ใครๆ ก็รู้ว่าวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น ‘วันสตรีสากล’ ซึ่งในปัจจุบันสิทธิสตรีเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสำคัญและตื่นตัวอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงใกล้เลือกตั้งเราจะเห็นว่าหลายพรรคการเมืองต่างก็มีนโยบายที่ตอบโจทย์ผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่ไม่ใช่ทุกพรรค
ก่อนลงลึกนโยบายแต่ละพรรค เราอาจทำความเข้าใจความเป็นมาของวันนี้ แต่เดิมที่วันสตรีสากลมีชื่อว่า ‘วันแรงงานสตรีสากล’ (International Women’s Day) โดยผู้หญิงออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมด้านแรงงาน และให้ความสำคัญกับสตรีอย่างเท่าเทียม
หากย้อนไป 8 มี.ค.ปี 1857 ณ โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา แรงงานหญิง 119 คน เสียชีวิตจากเหตุลอบวางเพลิงเผาโรงงานทอผ้า หลังมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิให้เพิ่มค่าจ้างแก่แรงงานหญิง ต่อมาในปี 1907 แรงงานโรงงานทอผ้าประท้วงใหญ่อีกครั้ง เพราะถูกใช้แรงงานวันละ 16-17 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันสังคม และผู้หญิงจำนวนมากเสียชีวิตจากการทำงาน ใครที่ตั้งครรภ์ก็ถูกเลิกจ้างทันที
คลาร่า เซทคิน (Clara Zetkin) คือผู้เรียกร้องความเท่าเทียมให้กับแรงงานหญิง เป็นแอคติวิสต์สายมาร์กซิสต์ เธอสมรสและมีบุตร 2 คน หลังจากเป็นหม้ายเธอได้ใช้ชีวิตเป็นนักเคลื่อนไหวกลุ่มนักสังคมหญิงต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 และวันที่ 8 มี.ค. 1907 เป็นปีที่คลาร่าเสนอให้กำหนดวันสตรีสากล เป็นวันที่ 8 มี.ค.ของทุกปี
ต่อมา 8 มีนาคม 1910 กลุ่มสมัชชาแรงงานสตรี 17 ประเทศ เรียกร้องให้นายจ้างมีการคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรีมีครรภ์ รวมถึงจัดสรรเวลาที่เป็นธรรมให้แก่แรงงานหญิง แบบ 888 ได้แก่
ปี 1911 ที่ประชุมสหประชาชาติ ได้จัดกิจกรรมวันสตรีสากลในวันที่ 8 มีนาคม ในออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้นับล้านคน ต่อมามีหลายประเทศเข้าร่วมด้วย
สำหรับประเทศไทยจัดงานวันสตรีสากลขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2532 โดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) สังกัดสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
ในช่วงใกล้เลือกตั้งเช่นนี้ หลายพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงโดยเฉพาะ มีทั้งเรื่องสิทธิของการลาคลอด, กองทุนพัฒนาเพื่อผู้หญิง หรือแม้กระทั่งการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี ‘วอยซ์’ รวบรวมนโยบายที่น่าสนใจของแต่ละพรรคที่มีการประกาศชัดเจนว่าเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีโดยเฉพาะ
เพื่อไทย : สานต่อกองทุนสตรี-ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกฟรี
ประเดิมด้วย ‘พรรคใหญ่’ อย่างเพื่อไทย ที่มีนโยบายเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ ภายใต้ธีม "DigitALL : Innovation and technology for gender equality นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ" รายละเอียดขอนโยบายประกอบด้วย
ก้าวไกล : 10 นโยบายเสมอภาคทางเพศ-เลิกภาษีผ้าอนามัย-เพิ่มตำรวจหญิง
‘พรรคก้าวไกล’ ก็ไม่น้อยหน้า มีนโยบายเพื่อความเสมอภาคทางเพศ รวมถึงมีนโยบายเกี่ยวกับ ‘ผู้หญิง’ โดยประกาศนโยบายนี้ในวันสตรีสากลเช่นเดียวกัน จำนวน 10 นโยบายดังนี้
ไทยสร้างไทย : แคมเปญ She can change - กองทุนพลังหญิง
พรรคไทยสร้างไทย ก็มีนโยบายกับเขาด้วยเหมือนกัน และถือโอกาสในวันสตรีสากล ดันแคมเปญ “She can change” ชูนโยบาย "กองทุนพลังหญิง" แบบฉบับ “ไทยสร้างไทย” อาทิ
ประชาธิปัตย์ : ให้คุณแม่วัยใส กลับเข้าระบบการศึกษา
ด้านพรรคการเมืองเก่าแก่ร่วมศตวรรษอย่าง ‘พรรคประชาธิปัตย์’ และมี ส.ส.นักการเมืองหญิงเป็นดาวเด่นหลายคนในพรรค มีนโยบายเกี่ยวกับคุณสุภาพสตรีเช่นกัน อาทิ
วทันยา บุนนาค (มาดามเดียร์) ให้เหตุผลต่อการผลักดันในครั้งนี้ว่า ต้องการสร้างโอกาสที่ทุกคนเท่ากัน และลดการเลือกปฏิบัติทุกมิติ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเพศ แต่หมายรวมถึง ความหลากหลายชาติพันธุ์และแรงงานต่างชาติ, ความแตกต่างทางชนชั้นในสังคม, ความแตกต่างเรื่องของวัยวุฒิและคุณวุฒิ, ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ หรือแม้กระทั่ง ความหลากหลายอุดมการณ์ทางการเมือง
จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร อธิบายว่าเกี่ยวกับแนวคิดว่า จากสถิติปี 2564 มีเด็กที่ตั้งครรภ์กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา อยู่ที่ 47.5% ซึ่งตัวเลขเพิ่มจากปี 2563 อยู่ที่ 28% โดยมีแนวโน้มว่าเด็กกลุ่มนี้ กลับเข้าเรียนในสถานศึกษาเดิม โดยไม่ได้รับความกดดันอย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะในช่วงเวลาเดียวกันมีความพยายามทำความเข้าใจกับครอบครัวของเด็กหรือ “คุณแม่วัยใส” ที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงมีการปรับทัศนคติของครูผู้สอน ให้พร้อมที่จะรับเด็กเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้คุณแม่วัยใสได้มีโอกาสกลับมาเรียนต่อ เพื่อเป็นอนาคตของชาติต่อไป
สำหรับประเทศไทย เรื่องสิทธิสตรีสามารถย้อนไปได้ไกลถึงช่วงเวลา ‘ประชาธิปไตยเบ่งบาน’ 1 ปีกว่าๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (24 มิ.ย.2475) โดยคณะราษฎรได้กำหนดสิทธิเลือกตั้งของผู้หญิงด้วยในการเลือกตั้งครั้งแรก 15 พ.ย.2476 รวมทั้งการมี ‘ผู้แทนราษฎรหญิง’ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ สำหรับสังคมไทยในยุคนั้น และล้ำหน้ากว่าในหลายประเทศในโลก
ทั้งนี้ แม้แต่ประเทศโลกที่ 1 ผู้หญิงยังได้รับสิทธิเลือกตั้งช้ากว่าไทย เช่น ฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 2487, เบลเยี่ยม ปี พ.ศ. 2491, กรีซ ปี พ.ศ. 2495 , สวิตเซอร์แลนด์ ปี พ.ศ. 2514
หนังสือพิมพ์ประชาชาติในยุคนั้นได้รายงานข่าว ‘ผู้หญิง’ ที่ลงสมัครและได้รับเลือกเป็นผู้แทนฯ ในจังหวัดพระนคร โดยปรากฎชื่อ นางสาวสุวรรณ ปทุมราช แห่งตำบลสะพานผ่านฟ้า เป็นผู้หญิงคนแรกที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ขณะที่ นางสุทธิสารวินิจฉัย หรือแม่ผ่องศรี แห่งตำบลทับยาว (ปัจจุบันย่านนี้ติดกับเขตลาดกระบัง) ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านให้เป็นผู้แทนตำบลหญิงของจังหวัดพระนคร ด้วยคะแนนที่ชนะระดับแลนด์สไลด์ในยุคนั้นถึง 275 เสียง ส่วนผู้สมัครชายอีก 2 คน นายจันทร์ แรงหิรัญ 147 เสียงและนายกรุด สกุณี ได้เพียง 19 เสียง
หากย้อนกลับไปอีกไกลกว่านั้น มีการค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของ แคเธอรีน บาววี่ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยให้สิทธิการเลือกตั้งชายหญิงอย่างเท่าเทียมกันแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ต่างกับประเทศในตะวันตกที่การได้มาซึ่งสิทธิการเลือกตั้งแก่ผู้หญิง ช้ากว่าผู้ชายอย่างน้อยราว 30-40 ปี หลังการต่อสู้ของขบวนการสตรีอย่างหนักหน่วง
หลักฐานอีกชิ้นที่ปรากฎว่ารัฐไทยให้สิทธิชายหญิงมาตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระราชบัญญัติลักษณปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) ที่ระบุให้สิทธิทั้งชายและหญิงในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นหลังรัชกาลที่ 5 ปฏิรูปการปกครอง
อ้างอิง