดินอย่างไร ทำให้คนเห็นว่า ความเป็นธรรม คือทรัพย์สมบัติของคนในสังคม และ 3.) การให้ข้อมูลความคืบหน้าคดีที่สาธารณะชนสนใจ หรือตอบคำถามสังคมด้วยข้อมูลที่ถูกต้องไม่ควรให้นักวิชาการหรือบุคคลที่ไม่รู้ข้อมูลการดำเนินคดีมาพูดแทน
พลตำรวจโทปิยะ อุทาโย ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงผลโพลสำนักหนึ่งเปิดเผยว่า อาชีพที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นมากที่สุด คือตำรวจ รองลงมาคือ นักการเมืองและเซลล์แมน ซึ่งข้อสังเกตในจุดร่วมคืออาชีพเหล่านี้ใกล้ชิดและสัมพันธ์กับประชาชน พร้อมเสนอทางแก้ไขปัญหาความเชื่อมั่นต่อตำรวจของคนไทย ว่า 1.ต้องลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทั้งพนักงานสอบสวนพนักงานจราจรและอื่นๆ ที่ต้องใช้ดุลยพินิจทุกวันโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย 2.พฤติกรรมการทำหน้าที่ทั้งในและนอกเวลาราชการ ต้องวางตัวให้ดีเพราะคนไทยคาดหวังกับตำรวจทุกเวลา 3.ปลูกฝังสำนึกตำรวจ ฝึกอบรมการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่สอนแค่ในโรงเรียนตำรวจเท่านั้น 4.เชื่อมโยงระบบให้ประชาชนแจ้งความได้ทุกที่